ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตต่อหน้าที่ไล่ออกสถานเดียว|ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตต่อหน้าที่ไล่ออกสถานเดียว

ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตต่อหน้าที่ไล่ออกสถานเดียว

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตต่อหน้าที่ไล่ออกสถานเดียว

ช่วงนี้มีข่าวข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐหลายหน่วยงานทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่และถูกไล่ออกหลายคดี

บทความวันที่ 18 ส.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 5142 ครั้ง


 ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตต่อหน้าที่ไล่ออกสถานเดียว

 
              ช่วงนี้มีข่าวข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐหลายหน่วยงานทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่และถูกไล่ออกหลายคดี การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ถึงแม้จะนำเงินที่ทุจริตไปแล้วมาคืนหรือมีเหตุอันสมควรปราณีอื่นใด ไม่เป็นเหตุลดหย่อนโทษเป็นปลดออกจากราชการ ดังนั้น ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่คิดจะทุจริต คดโกงชาติบ้านเมือง พึงสังวรไว้ เพราะมีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดมาตรฐานการลงโทษไว้ชัดแจ้งแล้ว และถือเป็นนโยบายของรัฐ ถ้าทุจริตต่อหน้าที่ราชการต้องถูกไล่ออกสถานเดียว รายละเอียดปรากฎตามหนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร.0205/ว 234 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2536 ว่าด้วยการลงโทษผู้กระทำความผิดทางวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
              มติคณะรัฐมนตรีเรื่อง การลงโทษข้าราชการผู้กระทำความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงเมื่อเพื่อทราบและถือปฏิบัติ นั้น
        สำนักงาน ก.พ. ได้เสนอขอปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2503 เกี่ยวกับการลงโทษข้าราชการผู้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงบางกรณี  มาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2536 อนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ.เสนอดังนี้
        1. ให้ปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2503 เกี่ยวกับการลงโทษข้าราชการผู้กระทำความผิดทาง
วินัยร้ายแรงบางกรณี ดังนี้
        1.1 ปรับปรุงถ้อยคำเพื่อให้เกิดความชัดเจนจากความว่า “ละทิ้งหน้าที่ราชการไปเลยเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร” เป็น “ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และไม่กลับมาปฏิบัติราชการอีกเลย
         1.2 การลงโทษผู้กระทำความผิดวินัยฐานทุจริตหน้าที่ราชการ หรือละทิ้งหน้าที่ราชการตามข้อ 1.1 เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งควรลงโทษเป็นไล่ออกจากราชการการนำเงินที่ทุจริตไปแล้วมาคืนหรือมีเหตุอันสมควรปราณีอื่นใด ไม่เป็นเหตุลดหย่อนโทษเป็นปลดออกจากราชการ
        2. สำหรับการลงโทษผู้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงใน 2 ฐานความผิดดังกล่าวตามมาตรา 67 วรรคสาม และมาตรา 75 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 หรือตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้บังคับอยู่ก่อนหน้านั้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มีบทเฉพาะกาลมาตรา 138 ให้ลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด ก็ให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2503 ต่อไป
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535
มาตรา 67 ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดมาตรา 46 วรรคหนึ่ง มาตรา 50 มาตรา 51 มาตรา 61 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 65 และมาตรา 66 หากภายหลังปรากฎว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 30 หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา 56 อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดีให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52 สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้นและถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา 75 ให้มีการพัฒนาผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง และมาตรา 50 ก่อนมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หลักและวิธีปฏิบัติราชการ  บทบาทและหน้าที่ของข้าราชการในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และแนวทางปฏิบัติตนเพื่อเป็นข้าราชการที่ดี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.กำหนด
มาตรา 138 ข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นหรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณา และการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่
(1) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จ ก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ
(2) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณีนั้นเป็นอันใช้ได้
(3) กรณีที่ได้มีการรายงานหรือส่งเรื่อง หรือนำสำนวนเสนอ หรือส่งให้ อ.ก.พ.กระทรวงพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น และอ.ก.พ.กระทรวงพิจารณาเรื่องนั้นยังไม่เสร็จ ก็ให้ อ.ก.พ.กระทรวงพิจารณาตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก