สิทธิการใช้พักร้อน|สิทธิการใช้พักร้อน

สิทธิการใช้พักร้อน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สิทธิการใช้พักร้อน

เข้าทำงานเมื่อ 2 กรกฎาคม 2547 จนถึงปัจจุบันนี้ ได้พักร้อน 6 วัน

บทความวันที่ 23 ก.พ. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2285 ครั้ง


สิทธิการใช้พักร้อน

          เข้าทำงานเมื่อ 2 กรกฎาคม 2547 จนถึงปัจจุบันนี้ ได้พักร้อน 6 วัน แต่ไม่สามารถที่จะหยุดได้พร้อมกันหมด 6 วัน เนื่องจากทางฝ่ายบุคคลได้กำหนดไว้ว่า บุคคลที่ได้พักร้อน 6 วันแล้ว ต้องทำงาน 2 เดือนก่อนถึงจะหยุดได้ 1 วัน 4 เดือนก็หยุดได้ 2 วัน 6 เดือนก็หยุดได้ 3 วัน เป็นต้น ห้ามใช้ล่วงหน้าก่อนทั้งที่ก็ได้พักร้อนมาแล้ว จึงอยากรู้ว่า  สิทธิของการใช้พักร้อนเป็นแบบไหน จะตามที่สถานประกอบการกำหนดใช่หรือเปล่า?

 

คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
            ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 30 ได้กำหนดสิทธิการหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างเอาไว้ กล่าวคือ หากลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน ดังนั้น นายจ้างจึงมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างตามอัตราดังกล่าว โดยไม่จำต้องหยุดติดต่อกัน 6 วันทำงานได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วปีหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน


ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541
มาตรา 30
  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงานโดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้
นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้
สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก