การรับมรดก|การรับมรดก

การรับมรดก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การรับมรดก

บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน

บทความวันที่ 3 ต.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1003 ครั้ง


การรับมรดก

           บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน ไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร  ต่อมาบิดามารดาแยกทางกัน บิดาแต่งงานและจดทะเบียนสมรสกับภรรยาใหม่  บุตรอยู่กับบิดาได้รับการดูแลเลี้ยงดูจากบิดามาตลอด 25 ปี  มีญาติของบิดาที่เป็นพยานได้  กรณีนี้ หากผู้เป็นบิดาถึงแก่กรรม บุตรจะมีสิทธิ์ได้รับมรดกของบิดา เทียบเท่ากับภรรยาใหม่หรือไม่ บุตรจะต้องฟ้องร้องหรือไม่  หากภรรยาใหม่อ้างว่าตนมีทะเบียนสมรสมีสิทธิ์ได้รับมรดกแต่เพียงผู้เดียว

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
           แม้บิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของบุตร ทำให้บุตรเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่พฤติการณ์ที่บิดาได้รับบุตรไปอยู่ด้วยหลังจากที่ได้แยกทางกับมารดาของบุตร โดยแสดงแก่บุคคลทั่วไปว่าเด็กเป็นบุตรของตน ย่อมเป็นกรณีที่บิดาได้รับรองบุตรนอกกฎหมายแล้วตามความเป็นจริง ย่อมถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1627,1629(1) ดังนั้น หากภายหลังบิดาตาย บุตรคนนี้มีสิทธิได้รับมรดกบิดา ร่วมกับภรรยาคนใหม่ คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา โดยส่วนแบ่งเท่ากัน ซึ่งภรรยาคนใหม่ได้ส่วนแบ่งมรดกของสามีเสมือนว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 วรรค 2 , 1635(1)

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1627
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1)  ผู้สืบสันดาน
(2)  บิดามารดา
(3)  พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4)  พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5)  ปู่ ย่า ตา ยาย
(6)  ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

มาตรา 1635  ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้
(1)  ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

คือว่าที่บ้าน พ่อ กับแม่ใด้จดทะเบียนหย่ากันแล้วประมาณ 6 ปี และพ่อใด้จดทะเบียนใหม่กับเมียใหม่ พ่อกับแม่ มีลูกด้วยกัน 3 คนรวมทั้งดิฉัน และตอนนี้พ่อของดิฉันป่วยเพราะเข้ารับการผ่าตัดสมอง และเมียใหม่พ่อตอนนี้ใด้รับผลประโยชน์แต่เพียงผู้เดียวเกี่ยวกับรายใด้ทุกอย่าง พวกเราจะทำอย่างไรดีค่ะ กรุณาให้คำตอบด้วย

โดยคุณ อชิติมา 21 พ.ย. 2553, 12:48

ความคิดเห็นที่ 1

คือว่าบ้านที่ผมอยู่นี้เป็นของพ่อแต่พ่อได้ตายแล้วพ่อผมมีเมียหลายคนผมเป็นลูกเมียน้อยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก่อนพ่อตายได้พูดกับเมียหลวงและลูกๆของเขาว่ายกบ้านหลังนี้ให้ผมตอนนั้นบ้านยังผ่อนไม่หมดแม่ผมก็ได้เก็บเงินส่งทุกๆเดือนจดหมดโดยผ่านทางเค้าแต่เค้าไม่ยอมโอนหั้ยซักทีไม่รู้ว่าผมจะต่อสู้ยังไงถึงจะได้บ้านคืน

โดยคุณ โหน่ง 11 ต.ค. 2553, 13:07

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก