การดำเนินคดีแรงงานกับพนักงานที่ทุจริต|การดำเนินคดีแรงงานกับพนักงานที่ทุจริต

การดำเนินคดีแรงงานกับพนักงานที่ทุจริต

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การดำเนินคดีแรงงานกับพนักงานที่ทุจริต

  • Defalut Image

ปัจจุบันทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นราชการ เอกชน รัฐวิสาหกิจ

บทความวันที่ 17 เม.ย. 2560, 16:58

มีผู้อ่านทั้งหมด 7869 ครั้ง


การดำเนินคดีแรงงานกับพนักงานที่ทุจริต

            ปัจจุบันทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นราชการ เอกชน รัฐวิสาหกิจ ล้วนต้องประสบกับปัญหาการทุจริตภายในองค์กรทั้งสิ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม การทุจริตภายในองค์กรเป็นมะเร็งร้ายขององค์กร บ่อนทำลายความมั่นคงและการเจริญเติบโตขององค์กร และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างวัฒนธรรมให้เป็นองค์กรสีขาวปราศจากการทุจริต

                หลายองค์กรจึงจัดให้มีการอบรมสัมมนา โดยคาดหวังว่าจะสร้างความตระหนักให้เห็นพิษภัยของการทุจริตภายในองค์กร,เสริมสร้างวัฒนธรรมสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร, ส่งเสริมให้พนักงานร่วมกันเป็นหูเป็นตาเพื่อป้องกันการทุจริตภายในองค์กรและให้รู้เท่าทันคนทุจริตและรู้วิธีการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในองค์กร

สาระสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีแรงงานกับลูกจ้างที่ทุจริตในองค์กร

            1. ความหมายของคำว่า “สุจริต” หมายถึงการทำงานไปตามอำนาจหน้าที่ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของนายจ้างหรือองค์กรต้นสังกัดไม่ได้มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่น

                ความหมายของคำว่า “ทุจริต” หมายถึงการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งหมายความรวมถึงการโกงและการไม่ซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง

                2. กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสทุจริต เช่น ติดการพนัน มีปัญหาครอบครัว มีหนี้สินล้นพ้นตัว ใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย เป็นต้น กลุ่มเหล่านี้นายจ้างจะต้องให้ความสำคัญติดตามสอดส่องอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริต

                3. การเริ่มต้นหาเบาะแสของผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริต จะต้องมีการสร้างชมรมขึ้นในองค์กร เช่น ชมรมสีขาว รวบรวมคนที่มีคุณธรรมและมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ช่วยกันเป็นหูเป็นตาถือเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น รวมทั้งการตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากลูกจ้างก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้ได้เบาะแสของคนโกงในองค์กร

                4. การตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง เมื่อได้เบาะแสไม่ว่าจะมีมูลหรือไม่ ก็ควรจะตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบข้อเท็จจริงในทางลับ เพื่อสืบสวนถึงเรื่องราวของที่มา ถ้ามีพยานหลักฐานเพียงพอว่าลูกจ้างมีส่วนร่วมในการทุจริตก็ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยต่อไป

                5. การตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย จะกระทำต่อเมื่อมีการสอบสวนข้อเท็จจริงมาแล้วบางส่วน พอมีมูล การตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยต้องเป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบของนายจ้าง ที่สำคัญจะต้องเปิดโอกาสให้ลูกจ้างที่ถูกกล่าวหาได้มีโอกาสชี้แจงแสดงเหตุผล ตลอดจนพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อกล่าวหาอย่างเต็มที่ การสอบสวนต้องทำในลักษณะเปิดเผย ควรมีผู้บังคับบัญชาของลูกจ้างหรือเพื่อนร่วมงานนั่งเป็นพยานด้วย หากการสอบสวนไม่โปร่งใสในทางปฏิบัติศาลก็จะไม่นำผลการสอบสวนทางวินัยมาเป็นเกณฑ์ส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยคดี ทำให้การสอบสวนทางวินัยไม่เกิดประโยชน์ต่อนายจ้าง

                6. การตั้งคณะกรรมการเพื่อหาผู้รับผิดชอบทางแพ่ง หลังจากมีการสอบสวนทางวินัยแล้วว่าลูกจ้างได้ทำผิดวินัย เช่น ข้อบังคับระเบียบการทำงาน ก็จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดชอบทางแพ่ง ถ้าเป็นลูกจ้างก็จะต้องสอบสวนว่าผิดสัญญาจ้างหรือไม่ ผิดสัญญาข้อใด ส่วนใหญ่จะผิดสัญญาในข้อที่เกี่ยวกับว่าเป็นลูกจ้างต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต เมื่อไม่สุจริตก็ต้องสอบสวนต่อไปว่าความเสียหายของนายจ้างเกิดจากความไม่ซื่อสัตย์ของลูกจ้างหรือไม่ ถ้าเป็นผลโดยตรงจากการไม่ซื่อสัตย์หรือคดโกงต้องรับผิดทางแพ่ง ในความผิดฐานผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิดในเวลาเดียวกัน

                7. การตั้งคณะกรรมการเพื่อหาผู้กระทำความผิดทางอาญา เมื่อสอบสวนแล้วลูกจ้างต้องรับผิดทางแพ่ง ต้องสอบสวนต่อไปว่าเข้าองค์ประกอบความผิดทางอาญาหรือไม่ เช่น มีการเอาไปซึ่งทรัพย์ของนายจ้างหรือไม่โดยทุจริต ถ้าเข้าองค์ประกอบความผิดทางอาญาก็ดำเนินคดีอาญาต่อไป ถ้าไม่เข้าองค์ประกอบความผิดทางอาญาก็ดำเนินคดีเฉพาะทางวินัยหรือทางแพ่งเท่านั้น

                8. การรวบรวมพยานหลักฐาน ต้องมีเทคนิคในการรวบรวมพยานหลักฐาน เช่น พยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์เกี่ยวกับการคดโกงของลูกจ้าง พยานหลักฐานเกี่ยวกับพยานเอกสาร เช่น ลายมือชื่อเป็นต้น พยานวัตถุ เช่น ภาพจากกล้องวงจรปิด เป็นต้น สิ่งที่กล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่มีคุณค่าเชิงพิสูจน์ต้องรวบรวมให้ครบถ้วน

                9. การเริ่มต้นคดีโดยการร้องทุกข์หรือฟ้องเป็นคดีอาญา เมื่อพบการทุจริตและเข้าองค์ประกอบในคดีอาญาต้องรีบดำเนินการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลเป็นการเร่งด่วน หากเนิ่นช้าจะทำให้พยานหลักฐานสูญหาย

                10. การฟ้องเป็นคดีแรงงานต่อศาลแรงงาน หลังจากมีพยานหลักฐานครบถ้วนแล้ว พบการกระทำความผิดชัดแจ้งว่าลูกจ้างเป็นผู้กระทำความผิดทางวินัยและทางแพ่ง นายจ้างก็ควรรีบฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อให้ลูกจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อไปโดยเร็ว เพื่อให้ได้ทรัพย์สินกลับคืนมา

                11.การคัดเลือกพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ เพื่อประกอบการสืบพยานในชั้นศาลแรงงานและศาลในคดีอาญา พยานหลักฐานในทางปฏิบัติมีเป็นจำนวนมาก เช่น พยานบุคคลมีหลายปาก เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลจะต้องคัดเลือกเฉพาะที่เป็นประโยชน์เท่านั้น ไม่ควรรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดมาดำเนินคดีกับลูกจ้าง การคัดเลือกพยานหลักฐานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดเตรียมคดีเพื่อดำเนินคดีกับลูกจ้างที่ทุจริต

                สิ่งที่จะป้องกันการทุจริตได้ดีที่สุดต้องเริ่มจากผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง องค์กรของท่านจึงจะเป็นองค์กรสีขาวครับ

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

รบกวนสอบถามว่าได้มีหมายศาลไปที่บ้านเกิดเรื่องกู้เงินของอิออนเมื48 และทางอิออนได้ขายหนี้ให้เจเอ็มทีและได้มีหมายศาลจากบ.มาเมื่อสองอาทิตย์ที่แล้วว่าให้ไปศาลเดือนหน้าค่ะ เราจะสามารถทำอะไรได้บ้างค่ะถ้าไปศาล จะให้การอย่างไร ตัวเราอยู่กรุงเทพแต่ต้องไปศาลตามบ้านเกิดและจะสามารถย้ายที่ขึ้นศาลได้หรือไม่คะ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ Awa Rin 14 ส.ค. 2560, 12:25

ตอบความคิดเห็นที่ 3

หากบัตรอิออนเป็นบัตรเครดิตจะมีอายุความ 2 ปี หากเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลจะมีอายุความ 5 ปี ตามปพพ. มาตรา 193/33(2) และมาตรา 193/34 และหากท่านชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2548 ปัจจุบันคดีขาดอายุความแล้ว ให้ท่านนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเข้าพบทนายความเพื่อให้จัดทำคำให้การ 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 3 ก.ย. 2560, 16:13

ความคิดเห็นที่ 2

อยากทราบว่าถ้าเราเอาทรัพย์ไปคืนเจ้าทุกข์แล้วโดยที่เจ้าทุกข์ก้ไม่ได้เอาความแต่ทำไมบริษัทถึงยังแบคริดชื่อเราออกจากที่ทำงานแล้วประกาศห้ามเข้าพื้นทีทุกพื้นที่ของบริษัทนั้นๆค่ะ
   ดิฉันเป็นทรัพย์ของบริษัทนั้นอีกที่ค่ะไม่ได้ขึ้นตรงจากบริษัทนั้นโดยตรง เพราะตอนนี้ถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นขโมยทั้งๆที่เจ้าทุกข์ไม่เอาเรื่องมีวิธีแก้ยังไงบ้างค่ะ
โดยคุณ จอย 7 ส.ค. 2560, 05:35

ตอบความคิดเห็นที่ 2

กรณีดังกล่าวเป็นสิทธิของบริษัทที่จะให้บุคคลใดเข้าพื้นที่ก็ได้ครับ แนะนำให้ท่านหางานใหม่ต่อไปครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 30 ส.ค. 2560, 11:11

ความคิดเห็นที่ 1

อยากทรา

โดยคุณ บิวบิว แซ่บเวอร์ 11 ก.ค. 2560, 07:21

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก