สิทธิการลาพักร้อนในกรณีลาออก|สิทธิการลาพักร้อนในกรณีลาออก

สิทธิการลาพักร้อนในกรณีลาออก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สิทธิการลาพักร้อนในกรณีลาออก

หนูมีเรื่องรบกวนปรึกษาอาจารย์ค่ะ คือหนูทำงานบริษัทแห่งหนึ่ง

บทความวันที่ 15 ม.ค. 2558, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 13292 ครั้ง


สิทธิการลาพักร้อนในกรณีลาออก

              หนูมีเรื่องรบกวนปรึกษาอาจารย์ค่ะ  คือหนูทำงานบริษัทแห่งหนึ่งค่ะ ทำงานครบ 3 ปีแล้ว แล้วหนูยื่นใบลาออกสิ้นสุดวันที่21 มกราคม 2558 นี้ แต่หนูมาทำงานถึงวันที่15 ม.ค. ส่วนวันที่16-21 ม.ค. หนูขอใช้สิทธิ์พักร้อน หนูขอใช้สิทธิ์แค่ 4 วัน ทั้งที่สิทธิ์หนูได้ 9 วัน แต่หัวหน้าไม่อนุมัติค่ะ บอกว่าให้พักร้อนไม่ได้เพราะหนูลาออกเดือนแรกของปีหนูไม่ได้สิทธิ์ดังกล่าวแล้ว  คือหนูอยากจะถามอาจารย์ว่า ตามกฎหมายแล้ว หนูมีสิทธิ์ได้รับพักร้อนตามที่หนูขอไหม แล้วถ้าหากไม่ได้หนูจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร

คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
             สิทธิย่อมควบคู่ไฟกับหน้าที่เสมอ หากจะพิจารณาถึงสิทธิการหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง ถ้าลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิหลุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานโดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้า หรือ กำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน ดังนั้น ถ้าและนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอันเป็นการโต้แย้งแก่สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของท่านน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ท่านมีสิทธิเสนอคดีต่อศาลแรงงานเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวต่อไป

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ในสิ้นปี 2560 ทางบริษัทได้คิดวันลาพักร้อนให้แก่พนักงานและจ่ายเป็นเงินให้แล้วจำนวน 8วัน ต่อมาปี2561 ลูกจ้างจะลาออก 15 กุมถาพันธ์ 2561 บริษัท จะต้องคิดวันลาพักร้อนให้กับลูกจ้างคนนี้เท่าไหร่คะ

โดยคุณ มารีย๊ะ ละมาน 10 ก.พ. 2561, 08:47

ความคิดเห็นที่ 2

สวัสดีค่ะ

ดิฉันขอสอบถาม สิทธิ์ในการลาพักพ่อนประจำปี กับการลาออกค่ะ คือ ดิฉันทำงานมา ครบ 5 ปี แล้วค่ะ ไม่เคยลาพักผ่อนเลย ตามระเบียบการลาออก จะต้องได้รับเงินชดเชย 5 เท่าของเงินเดือนครั้งสุดท้าย เมื่อลาออก หากดิฉันต้องการลาออกและอยากใช้สิทธิในการลาพักผ่อนประจำปี ที่สะสมอยู่ 5 ปี พร้อมกัน จะสามารถทำได้หรือไม่ และควรดำเนินการตามขั้นตอนอย่างไรบาง ถึงจะถูกต้องตามกฏหมายคุ้มครองแรงงานค่ะ

โดยคุณ น.ส.อรรธรส ยินดี 3 ต.ค. 2559, 15:10

ความคิดเห็นที่ 1

สวัสดีค่ะ

ดิฉันขอสอบถามสิทธิ์เรื่องวันลาพักร้อนค่ะ คือว่าดิฉันเริ่มงานวันที่ 1 ส.ค.57 และทำงานครบ 1 ปีในวันที่ 1 ส.ค.58 ไม่ทราบว่ากรณีเช่นนี้ดิฉันมีสิทธิ์ลาพักร้อนได้กี่วันค่ะ  ต้องคิดเฉลี่ยตามเดือนไหม

โดยคุณ น.ส.สุจิตรา อุทัยแพน 10 ส.ค. 2558, 14:57

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก