การปรับเงินเดือน|การปรับเงินเดือน

การปรับเงินเดือน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การปรับเงินเดือน

สืบเนื่องจาก มติ ครม. 5 มิถุนายน 2550 เห็นชอบให้ปรับเงินเดือน 4 %

บทความวันที่ 30 ต.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 4714 ครั้ง


การปรับเงินเดือน

          สืบเนื่องจาก มติ ครม. 5 มิถุนายน 2550 เห็นชอบให้ปรับเงินเดือน 4 % ให้กับข้าราชการ และพนักงานของรัฐทุกประเภท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550   ขณะนั้น ดิฉันรับราชการ ได้รับการปรับฐานเงินเดือนร้อยละ 4 ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 และได้รับเงินเดือนอัตราใหม่มาแล้ว 2 เดือนคือ 1 ตุลาคม- 30 พฤศจิกายน 2550  ดิฉันได้ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 และไปปฏิบัติงานเป็นพนักงานของรัฐ ที่สำนักงานองค์การมหาชนแห่งหนึ่ง เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2550 ตามอัตราเงินเดือนที่ได้ตกลงกัน
         ต่อมาองค์การมหาชนที่ดิฉันปฏิบัติงานอยู่ ได้มีการปรับเงินเดือน(เท่าไรไม่ทราบ) เสนอคณะกรรมการบริหารให้ความเห็นชอบ พนักงานทุกท่านได้รับการปรับอัตราเงินเดือน ยกเว้นดิฉันเพียงคนเดียว รายละเอียดเกี่ยวกับเงินเดือนถือเป็นความลับที่ปกปิด ในภายหลังดิฉันได้รับการบอกเล่าด้วยวาจาจากผู้ที่ทราบเรื่องว่า ดิฉันไม่ได้รับการปรับเงินเดือน เนื่องจาก เคยได้รับการปรับเงินเดือนจากหน่วยงานราชการมาแล้ว ถ้าปรับให้จะเป็นการซ้ำซ้อน เพราะการปรับเงินเดือนครั้งนี้ใช้กฎหมายเดียวกัน
         ดิฉันไม่แน่ใจ เพราะเป็นพนักงานคนละประเภท ต่างหน่วยงาน และได้ลาออกมาแล้ว เหตุใดองค์การมหาชนจึงเอาเงินเดือนของดิฉันไปผูกติดกับส่วนราชการเดิม ซึ่งเป็นพนักงานคนละประเภท และเพิ่งได้รับเงินเดือนในอัตราใหม่เพียง 2 เดือน
         จึงใคร่ขอเรียนถามอาจารย์ว่า องค์การมหาชนไม่ปรับเงินเดือนให้เหมือนกับพนักงานคนอื่น ๆ เป็นการถูกต้องแล้วหรือไม่ อย่างไรคะ
         สุดท้ายนี้ดิฉันขอกราบอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยได้โปรดคุ้มครองให้ท่านมีสุขภาพแข็งแรง

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
          ไม่จริง  หากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม  ก็ให้อุทธรณ์และร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาตามขั้นตอนก่อน  หลังจากนั้นต้องขอความเป็นธรรมต่อองค์การมหาชนต่อไป

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 6

 อยากสอบถามอาจารย์ปัญหาเดียวกันกับคุณสะพรั่งพร สงวนทรัพย์ ค่ะว่าดิฉันก็ทำงานเป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดแห่งหนึ่งอำนาจที่จะปรับอัตราเงินเดือนของดิฉันคือคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลใช่หรือไม่ค่ะ หรือว่าจะต้องขอความเห็นชอบจากเจ้าของร่วมก่อนคณะกรรมการจึงจะตัดสินใจได้คะ

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ฟองแก้ว ยาปนะโกศล 14 ก.ย. 2556, 10:29

ความคิดเห็นที่ 5

นู๋เรียนจบ ป.ตรี ตอนนี้ทำงานที่ กอ.รมน.ภาค 4 เป็นลูกจ้างงานเร่งด่วน รับเงินเดือนเเค่ 4500

จะปรับด้วยหรอป่าว เพราะที่นี่ทำงานหนักเท่าข้าราชการเเต่เงินน้อยมาก ปรับเถอะค่าสงสาร

โดยคุณ ดวง 23 ธ.ค. 2554, 10:06

ความคิดเห็นที่ 4

อยากสอบถามเรื่องการเป็นผู้จัดการนิติบุคคลฯ และไม่ได้จบกฏหมายพอแนะนำการฝึกอบรมที่จะมาใช้กับการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นได้ไหมค่ะ

โดยคุณ สะพรั่งพร สงวนทรัพย์ 24 มิ.ย. 2553, 08:49

ความคิดเห็นที่ 3

อยากถามว่าดิฉันทำงานเกี่ยวกับนิติบุคคลอาคารชุด จะมีการปรับเงินเดือนให้กับพนักงานได้ไหมค่ะและการปรับเงินเดือนขึ้นอยู่กับอำนาจใครค่ะที่จะปรับอัตราเงินเดือนพนักงานได้

โดยคุณ สะพรั่งพร สงวนทรัพย์ 19 พ.ค. 2553, 00:05

ตอบความคิดเห็นที่ 3

1. การปรับเงินเดือนให้กับพนักงานนิติบุคคลอาคารชุด ก็เหมือนกับการเป็นพนักงานของบริษัทนิติบุคลลทั่วไป ที่มักจะมีการปรับเงินเดือนให้แก่พนักงานของตน หลักจากที่มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานประจำปี กล่าวคือ จะเป็นการปรับเงินเดือนตามผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนนั้น ๆ
2. โดยกาปรับเงินเดือนของพนักงานนั้น จะเป็นการพิจารณาดำเนินการโดยผู้จัดการนิติบุคคล ซึ่งมีอำนาจในการพิจารณาสั่งและปรับเงินเดือนของพนักงานนิติบุคคลอาคารชุดต่อไป โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 21 พ.ค. 2553, 10:53

ตอบความคิดเห็นที่ 3

อยากสอบถามอีกเรื่องนะว่า ดิฉันเป็นผู้จัดการนิติบุคคลแห่งหนึ่งทำงานจะเข้าปีที่ห้าแล้วค่ะ ดิฉันมีสิทธิขอปรับเงินเดือนไหมค่ะ และอำนาจที่จะปรับอัตราเงินเดือนดิฉันคือคณะกรรมการบริหารใช่ไหมค่ะ

โดยคุณ สะพรั่งพร สงวนทรัพย์ 23 มิ.ย. 2553, 20:26

ความคิดเห็นที่ 2

1. การปรับเงินเดือนให้กับพนักงานนิติบุคคลอาคารชุด ก็เหมือนกับการเป็นพนักงานของบริษัทนิติบุคลลทั่วไป ที่มักจะมีการปรับเงินเดือนให้แก่พนักงานของตน หลักจากที่มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานประจำปี กล่าวคือ จะเป็นการปรับเงินเดือนตามผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนนั้น ๆ
2. โดยกาปรับเงินเดือนของพนักงานนั้น จะเป็นการพิจารณาดำเนินการโดยผู้จัดการนิติบุคคล ซึ่งมีอำนาจในการพิจารณาสั่งและปรับเงินเดือนของพนักงานนิติบุคคลอาคารชุดต่อไป โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 21 พ.ค. 2553, 10:53

ความคิดเห็นที่ 1

อยากสอบถามอีกเรื่องนะว่า ดิฉันเป็นผู้จัดการนิติบุคคลแห่งหนึ่งทำงานจะเข้าปีที่ห้าแล้วค่ะ ดิฉันมีสิทธิขอปรับเงินเดือนไหมค่ะ และอำนาจที่จะปรับอัตราเงินเดือนดิฉันคือคณะกรรมการบริหารใช่ไหมค่ะ

โดยคุณ สะพรั่งพร สงวนทรัพย์ 23 มิ.ย. 2553, 20:26

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก