พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1 |พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1

พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1

มาตรา 11/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด

บทความวันที่ 18 ต.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 25242 ครั้ง


พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1


          มาตรา 11/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว  ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน  กับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ  อันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน ข้อความนี้หมายความว่าอย่างไรครับ
         1. หมายถึง บริษัทที่จัดหาแรงงานเข้าไปทำงานในสถานประกอบการของผู้ประกอบกิจการใช่หรือไม่ครับ
         2. ในกรณีที่เข้าไปทำงานในบริษัท ก. โดยบริษัท ก. ได้ว่าจ้างให้บริษัท ข. ส่งคนเข้าไปทำงานในบริษัท ก. โดยตำแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบนั้นเหมือนกับพนักงานของประจำของบริษัท ก. สวัสดิการและผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับนั้นต้องเป็นไปตามบริษัท ก. หรือ ข. ครับ (กรณีที่สวัสดิการต่างๆของบริษัท ก. ดีกว่าบริษัท ข.)

 
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
         1. การที่ผู้ประกอบกิจการได้มอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาลูกจ้างทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน กฎหมายให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการนั้นเป็นนายจ้างของลูกจ้างดังกล่าวด้วย ดังนั้น หากเป็นบริษัทจัดหาแรงงานเข้าไปทำงานในสถานประกอบการ จึงย่อมเป็นการประกอบธุรกิจจัดหางานอันเป็นปกติธุระ ไม่เข้าความหมายที่ทำให้ผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของลูกจ้างนั้นแต่อย่างใด
         2. เมื่อบริษัท ก. เป็นผู้ซึ่งมอบหมายให้บริษัท ข. เป็นผู้จัดหาลูกจ้างทำงาน โดยไม่ปรากฎว่า บริษัท ข. ประกอบธุรกิจจัดหางาน กรณีจึงถือว่าบริษัท ก. ผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของลูกจ้างดังกล่าว ลูกจ้างนั้นมีสิทธิได้รับสวัสดิการของบริษัท ก. นายจ้างนั้นด้วย

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 10

ผมวุติ ปวส  ทำงานมาจะ3ปี เป็นพนักงานของทรัพย์ กินเงินเดือน อยู่ๆทางบริษัทแจ้งมาบอกว่ามีรายชื่อให้ออกกับให้ย้ายงานไปทำที่อื่นถ้าไม่ไปคือให้ออกจากบริษัทนี้. มันปุบปั๊ปมากไม่ทันตั้งตัวเลยคือเราสามารถเรียกร้องอะรัยกับบริษัทนี้ได้มั่งคับ ขอคำแนะนำหน่อยคับ

โดยคุณ ปิติ แบนมณฑา 17 พ.ย. 2562, 21:34

ความคิดเห็นที่ 9

ขอถามหน่อย คับ

ผมได้เข้าไปเป็น ซับของบริษัทที่เกี่ยวกับ ขนส่งโดยตรง ไม่ผ่านบริษัทที่2 แต่ไม่มี สวัสดิการอะไรเลย แถมกดขี่ พนักงานซับคอนแทรค ทุกอย่าง อย่างนี้ มีกฏหมายอะไร ช่วยพวกผมได้บ้างมั้ยครับ

โดยคุณ Watchara 16 ก.พ. 2562, 23:31

ความคิดเห็นที่ 8

ขอสอบถามหน่อยครับ  พอดีแฟนผมทำงานบริบัทแห่งหนึ่งเป็นซับคอนแทรก 3ปีกว่า แต่ว่าท้องครับแต่บริษัทแห่งนี้มีการประท้วง  แต่บริษัทไม่ไห้ไปทำงาน  สมมุดว่าไม่ได้ค่าจ่างผมสามารถเรีกร้องอะไร่ได้บ้างครับ

โดยคุณ pisan 20 ม.ค. 2561, 14:18

ตอบความคิดเห็นที่ 8

กรณีตามปัญหา  หากนายจ้างเลิกจ้างท่านโดยไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ท่านสามารถฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้ หรือโทรปรึกษาทนายคลายทุกข์เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 1 ก.พ. 2561, 11:15

ความคิดเห็นที่ 7

สอบถามตามมาตรา 11/1 กรณีของผมคือ  บริษัท A. จ้างให้บริษัท B. ส่งพนักงานเข้ามาทำงานร่วมกับพนักงานจ้าง


ตรงของบริษัท A. เนื้อหางาน ทำงานร่วม ช่วยเหลือในการทำงานต่างๆกับพนักงานของบริษัท A.  กรณีนี้เข้าข่ายตาม


มาตร 11/1 หรือไม่ แล้วบริษัทA. ต้องจัดสวัสดิการให้ กับพนักงานบริษัท B. อย่างเป็นธรรมหรือไม่


ขณะนี้ ส่วนของค่าอาหาร  ค่าเดินทาง โบนัส ไม่เท่ากัน  และในอนาคต ส่วนเบี้ยเลี้ยงทำงานนอกสถานที่ ทั้งในและ


นอกประเทศ อาจจะไม่เท่ากันอีกด้วย เราสามารถใช้มาตร 11/1 เป็นหลักเจรจา ได้หรือไม่

โดยคุณ อดิศร 14 ก.ย. 2560, 08:48

ความคิดเห็นที่ 6

 มีปัญหาเรื่องสัญญาการซับ บริษัทเจ้าของงานบอกว่าเบิกเงินงวดไม่ได้ เนื่องจากส่วนราชการเจ้าของเรื่องทราบว่ามีการซับงานกัน จะยกเลิกสัญญากับผู้ซับงาน เพื่อให้เบิกเงินงวดได้ งานที่ทำเป็นงานก่อสร้างอาคาร ซึ่งตอนนี้งานได้ก่อสร้างแล้วเสร็จครบทุกงวดแล้ว รอแต่คณะกรรมการมาตรวจงวดสุดท้าย หากเราเซ็นต์ยกเลิกสัญญาจ้าง ที่ซับงาน กลัวจะไม่ได้รับเงินค่าจ้างจากบริษัทเจ้าของงาน เพราะไม่มีเอกสารผูกมัด  

งานมีทั้งหมด 10 งวด  บริษัทเจ้าของงานเบิกเงินได้แล้ว งวดที่ 1 - 6  เหลืองวด 7 - 10

จึงขอคำแนะนำด้วยค่ะ จะทำยังไงถึงจะไม่ถูกโกง หากยกเลิกสัญญาซับงาน  หรือจะมีวิธียังไงหากต้องยกเลิกสัญญาจริงๆ  ขอความกรุณาด้วยนะคะ  ขอบคุณมากค่ะ

โดยคุณ กัลยรัตน์ 25 มี.ค. 2560, 09:44

ตอบความคิดเห็นที่ 6

กรณีตามปัญหา  แนะนำให้ท่านศึกษาข้อสัญญาการว่าจ้างให้ละเอียด หากฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาก่อน ฝ่ายนั้นย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้ ทั้งนี้ตาม ปพพ.มาตรา 386 มาตรา 387 และมาตรา 391

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 8 พ.ค. 2560, 11:22

ความคิดเห็นที่ 5

 ขอคำตอบความคิดที่1.ให้ผมด้วยครับ

โดยคุณ ประสบผล เตียวองอาจกุล 26 ม.ค. 2560, 16:43

ความคิดเห็นที่ 4

 ขอถามหน่อยค่ะ เจ้าของบริษัทซับบอกว่าให้เบิกเงินได้ 

แต่มาคิดดอกร้อยละสิบก่อนเงินเดือนออกสิบวัน ซึ่งจริงๆแล้วมันคือการปล่อยเงินกู้นอกระบบสามารถเอาผิดนายจ้างได้มั้ยค่ะ

โดยคุณ 12 ธ.ค. 2559, 16:48

ความคิดเห็นที่ 3

 กรณีที่ทำงานที่โรงบาลนะครับแล้วเกิดปัญหากับพนักงานคือทางหัวหน้างานมีลักษณะคล้ายคลึงว่าไม่ถูกชะตาเลยบีบพนักงานออกพนักงานเอาออกโดยการกลั่นแกล้งทุกอย่างเพื่อให้เกิดความผิดพลาดแล้วออกใบเตือนทุกผิดพลาดนิดนิดหน่อยคือจะให้เขียนใบลาออกอย่างเดียวมันมีข้อโต้แย้งหรือกระบวนการต่อสู้อย่างไรบ้างครับ

โดยคุณ วชิราวุธ 27 มิ.ย. 2559, 12:48

ความคิดเห็นที่ 2

 กรณีที่พนักงานขาดงานบ่อยและหัวหน้างานได้ตักเตือนแล้ว(ไม่มีลายลักษณ์อักษร) พนักงานยังขาดงานเหมือนเดิม ทางหัวหน้างานจึงให้พนักงานคนนี้ออกจากงาน โดยไม่มีลายลักษณ์อักษร 

คำถาม ?

1.การออกใบเตือนพนักงานควรจะเป็นทางผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้จัดหาลูกจ้าง ? ครับ

โดยคุณ พรหมพิริยะ 30 ก.ค. 2557, 10:19

ความคิดเห็นที่ 1

 แล้วบริษัทซับคอนแทรคต่างๆที่นำพนักงานเข้าไปทำงานในบริษัทหรือกิจการใหญ่ๆอีกที ต้องอยู่ในบังคับมาตรานี้ด้วยหรือไม่  

แล้วลูกจ้างของบริษัทซับคอนแทรกจะได้รับความคุ้มครองและสวัดิการจากผู้ประกอบกิจการเหมือนเป็นลูกจ้างของผู้ประกอบกิจการด้วยหรือไม่

ขอเรียนถามอาจารย์ค่ะ

โดยคุณ สุชนัน 27 ต.ค. 2556, 22:40

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก