ปลดพนักงานออก|ปลดพนักงานออก

ปลดพนักงานออก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปลดพนักงานออก

พนักงานที่บริษัทขโมยของในบริษัทออกไปขายหลายครั้ง

บทความวันที่ 15 ม.ค. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2715 ครั้ง


ปลดพนักงานออก


           พนักงานที่บริษัทขโมยของในบริษัทออกไปขายหลายครั้ง  เจ้านายก็ให้โอกาสทำงานที่บริษัทต่อ เพราะที่บริษัทขาดคนงานเชื่อมฝีมือดีด้วย เขาก็ไม่ยอมปรับตัวซ้ำยังชักชวนคนนอกบริษัทเข้ามาขโมยของอีก ซึ่งทางบริษัทก็ไม่มีหลักฐานมีแต่พยานรู้เห็น แต่เขาก็ไม่ค่อยกล้าพูด ซึ่งเราก็ไม่สามารถเอาผิดเค้าได้อีกใช่ไหมคะ และการกระทำของเค้า เราก็ได้แค่เรียกมาเตือนด้วยวาจาหลายต่อหลายครั้ง เขาก็ขอใบลาออกไปกรอกแต่ก็ไม่เห็นเค้ามายื่น ขาดงานครั้งละ 2 วัน พอวันที่ 3 เอาใบรับรองแพทย์มายื่นซึ่งในนั้นระบุว่า คนไข้กล้ามเนื้อหลังอักเสบให้พักรักษาตัวอีก 2 วัน เขาเองก็ไม่ยอมปรับตัวอยากมาทำงานก็มา อยากออกเวลาไหนก็ออกโดยไม่แจ้งหัวหน้า ซึ่งการกระทำของเขาทำให้หัวหน้าชาวเกาหลีไม่พอใจมากๆ และอยากไล่พนักงานคนนี้ออก แต่ติดอยู่ที่กฏหมายแรงงานไทยคุ้มครองบุคคลประเภทนี้อยู่ใช่หรือเปล่าคะ จะหาทางออกให้หัวหน้ายังไงดี


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์

           เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทคนดังกล่าวกระทำการใดที่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบหรือคำสั่งของบริษัทนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม หากเป็นกรณีที่ไม่ร้ายแรงบริษัทจึงต้องออกหนังสือเตือนไปยังลูกจ้างนั้น โดยหนังสือเตือนมีผลบังคับได้ 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ม.119(4) ดังนั้นถ้าลูกจ้างคนดังกล่าวกระทำการฝ่าฝืนหนังสือเตือนซ้ำอีก บริษัทชอบที่จะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างนั้น

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

อยากทราบเรื่องการเลิกจ้างคับ

ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานที่ประกอบการข้ามจังหวัดแล้วลูกจ้างไม่มีความประสงจะตามไปด้วยเนื่องจากบ้านลูกจ้างอยู่ในจังหวัดที่บริษัทตั้งอยุ่เดิมจะได้รับเงินชดเชยใหมคับแล้วถ้าได้รับเงินชดเชยจะได้รับวันสิ้นสุดการทำงานวันสุดท้ายเลยหรือเปล่า เช่น บริษัทสิ้นสุดการทำงานในที่เดิมในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 และจะไปเริ่มทำงานที่ใหม่ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 แต่ทางนายจ้างได้แต่ตกลงทางวาจาว่าจะจ่ายเงินชดเชยให้ในวันสิ้นเดือนพร้อมกลับเงินเดือนๆสุดท้าย ข้อนี้ผิดหรือเปล่าคับ

ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบนะคับ

โดยคุณ ทศพล 17 ม.ค. 2556, 20:19

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก