เดินหาโปเกม่อนในเวลางานอาจถูกเลิกจ้างได้|เดินหาโปเกม่อนในเวลางานอาจถูกเลิกจ้างได้

เดินหาโปเกม่อนในเวลางานอาจถูกเลิกจ้างได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เดินหาโปเกม่อนในเวลางานอาจถูกเลิกจ้างได้

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เกมส์ยอดฮิตของโลกที่ชื่อว่าเกมส์ “Pokemon GO!”

บทความวันที่ 15 ส.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2260 ครั้ง


 เดินหาโปเกม่อนในเวลางานอาจถูกเลิกจ้างได้

 
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เกมส์ยอดฮิตของโลกที่ชื่อว่าเกมส์ “Pokemon GO!” ได้เปิดให้บริการในประเทศไทย ในช่วงก่อนวันลงประชามติเพียง 1 วัน ทำให้หน่วยงานราชการในประเทศไทยรู้สึกวิตกกังวลถึงผลกระทบของการลงประชามติ จนคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องออกโลงเตือนประชาชนห้ามเดินเข้าไปจับโปเกม่อนในเขตลงประชามติ เพราะจะมีความผิดตามกฎหมายประชามติ
         และเมื่อเร็วๆ นี้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก็รู้สึกวิตกกังวลกับเกมส์โปเกม่อน โก จนถึงขนาดสั่งการให้หาทางป้องกัน ผลกระทบจากการเข้าไปเกี่ยวข้องกับเกมส์ดังกล่าวในเวลาราชการ และอาจกระทบสิทธิของผู้อื่นและมีคำสั่งให้ระมัดระวังเกี่ยวกับการเล่นเกมส์ดังกล่าว ทนายคลายทุกข์ได้มีโอกาสไปติดต่อราชการในสถานที่ต่างๆพบว่า มีพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยตามส่วนราชการและอาคารสูงของเอกชนหลายแห่งรวมทั้งอาคารชุด พบว่ามีพนักงานรักษาความปลอดภัยนั่งเล่นเกมส์โปเกม่อนอยู่ จึงเกรงว่าจะไม่ได้ทำหน้าที่ในฐานะลูกจ้างหรือผู้รับจ้างและมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยได้ รวมทั้งผู้ที่มาติดต่อราชการในสถานที่ราชการ 
            การที่ลูกจ้างของบริษัทเอกชนหรือข้าราชการเล่นเกมส์ในเวลางาน เป็นเวลานานต่อเนื่องกัน เช่น ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป ถ้ากระทำหลายๆวันติดกัน เช่น เกินสามวันติดกัน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างหรือต้นสังกัด กรณีดังกล่าวถือเป็นกรณีละทิ้งหน้าที่การงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(5) และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 นายจ้างในภาคเอกชนมีสิทธิที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานก็ได้เคยวินิจฉัยคดีในลักษณะการเล่นอินเตอร์เน็ต หรือแชทในเวลางานมาแล้วว่านายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 ทนายคลายทุกข์จึงฝากเตือนลูกจ้างที่ชอบเล่นเกมส์ในเวลางานระวังจะถูกเลิกจ้างโดยไม่รู้ตัวและไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนใดๆทั้งสิ้น 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2557
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2553 ค่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท จ่ายทุกวันที่ 30 ของเดือน มีระยะเวลาทดลองงาน 3 เดือน ในระหว่างระยะเวลาทดลองงานจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ให้มีผลทันที เนื่องจากในเวลาทำงานโจทก์ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยเล่นอินเตอร์เน็ตพูดคุยในเรื่องส่วนตัวและบันทึกข้อความทางอินเตอร์เน็ตเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมงก็มี ตามเอกสารหมาย ล.3 ถึง ล.6 ถือว่าโจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยไปในเรื่องไม่เกี่ยวกับงาน ทั้งที่อยู่ในระหว่างทดลองงานแทนที่จะทุ่มเททำงานให้จำเลยอย่างเต็มที่ โจทก์ทำงานด้านบัญชีจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ มิฉะนั้น จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ กรณีเช่นนี้เป็นการกระทำประการอื่นไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยมิพักต้องบอกกล่าวหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าสินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยทำในเรื่องส่วนตัวย่อมจะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์เช่นกัน 
ที่โจทก์อุทธรณ์ประการแรกว่า การกระทำของโจทก์ไม่ถึงกับเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฎิบัติหน้าที่ของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เนื่องจากโจทก์มิได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง และจำเลยไม่ได้รับความเสียหายนั้น  เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวระบุเพียงว่า ถ้าลูกจ้างทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต  นายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า...เท่านั้น หาได้ขยายความไปถึงกับว่าเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายและเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงแต่อย่างใดไม่ อย่างไรก็ตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางที่ฟังว่าพฤติกรรมของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายได้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์อุทธรณ์ประการต่อมาว่า หนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.10 ระบุเหตุเลิกจ้างว่า การปฏิบัติงานของโจทก์ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ...ไม่สามารถปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมง จึงเป็นการกระทำประการอื่นไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต  จำเลยจึงชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เป็นคำวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้นายจ้างยกเหตุอื่นขึ้นอ้างในภายหลังนอกจากเหตุที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างมาเป็นข้อต่อสู้ในกรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม  และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมง  ย่อมเป็นเหตุให้งานในหน้าที่บกพร่องและล่าช้า ต่ำกว่ามาตรฐานที่จำเลยต้องการและไม่สามารถปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เหตุดังกล่าวก่อให้เกิดผลเชื่อมโยงกัน  มิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก