การดำเนินคดีโกงเจ้าหนี้|การดำเนินคดีโกงเจ้าหนี้

การดำเนินคดีโกงเจ้าหนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การดำเนินคดีโกงเจ้าหนี้

  • Defalut Image

ปัจจุบันการทวงหนี้เป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก ด้วยเหตุผล 3 ประการ

บทความวันที่ 6 ก.ค. 2560, 11:40

มีผู้อ่านทั้งหมด 4699 ครั้ง


การดำเนินคดีโกงเจ้าหนี้


    ปัจจุบันการทวงหนี้เป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก ด้วยเหตุผล 3 ประการ ดังนี้
    ประการแรก    ลูกหนี้ไม่มีความสามารถชำระหนี้หรือตั้งใจโกง
    ประการที่สอง    ตัวเจ้าหนี้ไม่ยึดหยุ่นเกี่ยวกับการขยายเวลาให้ลูกหนี้ ทำให้ตกลงกันไม่ได้
    ประการสุดท้าย    สภาพเศรษฐกิจมีแนวโน้มแย่ลงเรื่อยๆ ทำให้หาเงินชำระหนี้ได้ยาก
    ดังนั้น ทางแก้ของเจ้าหนี้จะต้องใช้มาตรการทางกฎหมายเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มโอกาสในการทวงหนี้ กฎหมายที่ว่านั้นคือ “ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350” เพราะปัจจุบันลูกหนี้มีความรู้ทางกฎหมายเป็นอย่างดีและมีที่ปรึกษากฎหมายประจำบริษัท เมื่อเป็นหนี้ก็จะยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปเก็บไว้บ้านญาต หรือไม่ก็ซ่อนเร้น ปิดบัง หรือไม่ก็โอนกรรมสิทธิ์ไปให้บุคคลอื่นหรือแกล้งให้ตนเองเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินกับบุคคลอื่น ทั้งที่มิได้เป็นหนี้กันจริง เมื่อเจ้าหนี้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และกำหนดเวลาให้ชำระหนี้แล้วก็ไม่ยอมชำระหนี้ เมื่อได้รับหนังสือทวงหนี้จากเจ้าหนี้ ลูกหนี้ส่วนใหญ่ก็มักจะยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปให้กับบุคคลอื่นเพื่อให้พ้นจากการบังคับคดี และไม่มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอที่จะยึดมาชำระหนี้ ทำให้เจ้าหนี้เสียหาย เกิดหนี้สูญขึ้นในองค์ของเจ้าหนี้ การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้หากมีพยานหลักฐานชัดแจ้งก็สามารถดำเนินคดีโกงเจ้าหนี้เพื่อใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจูงใจให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ครับ


ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับคดีโกงเจ้าหนี้
โอนกรรมสิทธิในทรัพย์สินไปให้บุคคลอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2537

    จำเลยโอนโทรศัพท์ภายหลังที่ศาลได้มีคำพิพากษาให้ชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้ว ซึ่งการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์บุคคลทั่วไปย่อมทราบดีว่าสามารถจะโอนขายเป็นเงินได้ ตามพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 1 โอนโทรศัพท์ก็เพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้แล้ว จึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2531
    จำเลยที่ 1 ได้รับสิทธิทำการปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินราชพัสดุจากเทศบาล เมื่อสร้างเสร็จแล้วจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะเช่าอาคารดังกล่าวอยู่เองหรือให้บุคคลอื่นเช่าก็ได้โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เลือกกำหนดตัวผู้เช่าและกำหนดจำนวนเงินกินเปล่าในการเช่า เป็นผู้ตกลงให้เช่าและเข้าทำสัญญากับผู้เช่าเองมิได้ทำในฐานะตัวแทนของเทศบาลเพียงแต่ต้องนำผู้เช่าไปทำสัญญาเช่ากับเทศบาลอีกครั้งหนึ่งเท่านั้นถือได้ว่าสิทธิการเช่าตึกพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 หาใช่เป็นของเทศบาลไม่ การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 โอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 อาจเป็นการทำให้โจทก์เจ้าหนี้มิได้รับชำระหนี้อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
 

แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1474/2517
    จำเลยที่ 1 แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำเลยที่ 2 อันไม่เป็นความจริง ย่อมมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้รับสมอ้างเป็นเจ้าหนี้ ถือว่าได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
    ในการพิจารณาคำขอเฉลี่ยทรัพย์ จำเลยทั้งสองเบิกความว่ามีหนี้สินต่อกัน อันเป็นความเท็จ จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จ และจำเลยที่ 2 ผู้อ้างอิงสัญญากู้เป็นพยานหลักฐาน มีความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จอีกด้วย
    โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา เป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เบิกความเท็จ และนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จได้
ความหมายของคำว่า “เจ้าหนี้”
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2517
    คำว่า “เจ้าหนี้” หมายถึง ต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้อยู่ก่อนแล้ว โดยโจทก์อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ อาจเป็นหนี้เงินหรือหนี้บังคับให้ทรัพย์สินก็ได้


เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องของศาลให้ชำระหนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2557
    เมื่อจำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัท ธ. โอนขายหุ้นของจำเลยในบริษัทดังกล่าวแก่ ป. ก่อนที่ศาลแพ่งจะมีคำพิพากษาเพียง 1 เดือน จึงเป็นพฤติการณ์ส่งให้เห็นว่า จำเลยกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนซึ่งใช้สิทธิทางศาลแล้วได้รับชำระหนี้ อันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12250/2557 
    โจทก์ร่วมกับจำเลยจดทะเบียนสมรสที่ประเทศออสเตรเลีย และลงทุนทำไร่องุ่น ต่อมาจำเลยย้ายกลับมาอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้หย่าขาดกับโจทก์ร่วม เงินค่าชดเชยที่รัฐบาลออสเตรเลียจ่ายให้แก่โจทก์ร่วมและจำเลยกรณีเลิกทำไร่องุ่น เป็นเงินที่ได้มาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส การที่โจทก์ร่วมส่งเงินชดเชยมาให้แก่จำเลย แล้วจำเลยนำเงินดังกล่าวไปซื้อทรัพย์พิพาท แม้มีการจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ทรัพย์พิพาทยังคงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องหย่าจำเลยขอแบ่งสินสมรสและขอใช้อำนาจปกครองบุตรที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น จำเลยจดทะเบียนขายฝากทรัพย์พิพาทไว้แก่พันตำรวจเอก ม. จึงมิใช่การทำสัญญาในลักษณะปกติ แม้คดียังมีข้อโต้เถียงกรรมสิทธิ์และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่นก็ตาม ถือว่าโจทก์ (โจทก์ร่วมในคดีนี้) อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีอำนาจจะฟ้องจำเลยแล้ว จึงเข้าองค์ประกอบของความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
    ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลย โจทก์ร่วมกับจำเลยจึงเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท การที่จำเลยนำทรัพย์พิพาทไปจดทะเบียนขายฝากไว้แก่พันตำรวจเอก ม. โดยโจทก์ร่วมไม่ทราบและไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมก่อน และไม่ไถ่ถอนคืนภายในกำหนดเช่นนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์พิพาทไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต เป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก อีกบทหนึ่งด้วย การกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าว เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท


ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
    มาตรา 350
 ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก