คำแนะนำในการจัดการมรดก|คำแนะนำในการจัดการมรดก

คำแนะนำในการจัดการมรดก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำแนะนำในการจัดการมรดก

ปัจจุบันมีคดีเกี่ยวกับเรื่องการจัดการมรดกเป็นจำนวนมาก สาเหตุเนื่องจากว่าในแต่ละวันจะมีคนแก่ตายตามอายุไข ถูกยิงตาย หรือเกิดอุบัติเหตุ

บทความวันที่ 3 เม.ย. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 16112 ครั้ง


                                                                                   คำแนะนำในการจัดการมรดก

 

            ปัจจุบันมีคดีเกี่ยวกับเรื่องการจัดการมรดกเป็นจำนวนมาก สาเหตุเนื่องจากว่าในแต่ละวันจะมีคนแก่ตายตามอายุไข ถูกยิงตาย หรือเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น เมื่อมีคนตาย คนตายจะมีทรัพย์สินและหนี้สินที่ฝากไว้หลังความตาย

 

            ตามกฎหมายเมื่อใครก็แล้วแต่ถึงแก่ความตายหนี้สินและทรัพย์สินจะตกเป็นของทายาทโดยอัตโนมัติโดยผลของกฎหมายไม่ว่าทายาทคนนั้นจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ต้องรับสภาพตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 แต่ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1601

 

            หลายคนมีความสงสัยว่า เมื่อญาติผู้ใหญ่ถึงแก่ความตายมักจะมีหนี้สินที่ฝากไว้ให้ลูกหลานใช้ต่อ หลายคนกลัวถูกยึดทรัพย์ หรือถูกทวงหนี้ซึ่งตัวเองไม่ได้เป็นคนก่อ จึงเกิดคำถามมากมายขึ้นว่า คนที่เป็นทายาทโดยธรรมจะปฏิเสธรับมรดกได้หรือไม่ เพราะมันไม่ใช่มรดกเงิน แต่มันเป็นมรดกแห่งหนี้สิน ทนายคลายทุกข์ตอบได้ทันทีว่า คุณไม่มีทางเลือก คุณต้องรับสภาพ เนื่องจากกฎหมายบังคับให้คุณต้องรับกรรม

 

            คำถามที่ตามมา ทายาทโดยธรรมคือใคร ตอบได้ทันทีว่า ทายาทที่ถูกระบุไว้มีทั้งหมด 6 ลำดับในป.พ.พ.มาตรา 1629 ซึ่งประกอบไปด้วยและมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังกันดังนี้

-          ผู้สืบสันดาน

-          บิดามารดา

-          พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

-          พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

-          ปู่ ย่า ตา ยาย

-          ลุง ป้า น้า อา

 

            ตามกฎหมายถ้าทายาทไม่อยากจะรับผิดแทนลูกหนี้ที่เป็นเจ้ามรดก ทนายคลายทุกข์อยากแนะนำว่า เมื่อได้รับหมายศาลในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรมของผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ ให้เดินทางไปศาลแล้วยื่นคำแถลงต่อศาลว่า เราเป็นทายาทที่ไม่มีความประสงค์ที่จะรับทรัพย์สินหรือหนี้สินของลูกหนี้ที่เป็นเจ้ามรดกให้ศาลบันทึกไว้

 

            เพราะเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ท่านในฐานะโดยธรรมต้องใช้หนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะยึดทรัพย์สินส่วนตัวของท่าน เนื่องจากการที่ท่านเป็นจำเลยตามคำพิพากษามิใช่ในฐานะส่วนตัว แต่ในฐานะทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 เท่านั้น

 

            ในกรณีที่ผู้ตายมีทรัพย์สินเงินทองมาก เมื่อถึงแก่ความตายคนที่เป็นทายาทตามพินัยกรรมหรือทายาทโดยธรรมหรือผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าหนี้ หรือคู่สัญญา หรือคนที่มีสิทธิตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดก สามารถที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอเป็นผู้จัดการมรดก ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1718 ตามมาตรา 1713

 

            เมื่อเป็นผู้จัดการมรดกแล้วก็เกิดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 และจะต้องทำบัญชีทรัพย์ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วัน และหลังจากนั้นต้องรวบรวมทรัพย์สินให้เสร็จสิ้นภายใน 1 เดือน ตาม มาตรา 1728,1729  นับแต่ศาลได้มีคำสั่ง และหากทำบัญชีทรัพย์ไม่เสร็จ ต้องขอให้ศาลขยายเวลาออกไป หากเพิกเฉยอาจถูกผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1727

 

            ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทในการกระทำของตนเองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1720 และถ้ามีการยักยอกทรัพย์หรือโกงทรัพย์มรดก ต้องถูกลงโทษทางอาญาถึงขั้นติดคุกติดตาราง

 

            ขอเตือนว่า เป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่เรื่องสนุกและไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จหรือค่าจ้างจากกองมรดก เว้นแต่พินัยกรรม หรือทายาทเสียงข้างมากจะได้กำหนดให้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1721 มีแต่เสียกับเสีย และหลายคนก็อยากจะเป็นผู้จัดการมรดกกันทั้งนั้น ดีหรือไม่ดีคิดกันเอาเอง             

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 50

อยากทราบว่าสามีดิฉันเสียชีวิต แต่เราไม่จดทะเบียนสมรสกัน แต่/มีบุตร1คน พ่อแม่สามีเสียชีวิตแล้ว และสามี มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน4คน ดิฉันยื่นเป็นผู้จัดการมรดกได้มั้ย มีลูกพี่ ลูกน้อง และน้าของสามีอ้างว่าค่ารักษาพยาบาลสามี และ ค่าผ่อนรถซึ่งจ่ายแทนสามีของดิฉันไป ทายาทจะต้องชดใช้หรือไม่ สามีดิฉันมีรถกระบะ1คัน รถเก๋งที่กำลังผ่อน1คันเหลือระยะผ่อน3ปี รถมอเตอร์ไซค์1คัน เงินในบัญชีรวม 80,000บาท

โดยคุณ สุดารัตน์ 19 ต.ค. 2560, 15:31

ความคิดเห็นที่ 49

 ค่าใช้จ่ายการจัดการมรดกแพงมัาค่ะพอดีจะทำเขาบอกว่าทนายเรียกหนึ่งหมื่นห้าพันบาทค่ะแพงจัง

โดยคุณ 25 ก.พ. 2560, 22:31

ความคิดเห็นที่ 48

สอบถามข้อมูลค่ะ กรณีบิดา-มารดาเสียชีวิตไปแล้ว 6 ปีแต่ยังไม่ได้จัดการแบ่งมรดกต้องดำเนินการเรื่องแบ่งมรดกยังไงบ้างคะเพราะลูกๆต่างแยกย้ายไปทำงานคนละจังหวัดเลยค่ะ  ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ชญาภา 4 ส.ค. 2559, 16:00

ความคิดเห็นที่ 47

สอบถามข้อมูลค่ะ กรณีบิดา-มารดาเสียชีวิตไปแล้ว 6 ปีแต่ยังไม่ได้จัดการแบ่งมรดกต้องดำเนินการเรื่องแบ่งมรดกยังไงบ้างคะเพราะลูกๆต่างแยกย้ายไปทำงานคนละจังหวัดเลยค่ะ  ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ชญาภา 4 ส.ค. 2559, 15:58

ความคิดเห็นที่ 46

 รบกวนสอบถามค่ะ...สามีเสียชีวิต และตัวเองได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกผู้เดียว ตั้งแต่ 17 มิ.ย. 2557 แต่เพิ่งทราบว่า สามีมีเงินคงค้างอยู่ในธนาคาร SCB  จำนวนหนึ่ง ธนาคารต้องการใบแต่งตั้งฯ ไม่เกินสามสิบวัน ...ดิฉันจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อค่ะ

ปล. ได้รับใบแต่งตั้งฯ ที่ศาลมีนบุรี แต่พอจัดการทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็พาลูก ๆ กลับมาอยู่บ้านเดิมที่ต่างจังหวัด ดิฉันสามารถติดต่อขอใบแต่งตั้งผู้จัดการมรดกใหม่หรืออัพเดทใบเก่า ที่ศาลในจังหวัดที่ดิฉันอยู่ได้ไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ สุนิสา 10 ก.ย. 2558, 13:54

ความคิดเห็นที่ 45

 รบกวนสอบถามครับ ในกรณีที่บิดาผมมีชื่ออยู่ในที่ดิน แต่ท่านเสียไปแล้ว และทางผมได้ยื่นเรื่องการขอเป็นผู้จัดการมรดก ศาลนัดไต่สวนแล้ว ผมอยากทราบว่าหลังจากที่ศาลไต่สวนเสร็จคำสั่งจะมีผลภายในกี่วันหากไม่มีผู้แย้งอ่ะครับ

โดยคุณ yuthapong 11 ส.ค. 2558, 10:23

ตอบความคิดเห็นที่ 45

หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 1716

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 30 ส.ค. 2558, 13:41

ความคิดเห็นที่ 44

หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 1716

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 30 ส.ค. 2558, 13:41

ความคิดเห็นที่ 43

 รบกวนด้วยค่ะ  น้าของหนูเป็นผู้จดการมรดก  และตอนนี้ย่ากับปู่เสีย  เขาบอกเขาเป็นผู้จัดการมรดก  เพราะฉะนั้นมรดกเป็นของเขาคนเดียว  หนูไปที่ดินสอบถามทางที่ดินบอกว่าเป็นชือน้าแล้ว เราทำไรไม่ได้เลย  จริงเหรอค่ะ  แล้วพี่น้องคนอื่นๆก็ไม่ได้มรดกสักนิดเลย  เขาไม่แบ่ง  เขาว่าของเขาคนเดียว  ทำไงดีค่ะ

โดยคุณ ภิญญา 22 เม.ย. 2558, 15:18

ความคิดเห็นที่ 42

 เรียนปรึกษาค่ะ

        ดิฉันไปขึ้นศาลผู้จัดการมรดกมาแล้ว หลังจากขึ้นศาลจะได้รับคำสั่งศาลเมื่อไหร่คะ

      ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ pik 9 เม.ย. 2558, 15:45

ตอบความคิดเห็นที่ 42

หากท่านเป็นคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีดังกล่าว หลังจากที่ศาลไต่สวนคดีร้องขอจัดการมรดกเสร็จแล้ว ศาลอาจมีคำสั่งในวันนั้นทันที แต่อาจยื่นคำแถลงขอคัดถ่ายคำสั่งได้ประมาณไม่เกิน 15 วันนับแต่วันที่ศาลไต่สวนคดีเสร็จ ทั้งนี้ ท่านอาจสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ศาลที่พิจารณาคดีนั้น

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 13 พ.ค. 2558, 15:54

ความคิดเห็นที่ 41

หากท่านเป็นคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีดังกล่าว หลังจากที่ศาลไต่สวนคดีร้องขอจัดการมรดกเสร็จแล้ว ศาลอาจมีคำสั่งในวันนั้นทันที แต่อาจยื่นคำแถลงขอคัดถ่ายคำสั่งได้ประมาณไม่เกิน 15 วันนับแต่วันที่ศาลไต่สวนคดีเสร็จ ทั้งนี้ ท่านอาจสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ศาลที่พิจารณาคดีนั้น

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 13 พ.ค. 2558, 15:54

ความคิดเห็นที่ 40

 ดีครับ

โดยคุณ ปัญหาเกิด 31 ม.ค. 2558, 23:26

ความคิดเห็นที่ 39

 เรียนปรึกษา

ดิฉันได้รับคำสั่งศาลจัดตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของมารดามาเมื่อเดือนปลายเดือนสิงหาคม 2557 ขณะนี้ยังมิได้ดำเนินการใดเพียงแค่ไปตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกไว้ที่กรมที่ดินแต่ทราบข่าวอย่างไม่เป็นทางการว่าทายาทที่ไม่ไม่ชอบดิฉันจะฟ้อง เรียนปรึกษาว่า 1. สามารถฟ้องได้หรือไม่มีระยะเวลาให้หรือไม่  2. ฟ้องด้วยสาเหตุใด

3. ดิฉันควรทำอย่างไรดี

ขอบพระคุณมากคะ

โดยคุณ ์Nut 2 ม.ค. 2558, 02:32

ตอบความคิดเห็นที่ 39

ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียคนใดสามารถร้องขอถอนผู้จัดการมรดกหรือฟ้องคดีจัดการมรดก โดยมิชอบได้เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1727, 1733
 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 23 ม.ค. 2558, 13:33

ความคิดเห็นที่ 38

ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียคนใดสามารถร้องขอถอนผู้จัดการมรดกหรือฟ้องคดีจัดการมรดก โดยมิชอบได้เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1727, 1733
 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 23 ม.ค. 2558, 13:33

ความคิดเห็นที่ 37

คุณตาของดิฉันได้เสียชีวิตลงประมาณสิบกว่าปีมาแล้ว แต่คุณตามีที่นาที่เป็นชื่อของคุณตาอยู่โดยยังไม่ได้จัดการแบ่งสรร หรือทำพินัยกรรมอะไรใดๆไว้ให้ลูกๆเลย และก่อนหน้าที่คุณตาจะเสียชีวิตคุณตาได้เอาที่นาผืนนี้ไปจำนองธนาคารไว้ แล้วอา(น้องชายของแม่ดิฉัน) ได้เป็นคนไปไถ่ถอนที่นาแปลงนี้มาจากธนาคารและนำที่นามาให้ผู้อื่นเช่าโดยอาเป็นผู้เก็บค่าเช่านาทุกปี(รายได้ทั้งหมดเป็นของอา) 

คำถาม:อยากทราบว่าถ้าจะแบ่งที่นาให้บรรดาพี่-น้อง (บุตรของคุณตา) ทำได้หรือไม่ แต่คุณอา(น้องของแม่)เขาไม่ยอม ซึ่งใบโฉนดที่นาก็อยู่กับเขาเขาบอกว่าจะให้ผู้อื่นเช่าโดยตนเองจะเป็นผู้รับรายได้จากการเช่าแต่เพียงผู้เดียว แล้วแบบนี้ถือว่าคุณอาผู้นี้เข้าข่ายยักยอกหรือปิดบังทรัพย์สมบัติที่ไม่ใช่ของตนเองหรือไม่ แล้วดิฉันควรจะทำอย่างไรดีคะ อยากรบกวนให้คำปรึกษาด้วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

โดยคุณ กรรณิกา 8 พ.ย. 2557, 16:46

ตอบความคิดเห็นที่ 37

กรณีตามปัญหาดังกล่าว ที่นามมรดกของตาย่อมตกทอดแก่บุตรทุกๆคนของตาโดยส่วนเท่าๆกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599, 1600, 1629 (1) และในระหว่างที่นายังไม่ได้แบ่งแยกกัน ถือว่าบุตรทุกคนของตาเป็นเจ้าของรวมแห่งที่นามรดก โดยบุตรคนหนึ่งๆมีสิทธิใช้สอยที่นามรดกได้ แต่การใช้นั้นต้องไปขัดต่อสิทธิแห่งบุคคลอื่นๆ ตามมาตร 1360 วรรคสอง

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 22 ธ.ค. 2557, 12:11

ความคิดเห็นที่ 36

กรณีตามปัญหาดังกล่าว ที่นามมรดกของตาย่อมตกทอดแก่บุตรทุกๆคนของตาโดยส่วนเท่าๆกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599, 1600, 1629 (1) และในระหว่างที่นายังไม่ได้แบ่งแยกกัน ถือว่าบุตรทุกคนของตาเป็นเจ้าของรวมแห่งที่นามรดก โดยบุตรคนหนึ่งๆมีสิทธิใช้สอยที่นามรดกได้ แต่การใช้นั้นต้องไปขัดต่อสิทธิแห่งบุคคลอื่นๆ ตามมาตร 1360 วรรคสอง

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 22 ธ.ค. 2557, 12:11

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก