ฟ้องคดีเช็คทั้งแพ่งและอาญามูลหนี้เดียวกันต้องระวัง อาจเสียสิทธิทางอาญาได้|ฟ้องคดีเช็คทั้งแพ่งและอาญามูลหนี้เดียวกันต้องระวัง อาจเสียสิทธิทางอาญาได้

ฟ้องคดีเช็คทั้งแพ่งและอาญามูลหนี้เดียวกันต้องระวัง อาจเสียสิทธิทางอาญาได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ฟ้องคดีเช็คทั้งแพ่งและอาญามูลหนี้เดียวกันต้องระวัง อาจเสียสิทธิทางอาญาได้

การฟ้องร้องคดีเช็คในกรณีผู้ทรงเช็คหรือผู้เสียหายได้รับเช็คมาแล้ว ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้เสียหายดำเนินคดีได้ 2 ทางดังนี้คือ

บทความวันที่ 11 ก.ค. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 45585 ครั้ง


ฟ้องคดีเช็คทั้งแพ่งและอาญามูลหนี้เดียวกันต้องระวัง อาจเสียสิทธิทางอาญาได้

 

                                    ฟ้องคดีเช็คทั้งแพ่งและอาญามูลหนี้เดียวกันต้องระวัง อาจเสียสิทธิทางอาญาได้

                       

            การฟ้องร้องคดีเช็คในกรณีผู้ทรงเช็คหรือผู้เสียหายได้รับเช็คมาแล้ว ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้เสียหายดำเนินคดีได้ 2 ทางดังนี้คือ

 

-          การดำเนินคดีทางอาญา ตาม พ.ร.บ.เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ภายในอายุความ 3 เดือน นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน

-          การดำเนินคดีทางแพ่งในความผิดฐาน ตั๋วเงิน ต้องดำเนินคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ลงในเช็ค

 

            ปัจจุบันได้มีคำพิพากษาฎีกาที่ 4541/2550 ซึ่งวินิจฉัยว่า ถ้ามีการฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งและมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจบสิ้นไปแล้ว สิทธิในการดำเนินคดีทางอาญาย่อมระงับไปด้วย ตาม ป.วิ อาญา มาตรา 39 ดังนั้นถ้าคู่ความจะทำยอมในคดีแพ่งจะต้องระมัดระวัง ถึงแม้จะมีข้อยกเว้นว่าไม่ให้คดีอาญาระงับ ศาลฎีกาถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะ เพราะมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150

 

            การดำเนินคดีทั้งแพ่งและอาญา ต้องระมัดระวัง อย่ายอมความทางแพ่งก่อน ก่อนที่คดีอาญาจะพิจารณาเสร็จสิ้น มิฉะนั้นจะเสียสิทธิทางอาญาได้

 

รายละเอียดคำพิพากษาโดยย่อ

 

            โจทก์ร่วมได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชดใช้เงินตามมูลหนี้ตามเช็คพิพาทสี่ฉบับ ต่อมาโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลแพ่งธนบุรีพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ร่วมที่จะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามมูลหนี้ในเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852

 

            โจทก์ร่วมคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับได้อีก

 

            ดังนั้น หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับเพื่อใช้เงินนั้น จึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมระงับไปตาม ป.วิ อ. มาตรา 39 ถึงแม้ในสัญญาประนีประนอมความดังกล่าว ข้อ 3 จะระบุเป็นข้อยกเว้นว่า การตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ไม่มีผลในคดีอาญาคดีนี้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวนั้นมีวัตถุประสงค์ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายโดยชัดแจ้งจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความในข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด ทั้งนี้ตามนัยมาตรา 173 แห่ง ป.พ.พ.

 

            ข้อมูลหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา พ.ศ. 2550 เล่มที่ 8

           

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 25

ออกเช็คให้เพื่อค้ำประกันหนี้  แต่เช็คที่ออกให้ไม่ตรงกับที่ให้ไว้กับธนาคาร(ที่ถูกต้อง ต้องเซ็น2 คนในการออกเช็ค) มีความผิด อย่างไรบ้างครับ

โดยคุณ จิรัฏฐ์ 11 มี.ค. 2561, 02:04

ความคิดเห็นที่ 24

 เปิดร้านซ่อมมอเตอร์ แต่มีหนี้สินเยอะมากหลายเจ้า ตีเช็คไปเด้ง แล้วทางเจ้าหนี้จะแจ้งความ ไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่จ่ายนะค่ะ มีเหตุเหมือนโดนโกงค่ะ ทำให้เงินไม่มีหมุน แบบนี้หนูทำอย่างไรได้บ้างค่ะ

โดยคุณ รุ่งนภา 30 มี.ค. 2560, 16:49

ตอบความคิดเห็นที่ 24

กรณีตามปัญหา  แนะนำให้ท่านเจรจาชำระหนี้กับเจ้าหนี้ เพื่อยุติปัญหาทางคดีต่างๆ 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 8 พ.ค. 2560, 15:10

ความคิดเห็นที่ 23

ผลทำรับเหมาก่อสร้างแต่ทำงานไม่เสร็จตามสัญญา ทางเจ้าของได่ให้ผมผ่อนชำระค่าส่วนต่างที่เจ้าของได้จ่ายไปโดยให้ผมทำสัญญารับผิดชอบเงินส่วนต่างเป็นเงิย 6 ล้านบาทโดยให้ผมเขียนเซ็คคำไว้เป็นหลักประกัน ต่อมาถึงกำหนดวันครบกำหนดของเซ็คเจ้าของได้นำเซ็คดังกล่าวไปขี้นเงินแต่ในบัญชีผมไม่มีเงิน ผมต้องทำยังไงบ้างครับ และเป็นความผิด พรบ เซ็คทางอาญาด้วยหรือเปล่าวครับ และจะต้องติดคุกเท่าไหล่ครับ

โดยคุณ ชูเกียรติ จันมี 22 ก.พ. 2559, 09:20

ตอบความคิดเห็นที่ 23

 เช็คค้ำประกัน สู้คดีครับ

โดยคุณ ทนายกิตติพงษ์0822142246 18 มิ.ย. 2559, 14:16

ความคิดเห็นที่ 22

 เช็คค้ำประกัน สู้คดีครับ

โดยคุณ ทนายกิตติพงษ์0822142246 18 มิ.ย. 2559, 14:16

ความคิดเห็นที่ 21

 มีคนมายืมเงินไปลงทุน 1.3 ล้านบาท ทำสัญญายืมเงินและเขียนเช็คค้ำประกันเงินกู้ จำนวน ๒ ใบ เลยกำหนดวันชำระเงิน นำเช็คไปขึ้นเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไปแจ้งตำรวจ ตำรวจบอกว่าเป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา ตำรวจไม่มีสิทธิจับ ก็งง ๆ อยู่ สรุปแล้วจะดำเนินคดีกับเขาอย่างไร

โดยคุณ บุญทัน ก้องแดนไพร 29 ธ.ค. 2557, 15:51

ความคิดเห็นที่ 20

 โดนฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน ต่อมาเราฟ้องกลับคดีอาญา ข้อหาปลอมลายมือชื่อในสัญญายืมเงินและสัญญาคำ้ประกันเงินกู้ ในกรณีนี้ถ้าศาลไต่สวนว่ามีมูลความผิดทางอาญาคดีแพ่งที่โดยฟ้องจะยุติหรือไม่

โดยคุณ นัฐวรรณ 26 พ.ย. 2557, 13:34

ความคิดเห็นที่ 19

แม่ไปเซนต์เอกสารใบรับเงินไม่รู้ตอนไหน  กับทางสหกรณ์ แต่ไม่ได้รับเงิน เจ้าหน้าที่การเงินก็เซนต์จ่ายเงินเช่นกัน  แต่ก็บอกยังไม่ได้จ่ายเงินเหมือนกัน ( สันนิฐานว่าเจ้าหน้าที่บัญชีจะหลอกให้เซนต์แล้วเอาเงินไป)  จะทำอย่างไรดีครับ

โดยคุณ กานต์ 24 ต.ค. 2557, 07:52

ความคิดเห็นที่ 18

 สวัสดีครับ ผมได้ส่งของให้ลูกค้า3เดือนแล้ว เขาจ่ายเช็กวันที่20 ตุลาคม 2556 มาให้พอเอาเช็กไปขึ้นเงินเขากลับอายัดเช็กไว้ แล้วแจ้งกลับมาว่าจะขอคืนของให้ครึ่งนึงแล้วส่วนที่ขายไปจะชำละมาให้ต่างหาก แต่เราไปขึ้นเช็กแล้วเจอแบบนี้เราจะทำยังไงดีครับ ของที่เขาสั่งมาเราก็ไปสั่งเขาผลิตมาให้แล้วเราจะเอาไปขายต่อก็ไม่ได้ แล้วเช็กก็โดนอายัดเราจะทำยังไงดีครับ

โดยคุณ ชัยวิทย์ อัครพันธ์ยศ 19 พ.ย. 2556, 15:20

ความคิดเห็นที่ 17

อยากทราบว่าได้จ่ายเช็คให้บริษัท 10 ใบและบริษัทแจ้งความเช็คเด้ง เป็นคดีแพ่งหรืออาญาค่ะและต้องจำคุกไม่ค่ะ

โดยคุณ ศิริภัสสร 26 ก.ค. 2556, 04:44

ความคิดเห็นที่ 16

 อยากทราบว่าเช็กที่สั่งจ่ายไปแล้วแต่เจ้าหนี้ไม่นำไปขึ้นเช็กใบนี้จะมีอายุนานแค่ไหนที่จะนำไปฟ้องร้องได้ถ้าเราไม่ได้นำเงินไปเข้า

โดยคุณ นัท 20 มิ.ย. 2556, 01:28

ความคิดเห็นที่ 15

พนง.ลักเช็คเขียนเองเบิกเองโดยที่เราไม่รู้เมื่อไปร้องเรียนธนาคารบอกไม่รับผิดชอบต้องทำอย่างไรเมื่อคนขโมยหนี้ไปตั้งแต่เบิกเช็คจากธนาคารได้ทำอย่างไรให้ธนาคารรับผิดชอบเมื่อเราไม่ใช่คนจ่ายเช็ค

โดยคุณ สายัณห์ 12 มิ.ย. 2556, 14:45

ความคิดเห็นที่ 14

 หนีคดีขโมยเช็คมาขึ้นเงินพร้อมปลอมลายเซ็น จะโดน ข้อหาอะไรบ้างค่ะ ในการมอบตัว

แล้วสามารถ ออกไปดูงานที่ญี่ปุ่นได้ไหม   ตอนนี้รู้สึกว่ามีคนคอยตามอยู่แต่อ้างว่าเป็นตำรวจ ไม่รู้จริงรึป่าวค่ะ

อยากจอความเห็นในการมอบตัวค่ะ

โดยคุณ Bb 28 เม.ย. 2556, 10:16

ความคิดเห็นที่ 13

ใครมีตัวอย่างร่างคำฟ้องคดีอาญา ข้อหาความผิดอันเกดจากการใช้เช็ค และ ข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา ผมขอหน่อยครับ ขอบคุณครับ

โดยคุณ นายอภินัน กันประดับ 5 ต.ค. 2555, 10:00

ความคิดเห็นที่ 12

ดิฉันอยากสอบถามหน่อยค่ะ เนื่องจากได้รับเช็คค่าสินค้ามา 1 ฉบับ จำนวนเงิน 189,390 บาทและนำไปขึ้นเงินที่ธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 11/5/12 และได้นำเช็คฉบับดังกล่าวพร้อมหลักฐานไปแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจเมื่อวันที่ 21/6/12 ซึ่งทางตำรวจได้ออกหมายเรียกไปแล้ว 2 ครั้ง และตอนนี้อยู่ระหว่างการออกหมายจับ อยากทราบว่าถ้าดิฉันจะฟ้องคดีอาญาไม่ทราบว่าจะฟ้องได้หรือไม่ เนื่องจากลูกหนี้ไม่ติดต่อมาเลย และค่าใช้จ่ายอยู่ประมาณเท่าไหร่ จะต้องใช้ทนายความยื่นฟ้องหรือทางตำรวจยื่นฟ้องได้

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ก้อย 29 ส.ค. 2555, 16:15

ความคิดเห็นที่ 11

ออกเช็คค้ำประกันงานก่อสร้างไว้จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

โดยคุณ ฝน 28 มี.ค. 2554, 09:00

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก