ผู้ค้ำประกันตามกฎหมายใหม่|ผู้ค้ำประกันตามกฎหมายใหม่

ผู้ค้ำประกันตามกฎหมายใหม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผู้ค้ำประกันตามกฎหมายใหม่

กฎหมายค้ำประกันและจำนองหนี้บุคคลอื่นที่แก้ไขใหม่ ฉบับที่ 20

บทความวันที่ 21 พ.ย. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 139152 ครั้ง


ผู้ค้ำประกันตามกฎหมายใหม่

            กฎหมายค้ำประกันและจำนองหนี้บุคคลอื่นที่แก้ไขใหม่ ฉบับที่ 20 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 ทนายคลายทุกข์จึงขอนำข้อดีของกฎหมายค้ำประกัน ฉบับใหม่ที่ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปแล้ว มานำเสนอดังนี้ ส่วนผลกระทบของเจ้าหนี้สถาบันการเงินจะนำเสนอในตอนถัดไป
ข้อดีของพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557
               สามารถคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง ซึ่งมิใช่ลูกหนี้ชั้นต้นได้มากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินหรือประกอบกิจการให้กู้ยืมเงิน มักอาศัยอำนาจต่อรองที่สูงกว่าหรือความได้เปรียบในทางการเงิน กำหนดข้อตกลงที่เอาเปรียบผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนอง  จึงเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองต้องถูกบังคับชำระหนี้แทนลูกหนี้ในวงเงินที่สูงจนอาจกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลายได้
เนื้อหาของพระราชบัญญัติฯ จำนวน 25 มาตรา ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
           - แก้ไขเพิ่มเติมให้การค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไข ต้องกำหนดรายละเอียดของหนี้และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน รวมทั้งจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน รวมทั้งจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไว้เฉพาะหนี้ตามสัญญานั้น
           - กำหนดให้ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นโมฆะ
          - กำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับการค้ำประกันที่แตกต่างไปจากบทบัญญัติลักษณะค้ำประกันเป็นภาระแก่ผู้ค้ำประกันเกินสมควร ให้ข้อตกลงนั้นมีผลเป็นโมฆะ
           - แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของเจ้าหนี้ในการบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดและผลกรณีเจ้าหนี้มิได้บอกกล่าว และกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้ที่ถึงกำหนดได้
            - แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ค้ำประกันได้รับประโยชน์จากการที่เจ้าหนี้กระทำการใด ๆ อันมีผลเป็นการลดจำนวนหนี้ให้แก่ลูกหนี้ด้วย รวมทั้งกำหนดให้ข้อตกลงที่เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้ำประกันเป็นโมฆะ
          - กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้อันมีกำหนดเวลาแน่นอนและเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ และห้ามกำหนดข้อตกลงไว้ล่วงหน้าให้ผู้ค้ำประกันยินยอมที่จะเป็นประกันหนี้นั้นต่อไป แม้ว่าเจ้าหนี้จะผ่อนชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้แล้ว
          - กำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับการจำนองที่แตกต่างไปจากที่บทบัญญัติลักษณะจำนองอันเป็นภาระแก่ผู้จำนองเกินสมควร ให้ข้อตกลงนั้นมีผลเป็นโมฆะ
            - กำหนดให้นำมาตรา 691 มาตรา 697 และมาตรา 700 และมาตรา 701 มาใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลหลายคนเป็นผู้จำนองทรัพย์สินเพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระด้วย
           - กำหนดให้ผู้จำนองซึ่งจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ไม่ต้องรับผิดในหนี้นั้นเกินราคาทรัพย์สินที่จำนองในเวลาที่บังคับจำนองหรือเอาทรัพย์จำนองหลุด รวมถึงให้ข้อตกลงที่กำหนดให้ผู้จำนองต้องรับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ เว้นแต่กรณีการจำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้ของนิติบุคคล ซึ่งมิใช่บริษัทมหาชนจำกัด และในกรณีนั้นมีผู้มีอำนาจบริหารจัดการนิติบุคคล  หรือผู้ถือหุ้นเกินร้อยละยี่สิบห้าของหุ้นที่จำหน่ายแล้วของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้จำนองทรัพย์
              - กำหนดขั้นตอนในการบังคับจำนองของผู้รับจำนองให้ชัดเจนขึ้น รวมถึงให้ความคุ้มครองผู้จำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้ของผู้อื่นจากกรณีที่ผู้รับจำนอง ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
            - กำหนดขั้นตอนและเงื่อนไขที่ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดแทนการขายทอดตลาดเพื่อเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดแทนการขายทอดตลาดให้ชัดเจนขึ้น
            - กำหนดให้สิทธิแก่ผู้จำนองในการแจ้งต่อผู้รับจำนองเพื่อให้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีต่อศาล
           - แก้ไขระยะเวลาในการบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนทรัพย์ซึ่งจำนองเพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 728 ที่แก้ไขเพิ่มเติม
          - แก้ไขระยะเวลาในการไถ่ถอนจำนองของผู้รับโอนให้มีความสอดคล้องกันกับระยะเวลาในการบอกกล่าวบังคับจำนองของเจ้าหนี้มายังผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งมีจำนอง
           - กำหนดเพิ่มเติมเหตุระงับจำนอง ให้รวมถึงการขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองตามมาตรา 729/1
           - กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับ สิทธิ หน้าที่ หรือความรับผิด ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ เว้นแต่บทบัญญัติของกฎหมายใหม่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
          - กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รักษาการ
“การจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน จะส่งผลให้คดีล้มละลายน้อยลงเป็นอย่างมาก”
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 89

ขอปรึกษาว่า ดิฉันเป็นข้าราชการ อีก 2 ปีจะเกียรณ เมื่อ 15ปีที่ผ่านมาได้ค้ำประกันเพื่อนซึ่งตอนนี้เกษียณอายุแล้ว มีหมายให้ไปขึ้นศาลตามถิ่นภูมิลำเนาของผู้กู้ ยอดเงิน 2.3ล้านรวมดอกเบี้ย ในต้นเดือนกค. ในหมายแจ้งว่า นางสาว ก.(ผู้กู้) และพวก (มีคนค้ำ 3 คน) รวม 4 คน  ขั้นแรก ดิฉันเตรียมตัวไปศาลเพื่อรับทราบ 2. ควรบอกแก่โจทก์ว่าอย่างไร (รับผิดชอบหรือปฏิเสธ) เนื่องจากผู้กู้มีชีวิตอยู่และมีเงินบำนาญพอหักได้ ซึ่งคลังไม่หักเงินเดือนเพื่อจ่ายให้ออมสินจึงทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้นมา (ถ้าหักเงินให้ออมสินได้ คนค้ำประกันจะไม่เดือดร้อน) 3.เงินค่าทำศพผู้กู้เป็นสมาชิก ชพค. มีให้9 แสนบาท ดิฉันสามารถให้อายัดไว้เพื่อชำระหนี้ ด้วยได้ไหม 4. การค้ำประกันจะมีผลบังคับการอายัดทรั่พย์อื่นๆ ของดิฉันหรือไม่ กรุณาแนะนำในการปฏิบัติตนครั้งนี้ด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ 


โดยคุณ รัตน์อุมา ดวงชาทม 13 มิ.ย. 2565, 13:13

ความคิดเห็นที่ 88

ดิฉันเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ ได้ยื่นกู้เงินในคำขอกู้มีหนังสือยินยอมทำประกันชีวิตหากไม่เขียนจะไม่มีสิทธิขอกู้พร้อมกับต้องยินยอมให้หักเงินปันผลและเฉลี่ยคืนเพื่อทำประกันชีวิตอย่างต่อเนื่อง

เหตุดังกล่าวสหกรณ์ออมทรัพย์ดำเนินการถูกต้องหรือไม่


โดยคุณ Orapen 15 มี.ค. 2565, 16:45

ความคิดเห็นที่ 87

บริษัท มีสิทธิ์ หัก เงินค้ำประกันได้ ใหมค่ะ ในกรณี ที่ตำแหน่ง พนักงานขับรถ มีหน้าที่ ส่งของให้บริษัท และรับเงินสดจากลูกค้าโดยตรง แล้วมาส่งที่ฝ่ายธุรการ แต่เขาเอาเงินไปใช้ ส่งเงินแต่ละวันไม่ครบ  มีเอกสารเซ็นส่งเงิน และรับทราบ เงินขาด ฝ่ายธุรการ ทวงถามก็บ่ายเบี่ยงไม่ยอมจ่าย และ รีบ เขียนใบลาออก  พนักงานได้ หักลบวันทำงาน ไม่พอ เลยไปหักเงินค้ำประกัน  วันต่อมาเขาไปยื่นกรมแรงงาน เพื่อขอเงินค้ำประกันทั้งหมดคืน ทางบริษัทจะได้ใหมค่ะ 
โดยคุณ อติกานต์ อะโรคา 5 ก.ย. 2563, 14:37

ความคิดเห็นที่ 86

ผู้ค้าประกันไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามจะถือว่าได้รับหรือไม่ได้รับ ไปรษณีย์ตีกลับว่าย้ายไม่ทราบที่อยู่ หรือถ้าส่งไปตามที่อยู่ที่คัดจากทะเบียนราษฎร์แล้วก็ถือว่าได้รับหนังสือ


โดยคุณ นายนันทวัฒน์ ธานี 7 พ.ย. 2562, 21:27

ความคิดเห็นที่ 85

กรรีเป้นผุ้คำประกันการกุ้ชพค. แต่ผุ้กุ้ยื่นใบลาออกจากงานเดิม และกำลังไปทำงานที่แห่งใหม่  แต่มิได้บรรจุเป้นข้าราชดารหรือพนง.ประจำ  เป้นเพียงลุกจ้างเท่านั้น  ผุ้ค้ำสามารถให้ลุกหนี้เปลี่ยนคนค้ำได้หรือไม่

โดยคุณ จุฑามาส 22 มี.ค. 2562, 15:37

ความคิดเห็นที่ 84

ดิฉันเอารถเข้าแนนช์ให้เพื่อนเพื่อนเป็นคนค้ำแล้วเป็นคนเอาเงินไปใช้บอกจะส่งค่างวดรถให้แต่ตอนนี้ค้างมา3เดือนแล้วจะเอาผิดกับคนค้ำอย่างไรได้บ้างค่ะมาหลักฐานการโอนเงินให้คนค้ำด้วย


โดยคุณ วาสนา 5 ม.ค. 2562, 16:16

ความคิดเห็นที่ 83

ถ้าแม่เราเป็นคนค้ำประกันแล้วแม่เสียไปเราต้องเปนคนชดใช้หนี้แทนแม่มั้ยครับ กรณีที่คนกู้ไม่จ่ายตามกำหนด และมีเอกสารทาง ธนาคารมาที่บ้านครับ
โดยคุณ คุณเบท 1 ม.ค. 2562, 04:21

ตอบความคิดเห็นที่ 83

หน้าที่และความผิดรับต่างๆตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทด้วย ทายาทมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของเจ้ามรดก แต่ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามปพพ.มาตรา 1601 (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2539)

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 9 ม.ค. 2562, 09:42

ความคิดเห็นที่ 82

ผมค้ำประกันเงินกู้ธนาคารออมสินให้คนอื่น ปีมีการปรับโครงสร้างหนี้ พอเดือนพฤศจิกายน นอมหนี้
ทางธนาคารแจ้งให้ผมและลูกหนี้ไปเจรจาประนอมหนี้เพื่อแก้ไขภาระหนี้และไม่ให้ดำเนินการตามกฎหมาย 
ผมต้องการให้กระบวนการกู้ยุติลงต้องทำอย่างไร
ผู้กู้เพิกเฉยในการชำระหนี้ ต้องการให้เจ้าหนี้ติดต่อทวงถามโดยตรงกับผู้กู้ต้องทำอย่างไร

โดยคุณ ณุ การช่าง 27 พ.ย. 2561, 20:24

ความคิดเห็นที่ 81

พ่อไปเป็นคนเช่าซื้อรถให้ญาติ โดยญาติขอเป็นผู้ค้ำประกัน

แล้วผิดนัดชำระค่างวด และเอารถไปขาย ไม่สามารถรู้ได้ว่ารถอยู่ที่ไหน หลังจากนั้นมีหมายศาลมาแจ้ง แต่พ่อไม่ได้ไปศาลเลย ญาติก็ไม่รับผิดชอบ เราต้องจ่ายหนี้นั้นโดยทำอะไรไม่ได้เลยหรือคะ ในกรณีนี้เราสามารถให้ผู้ค้ำประกันที่เป็นคนใช้รถและขายรถร่วมรับผิดชอบได้มั้ยคะ เพราะเราก็หาเช้ากินค่ำค่ะ ถ้าไม่มีเงินจ่ายจริงๆ ต้องจำคุกกี่ปีคะ

โดยคุณ Fon 14 พ.ค. 2561, 01:17

ความคิดเห็นที่ 80

สวัสดีค่ะ

ดิฉันได้เคยไปค้ำประกันสินเชื่อเงินกู้ธนาคาร SME ตั้งแต่ปี 2547 ไม่ทราบว่ากฎหมายที่ปรับใหม่บังคับใช้กับกรณีของดิฉันได้ไหมคะ


ขอบคุณมากค่ะ

โดยคุณ บี 9 พ.ค. 2561, 21:58

ตอบความคิดเห็นที่ 80

ไม่ได้ครับ ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 20 และ 21 เริ่มมีผลใช้บังคับกับผู้ค้ำประกันที่ผู้ผันตนตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 และ 10 กรกฎาคม 2558 ครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 6 มิ.ย. 2561, 14:52

ความคิดเห็นที่ 79

มีเรื่องสอบถามค่ะ  ญาติดิฉันไปค้ำประกันให้เค้า ตอนอายุ 57 ปี แต่เพิ่งรู้ว่าเค้าไม่ส่ง จนตอนนี้ญาติอายุ60ปีแล้ว จะเป็นอะไรมั้ย

โดยคุณ สมศรี บัณทา 3 พ.ค. 2561, 14:16

ความคิดเห็นที่ 78

ขอปรึกษา/สอบถามค่ะ คือได้ไปค้ำการกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ ให้พี่ที่ทำงาน (มีผู้ค้ำทั้งหมด5คน) แล้วเขาลาออกจากงาน แล้วไม่ใช้หนี้ พอจะมีวิธีไหนแก้ไขปัญหานี้ได้บ้างไหมค่ะ 
โดยคุณ จันทิ 2 พ.ค. 2561, 18:42

ความคิดเห็นที่ 77

สวัสดีค่ะ


อยากปรึกษาหน่อยค่ะ คือว่า ค้ำรถยนต์ให้แฟนคะ แล้วเลิกกัน และตอนนี้ก็มีเจ้าหน้าที่โทรมาหาแต่เรา บอกว่าติดต่อแฟนเราไม่ได้เลย และเค้าก็ไม่ได้จ่ายค่างวดมานานแล้วด้วย และพูดทำนองว่าจะให้เรารับผิดชอบทั้งหมดด้วย และยังบอกอีกว่าจะส่งฟ้องสิ้นเดือนนี้แล้วค่ะ 


อยากปรึกษาค่ะ ว่าเราจะต้องทำยังไงดีค่ะ หรือว่าต้องเตรียมตัวอะไร ยังไงกับกรณีที่ว่านี้

โดยคุณ ผึ้ง 20 มี.ค. 2561, 13:04

ตอบความคิดเห็นที่ 77

หากลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัด ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามปพพ.มาตรา 680 686   หรือโทรปรึกษาทนายคลายทุกข์เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 11 เม.ย. 2561, 11:48

ความคิดเห็นที่ 76

ผมไปคำรถให้เพื่อนครับแล้วเพื่อนเอารถไปคืนเต็นๆเอาไปขายต่อผมไปตามหารถที่เต็นอ่างว่าขายไปให้คนนี้แต่สุดท้ยรถหายครับไม่ได้แจ้งความจนคดีตัดสินแล้วผมก็รอทางธนาคราธนชาติติดต่อมาแต่ทางธนาคารไม่เคยติดต่อมาเลยจนกระทั้งมีหมายยึดทรัพจากบังคับคดีมาเมื่อวานบอกว่าจะเอาบ้านไปขายทอดตลาดผมจะทำยังไงดีครับ บ้านหลังนี้น้องชายเป็นคนซื้อครับผมแค่มีชื่ออยู่ในโฉดเป็นผู้ซื้อร่วมขอคำแนะนำครับ คดีปี56

โดยคุณ ธงทอง อุยยาหาญ 14 มี.ค. 2561, 09:13

ความคิดเห็นที่ 75

คือหนูค้ำประกันซื้อรถยนให้พี่ชายแฟน ของธนาคารทิสโก้คะ แล้วมีหนังสื้อแจ้งมาที่บ้านว่า

ค้างค่างวด3เดือนแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้ทำยังไงได้บ้างคะ ถ้าเกิดเค้าปล่อยให้ธนาคารมายึดรถ

หนูต้องขึ้นสาร แล้วต้องจ่ายให้เจ้าหนี้หรอคะ

เพราะไม่มีเงินส่วนนั้นจ่ายเจ้านี้ รบกวนช่วยตอบตำถามหน่อยนะคะ เครียดมากเลย

โดยคุณ ปิ่นปฐวี ขว้างดวงเดช 19 ก.พ. 2561, 19:07

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก