การยึดรถของไฟแนนซ์ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายทวงหนี้|ทนายคลายทุกข์,ยึดทรัพย์,การยึดทรัพย์,ทนาย,การยึดรถ

การยึดรถของไฟแนนซ์ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายทวงหนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การยึดรถของไฟแนนซ์ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายทวงหนี้

  • Defalut Image

การยึดรถของไฟแนนซ์ในกรณีเลิกสัญญาไม่อยู่ภายใต้กฎหมายทวงหนี้

บทความวันที่ 28 มิ.ย. 2560, 10:01

มีผู้อ่านทั้งหมด 5572 ครั้ง


การยึดรถของไฟแนนซ์ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายทวงหนี้

           การยึดรถของไฟแนนซ์ในกรณีเลิกสัญญาไม่อยู่ภายใต้กฎหมายทวงหนี้เพราะไม่ใช่เป็นการทวงหนี้ตามกฎหมายทวงหนี้ ทีมยึดรถของไฟแนนซ์จึงสามารถยึดรถได้เต็มที่ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความ ทนายคลายทุกข์นำคำวินิฉัย ตอบข้อหารือของคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ท่านผู้อ่านเพื่อทราบ

บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เรื่อง ขอบเขตความหมายของคำว่า “การทวงถามหนี้” ตามพรบ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558


    กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท 0307.2/3964 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปความได้ว่า ด้วยคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ในการประชุม ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2559 ได้พิจารณาความหมายของคำว่า “การทวงถามหนี้” ว่าจะต้องมีองค์ประกอบและเงื่อนไขอย่างใดจึงจะถือว่าเป็นการทวงถามหนี้ ในกรณีที่หนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระและลูกหนี้ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ แต่เจ้าหนี้ได้ส่งใบแจ้งหนี้ให้แก่ลูกหนี้ เช่น ส่งใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ และอื่นๆ ไปถึงลูกหนี้จะถือว่าเป็นการทวงถามหนี้หรือไม่ โดยที่ประชุมคณะกรรมการการกำกับการทวงถามหนี้ได้มีความเห็นว่า “การทวงถามหนี้” หมายความถึง กรณีที่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น เมื่อมีการทวงถามจึงถือว่าเป็นการทวงถามหนี้ แต่อย่างไรก็ตามในที่ประชุมได้มีการอภิปรายว่าการตีความเช่นนี้อาจเกิดช่องว่างของกฎหมายทำให้มีการปฏิบัติต่อลูกหนี้ในการทวงถามหนี้โดยไม่เหมาะสมก่อนที่ลูกหนี้จะผิดนัดชำระหนี้ได้ กระทรวงมหาดไทยจึงได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณา โดยคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยมีความเห็นว่า “การทวงถามหนี้” ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 จะต้องแปลตามความหมายทั่วไปคือ การเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และหนี้นั้นไม่จำเป็นต้องถึงกำหนดชำระก็ได้ ทั้งนี้ จึงไม่นำหลักการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ เนื่องจากหากตีความว่ามีความหมายเฉพาะหนี้ที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้นก็จะทำให้ลูกหนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว
    กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า มีความจำเป็นในการตีความ ความหมายของคำว่า “การทวงถามหนี้” ให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เกิดความชัดเจนและเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการปฏิบัติของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ จึงขอหารือคณะกรรมการกฤษฎีกา ดังนี้
    1) การทวงถามหนี้หมายถึงการกระทำในลักษณะใด อยู่ภายใต้องค์ประกอบและเงื่อนไขใดที่จะถือว่าเป็นการทวงถามหนี้
    2) การส่งใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ และอื่นๆ ถือเป็นการทวงถามหนี้หรือไม่
    3) การยึดทรัพย์กรณีมีการผิดสัญญา เช่น การยึดรถคืนของผู้ให้เช่าซื้อ ถือเป็นการทวงถามหนี้หรือไม่
    คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 11) ได้พิจารณาข้อหารือของกระทรวงมหาดไทย โดยมีผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย(สำนักงานปลัดกระทรวง  การประปานครหลวง และการไฟฟ้านครหลวง) ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย  และผู้แทนบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริง มีความเห็นดังนี้
    ประเด็นที่หนึ่ง การทวงถามหนี้หมายถึงการกระทำในลักษณะใด อยู่ภายใต้องค์ประกอบและเงื่อนไขใดจึงจะถือว่าเป็นการทวงถามหนี้ นั้น  เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้ถูกทวงถามให้ชำระหนี้โดยไม่เหมาะสม ไม่เป็นธรรม หรือผิดกฎหมาย ดังปรากฎตามเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งกล่าวว่า “โดยที่การทวงถามหนี้ในปัจจุบันมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ถ้อยคำที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรง การคุกคามโดยการขู่เข็ญ การใช้กำลังประทุษร้าย หรือการทำให้เสียชื่อเสียง รวมถึงการให้ข้อมูลเท็จและการสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่บุคคลอื่น ประกอบกับปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการทวงถามหนี้ และการควบคุมการทวงถามหนี้ไว้เป็นการเฉพาะ สมควรมีกฎหมายในเรื่องดังกล่าว ...” และพระราชบัญญัติดังกล่าวยังได้คุ้มครองลูกหนี้กรณีหนี้ที่ผู้ทวงถามหนี้เป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนันไม่ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตามด้วย ซึ่งแตกต่างจากหนี้พนันตามมาตรา 853 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กำหนดว่า การพนันหรือขันต่อนั้นไม่ก่อให้เกิดหนี้และสิ่งที่ได้ให้กันไปในการพนันหรือขันต่อก็จะทวงคืนไม่ได้ เพราะเหตุหาข้อมูลอย่างหนึ่งอย่างใดมิได้ นอกจากนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้มีบทบัญญัติเรื่องการทวงถามหนี้เพียงแต่กำหนดให้ในกรณีที่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว หากมีการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนด ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดตามมาตรา 204 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ดังนั้น แม้พระราชบัญญัติการทวงหนี้ พ.ศ.2558 จะมิได้มีบทนิยามคำว่า “การทวงถามหนี้” แต่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้ทวงถามหนี้ต้องถือปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ เช่น ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้เพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่บุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการดังกล่าว  (มาตรา 8 วรรคหนึ่ง) กำหนดข้อปฏิบัติในการทวงถามหนี้ (มาตรา 9) กำหนดให้ผู้ทวงถามหนี้ต้องแสดงหลักฐานการรับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุเพื่อการทวงถามหนี้ด้วย และเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้แล้ว ให้ผู้ทวงถามหนี้ออกหลักฐานการชำระหนี้แก่ลูกหนี้ด้วย (มาตรา 10 วรรคหนึ่ง) ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะข่มขู่หรือใช้ความรุนแรง ดูหมิ่นเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องทราบ (มาตรา 11(1)(2) และ(3))  ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด (มาตรา 12) และห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม(มาตรา 13) รวมถึงห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้หรือทวงถามหนี้ซึ่งมิใช่ของตนด้วย (มาตรา 14 วรรคหนึ่ง) จึงอาจอนุมานได้ว่าการทวงถามหนี้เป็นการกระทำใดๆ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมเพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั่นเอง รวมถึงการทวงถามหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระด้วย
    ประเด็นที่สอง  การส่งใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ และอื่นๆ ถือเป็นการทวงถามหนี้หรือไม่ นั้น เห็นว่า การส่งใบแจ้งค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์หรือการส่งใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตดังกล่าว เป็นการแจ้งจำนวนเงินที่จะต้องชำระในแต่ละช่วงเวลาของการให้บริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบและมีระยะเวลาในการตรวจสอบและโต้แย้งจำนวนเงินดังกล่าวได้ จึงมิใช่เป็นการทวงถามหนี้ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 เว้นแต่การแจ้งจำนวนเงินดังกล่าวได้มีข้อความแจ้งให้ชำระจำนวนเงินด้วย ก็จะเป็นการทวงถามหนี้
    ประเด็นที่สาม การยึดทรัพย์กรณีมีการผิดสัญญา เช่น การยึดรถคืนของผู้ให้เช่าซื้อถือเป็นการทวงถามหนี้หรือไม่นั้น เห็นว่า ผู้ให้เช่าซื้อจะมีสิทธิยึดทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อหรือไม่ในกรณีใด ย่อมเป็นไปตามสัญญาระหว่างผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อ นอกจากนั้น ต้องคำนึงถึงประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2543 ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ด้วย ดังนั้น หากการยึดรถคืนของผู้ให้เช่าซื้อได้เป็นไปตามสัญญาและประกาศดังกล่าวแล้วก็ไม่ใช่เป็นการทวงถามหนี้ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

ไม่มีรถคืนไฟแนนช์เพราะถูกหลอกขายดาวน์ไป  ศาลตัดสินให้จ่ายเงินส่วนที่ค้าง ทางเราไม่สามารถจ่ายเงินเป็นก้อนได้ เราจะทำไงดี จะโดนคดอาญาหรือไม่

โดยคุณ นงนุช 27 มิ.ย. 2560, 16:12

ความคิดเห็นที่ 1

จ่ายค่างวดรถไม่เคยค้างแต่ตอนนี้ค้างไว้3500ต้องยึดรถด้วยเหรอค่ะ

โดยคุณ Chaiyasid Fakathong 22 มิ.ย. 2560, 13:51

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ที่ว่า 3,500 ค้างกี่งวดครับ

โดยคุณ Phonlawat Kittivittayanan 26 มิ.ย. 2560, 16:40

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก