เริ่มงาน 1 เมษายน แต่นายจ้างแจ้งว่ามีวันหยุดเยอะจึงจ่ายเป็นรายวัน|เริ่มงาน 1 เมษายน แต่นายจ้างแจ้งว่ามีวันหยุดเยอะจึงจ่ายเป็นรายวัน

เริ่มงาน 1 เมษายน แต่นายจ้างแจ้งว่ามีวันหยุดเยอะจึงจ่ายเป็นรายวัน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เริ่มงาน 1 เมษายน แต่นายจ้างแจ้งว่ามีวันหยุดเยอะจึงจ่ายเป็นรายวัน

ก่อนเริ่มงานแจ้งว่าได้เงินเดือนๆ ละ13,500 บาท แต่ไม่ได้แจ้งรายละเอียดใดๆ

บทความวันที่ 9 พ.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 7846 ครั้ง


เริ่มงาน 1 เมษายน แต่นายจ้างแจ้งว่ามีวันหยุดเยอะจึงจ่ายเป็นรายวัน

    
             ก่อนเริ่มงานแจ้งว่าได้เงินเดือนๆ ละ13,500 บาท แต่ไม่ได้แจ้งรายละเอียดใดๆ ว่าจะจ่ายเป็นรายวัน....และแจ้งให้มาเริ่มงาน 1 เมษายน เมื่อมาทำงานผมก็ถามว่าไม่มีการเซ็นสัญญาว่าจ้างหรือ     กลับได้รับคำตอบจากนายจ้างว่า เดี๋ยวจะแจ้งรายละเอียดทีหลัง  ต่อมาเมื่อวันที่ 17 เมษายน หลังจากหยุดช่วงสงกรานต์นายจ้างได้แจ้งมาว่า พนักงานที่เข้าใหม่จะจ่ายค่าจ้างเป็นรายวันในเดือนเมษายน ส่วนพนักงานเก่าจ่ายเต็มเดือน    และในช่วง 3 เดือนแรกพนักงานใหม่จะจ่ายค่าจ้างเป็นรายวัน......ทั้งนี้ก็ยังไม่มีการให้เซ็นสัญญาใดๆทั้งสิ้น   ที่ทำงานมีการสแกนนิ้วมือในการเข้าทำงานทุกวันครับ  รบกวนให้คำแนะนำว่าผมจะต้องทำอย่างไรดีครับ


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
           การทำสัญญาจ้าง กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ จึงอาจทำด้วยวาจาระบุชัดเจนหรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ดังนั้น หากมีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานเพื่อพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องข้อพิพาทนั้นต่อไปตามมาตรา 8(1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ 2522

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก