ปรึกษาคดีเช่าซื้อ 02-948-5700|ปรึกษาคดีเช่าซื้อ 02-948-5700

ปรึกษาคดีเช่าซื้อ 02-948-5700

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปรึกษาคดีเช่าซื้อ 02-948-5700

ทนายคลายทุกข์ขอนำคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับคดีเช่าซื้อรถยนต์ที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อจะได้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง

บทความวันที่ 19 มี.ค. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 45261 ครั้ง


ฎีกาที่น่าสนใจ

ฎีกาที่สำคัญเกี่ยวกับคดีเช่าซื้อรถยนต์

 

ทนายคลายทุกข์ขอนำคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับคดีเช่าซื้อรถยนต์ที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อจะได้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง โดยผลของสัญญา หรือโดยผลของกฎหมาย

ฎีกาที่ 356/2548

  • เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะริบเงินค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อชำระมาแล้วก่อนเลิกสัญญา และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อ แต่ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 574
  • การกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้ากรณีตกลงจะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่ผู้ให้เช่าซื้อจนถึงวันที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับรถยนต์คืน หรือวันบอกเลิกสัญญา มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลชอบที่จะลดลงได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคแรก

ฎีกา 8011/2548

  • คู่สัญญาลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อไม่ครบถ้วน เพียงแห่งเดียวก็มีผลเป็นสัญญาเช่าซื้อที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องลงลายมือชื่อในเอกสารทุกแผ่น

ฎีกา 991/2548

  • สัญญาเช่าแบบลีสซิ่ง ผู้ให้เช่าให้คำมั่นจะขายทรัพย์ที่เช่าเมื่อครบสัญญาเช่าผู้เช่ามีสิทธิเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า หากมิได้ผิดข้อตกลงหรือเงื่อนไข
  • กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่ายังไม่ตกเป็นของผู้เช่าทันที
  • สัญญาลักษณะนี้จึงมิใช่สัญญาเช่าซื้อ
  • สัญญาเช่าซื้อ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อย่อมโอนไปยังผู้เช่าซื้อทันที
  • สัญญาเช่าแบบลีสซิ่งจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์

ฎีกา 4108/2540

  • สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 วรรคสอง

กรรมการโจทก์ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อไม่ครบถ้วนสัญญาเช่าซื้อจึงเป็นโมฆะ

ฎีกา 1703/2536

  • ผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาด้วยการนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ โดยไม่ได้ถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือผิดสัญญา
  • คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391
  • แม้ผู้เช่าซื้อค้างค่างวดอยู่ 3 งวดก่อนสัญญาเลิกกัน ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเลิกค่างวดที่ค้างชำระ

ฎีกา 2019/2531

  • สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยไม่มีการผิดสัญญา แต่ผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญญาเพราะไม่จัดการแก้ไขให้ทรัพย์ผู้ให้เช่าซื้ออยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเลิกสัญญา ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 ได้
  • ผู้ให้เช่าซื้อต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับจากผู้เช่าซื้อทั้งหมด
  • ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิได้รับค่าเช่าในระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่าซื้ออยู่
  • ก่อนคืนเงินค่าเช่าซื้อจึงต้องหักค่าเช่าออกจากจำนวนค่าเช่าซื้อที่ต้องคืน

ฎีกา 3149/2530

  • ผู้เช่าซื้อจะเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อไรก็ได้แต่ต้องส่งมอบรถยนต์คืนแก่ผู้ให้เช่าซื้อ
  • ถ้ายังไม่คืนรถ ถึงแม้จะบอกเลิกสัญญาก็ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 573

ฎีกา 356/2548

  • เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ศาลอาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายส่วนที่ขาดทุนเท่ากับค่างวดที่ค้างชำระก็ได้ ศาลจะลดลงก็ได้ ถ้ามองว่าสูงเกินไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก

ฎีกา 1496/2548

  • การกำหนดเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ผู้ให้เช่าซื้อจะเรียกจากผู้เช่าซื้อ เช่น เลิกสัญญาแล้วต้องชำระค่าเสียหายเท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ถึงแม้จะแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายก็ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ไม่เป็นโมฆะ ตามมาตรา 151 ใช้บังคับได้ แต่ถ้าสูงเกินไปถือเป็นเบี้ยปรับ ตามมาตรา 379

ฎีกา 2677/2547

  • เลิกสัญญาเช่าซื้อต้องให้เวลาผู้เช่าซื้อตามสมควร เช่น 1 เดือนเป็นต้น ถ้าไม่ให้เวลายังไม่ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดนัดผิดสัญญา
  • แม้จะมีข้อความว่าผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ทันที ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และไม่มีสิทธิยึดรถด้วย
  • ถ้าไปยึดรถคืนโดยไม่มีสิทธิถือว่าผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญญา
  • ผู้ให้เช่าซื้อรับเงินค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อซึ่งชำระไม่ตรงเวลาและไม่ได้เรียกร้องค่าปรับหรือค่าเสียหายถึงแม้จะจ่ายไม่ตรง ไม่ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระหนี้ ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิคิดค่าปรับในกรณีชำระหนี้ล่าช้าจากผู้เช่าซื้อ

ฎีกา 3842/2526

  • สัญญาระบุผิดนัดงวดเดียว บอกเลิกสัญญาได้ ใช้บังคับได้

ฎีกา 1195/2511 (ประชุมใหญ่)

  • เลิกสัญญาเช่าซื้อ , เรียกค่าสินไหมทดแทนได้เช่น ค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์ตามมาตรา 391 วรรค 3 เท่านั้น และ ถ้าคืนรถผู้เช่าซื้อรับผิดเฉพาะค่าเสียหายที่เกิดจากการใช้ทรัพย์โดยมิชอบเท่านั้น
  • ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ

ฎีกา 3668/2532

- ค่าขาดประโยชน์จากการที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้ใช้รถนั้นไม่ถือว่าเป็นหนี้ที่ค้างชำระ ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญา ถึงแม้จะกำหนดดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

ฎีกา 7812/2540

  • ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเพิกเฉยไม่ยอมส่งมอบรถคืน ทำให้ผู้ให้เช่าซื้อขาดประโยชน์ที่จะใช้รถ ผู้เช่าซื้อจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ให้เช่าซื้อ

ฎีกา 6184/2547

  • เมื่อเลิกสัญญาเช่าซื้อคู่สัญญาไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป ผู้ให้เช่าซื้อคงเรียกได้เฉพาะค่าเสียหายอันเนื่องมาจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น
  • ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่สามารถจะไปเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่ก่อนเลิกสัญญาได้

ฎีกา 210/2545

- คำพิพากษาที่ให้ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อผู้เช่าซื้อจะต้องส่งมอบรถในสภาพที่ใช้การได้ดี ถ้ารถไม่มีทะเบียนไม่ทราบว่าเป็นคันเดียวกับที่ศาลพิพากษาหรือไม่ หรือไม่ดูแลรักษาผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นโจทก์ไม่ยอมรับรถยนต์ โดยอ้างว่าผู้เช่าซื้อปฏิบัติชำระหนี้ไม่ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาและไม่อยู่ในสภาพใช้การได้ดี จึงมีเหตุผลและเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว

ฎีกา3744/2526

- เรียกค่าเสียหายจากการใช้รถยนต์บุบสลายมีอายุความ 6 เดือน ป.พ.พ. มาตรา 563

ฎีกา 2576/2546

- เรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถหลังสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ใช้อายุความทั่วไป 10 ปี

ฎีกา 3358/2530

- คดีเช่าซื้อไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง เรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระใช้อายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. 193/33 (6)

ฎีกา 1643/2546

- ฟ้องให้ชำระส่วนที่ขาดทุนโดยมิได้เรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ อายุความ 10 ปี ป.พ.พ. มาตรา 193/30

ฎีกา 2171/2536

- ผู้เช่าซื้อไม่คืนรถ ผู้ให้เช่าซื้อจึงชอบที่จะติดตามเอารถคืนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีอายุความ

ฎีกา 728/2529

- รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย ผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบ เพราะถือว่าเป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญา กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

ฎีกา 359/2509

- ผู้ค้ำประกัน 2 คน ผู้ค้ำประกันคนหนึ่งชำระหนี้แทนผู้เช่าซื้อแล้วรับช่วงสิทธิของผู้ให้เช่าซื้อไล่เบี้ยผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งได้กึ่งหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) , 296

ฎีกา 7812/2540

- เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญา เรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้เพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก

ฎีกา 1713/2546

- ถึงแม้ในสัญญาเช่าซื้อระบุให้คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อมีการผิดนัด เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว นำมาใช้ไม่ได้ เรียกดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมาตรา 224

ฎีกา 679/2540

- ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ชอบด้วยกฎหมายที่เช่าซื้อให้ผู้เช่าซื้อได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ หากทรัพย์สินที่เช่าซื้อดังกล่าวถูกเจ้าพนักงานยึดไปโดยสงสัยว่าจะเป็นทรัพย์สินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องรีบแจ้งเรื่องดังกล่าวแก่ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องรีบดำเนินการแสดงหลักฐานต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอริบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนจากเจ้าพนักงาน แล้วส่งมอบให้แก่ผู้เช่าซื้อโดยเร็ว มิฉะนั้น ถือว่าผู้ให้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อต้องชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ แก่ผู้เช่าซื้อ

ฎีกา 15/2522

- นำรถที่เช่าซื้อบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14/31 รถใช้กระทำความผิดต้องริบ ตาม ป.อ. มาตรา 35

ฎีกา 1346/2529

- ผู้ให้เช่าซื้อเพิกเฉยไม่บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อรถที่ใช้ในการกระทำความผิด หลังเกิดเหตุนานถึงสี่ปีเศษ แสดงว่ามีเจตนาจะได้รับค่าเช่าซื้อเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีสิทธิขอคืนของกลาง

ฎีกา 3720/2525

- ถ้าผู้ให้เช่าซื้อมิได้รู้เห็นเป็นใจในการนำรถไปใช้ในการกระทำความผิดของคืนได้

ฎีกา 3242/2531

- รถถูกกรมศุลกากรมีคำสั่งให้ริบโดยไม่มีการฟ้องคดี จะมาขอให้ศาลคืนโดยอาศัย ป.อ. มาตรา 36 ไม่ได้

ฎีกา 1865/2533

  • รถที่เช่าซื้อถูกยึดแต่ผู้ให้เช่าซื้อไม่บอกเลิกสัญญา แต่มาขอคืนของกลางถือว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้กระทำความผิดเชื่อว่ารู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดขอคืนไม่ได้

 

การพิสูจน์ความเสียหายในคดีเช่าซื้อ

  1. ในชั้นศาลต้องสืบให้ชัดเจน
  2. ค่าใช้ทรัพย์ค่าขาดประโยชน์ต้องมีพยานบุคคลที่เคยเช่ารถจากผู้อื่นหรือบุคคลมาขอเช่ารถยนต์มาเบิกความต่อศาลยืนยันเกี่ยวกับเรื่องค่าเช่า
  3. ค่าติดตามยึดรถยนต์ต้องมีหลักฐานการชำระเงินค่ายึดรถและผู้ยึดรถต้องมาเบิกความต่อศาล
  4. ความชำรุดบกพร่องหรือความเสียหายในตัวรถจะต้องมีภาพถ่ายที่เห็นชัดเจนมาส่งศาล บิลค่าซ่อมหรือค่าเปลี่ยนอะไหล่และต้องมีช่างมาเบิกความต่อศาล
  5. การลากจูงรถยนต์ที่เช่าซื้อเนื่องจากใช้การไม่ได้ต้องมีใบเสร็จค่าลากจูงมาส่งศาล

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 136

เราเช่าซื้อรถมา ส่งค่างวดได้ 1 เดือน แล้วรถหายประกันรถหายจ่าย76000 แต่ไฟแนสบอกว่าเราต้องจ่ายส่วนต่างอีก สามหมื่นสามพันกว่า ถ้าผ่อนจ่าย ตกที่ หกหมื่นหกพันกว่า ทั้งที่คิดดูแล้ว มันต่างแค่ หมื่นกว่าไม่เกินหมื่นห้าพัน อย่างนี้ควรทำอย่างไรดีคับ

โดยคุณ สิงห์เหนือ 16 ม.ค. 2561, 17:29

ความคิดเห็นที่ 135

ผมค้างค่างวดรถสองเดือนเข้าเดือนที่สามแต่ยังไม่ครบสามงวด  กำหนดส่งทุกวันที่แปดของเดือนทางธนาคารส่งพนักงานมาที่บ้านขู่จะมายึดรถนะครับ  แล้วผมจะส่งก่อนหนึ่งงวดคือวันที่สอง วันที่แปดก็ถึงจะครบสามงวด จะได้มัยครับ

โดยคุณ ชูชาติ 28 พ.ย. 2560, 21:08

ความคิดเห็นที่ 134

คือผมค้างค่าเช่าติดต่อกัน6งวดทางธนาคารยึดรถไปแล้วทีนี้ผมโทรติดต่อไปจะปิดค่างวดทั้งหมดทางธนาคารเค้าบอกว่าให้ปิดค่ารถไปเลย420000เค้าบอกว่าทางธนาคารมีสิทธ์ที่จะไม่ให้ส่งต่อบอกให้ผมหาบริษัทไฟแนนท์มาปิดแล้วให้ผมส่งทางไฟแนนท์เอา..กรณีแบบนี้ทางธนาคารมีสิทธ์ด้วยใช่มั้ยคับ

โดยคุณ สมพงษ์ 19 ต.ค. 2560, 04:15

ความคิดเห็นที่ 133

ผมเป็นผู้ค้ำประกัน แต่ก็จ่ายค่างวดมาตลอดจนมาถึงงวดที่ 31 32 33 ค้างจ่าย 3 งวด ต่อมาผมได้ไปราชการ จึงส่งเงินให้พ่อ ไปจ่ายงวดที่ 34 แต่พ่อไปจ่ายโดยเอาใบแจ้งหนี้ของโตโยต้าไป 7-11 แต่พนักงานบอกยิงบาร์โค้ด แล้วไม่อ่าน ประจวบกับใบของอีออน มาพอดี ซื้อมีสีแดงเหมือนกับโตโยต้า พ่อจึงเอาไปจ่าย งวดที่ 34 โดยที่พ่อไม่ได้เรียนหนังสือมา ก็คิดว่าจ่ายไปแล้ว หลังจากนั้น งวดที่ 35 ก็เอาสลิปเดิมไปจ่ายซ้ำ ในเดือนกรกฎาคม พอผมกับจากราชการมาในวันที่ 16 ก.ค. 60 จึงขอดูสลิป ปรากฎว่าจ่ายผิด วันที่ 17 ก.ค. มีพนักงานโทรมาว่าค้างชำระ 5 งวด ก็เลยอธิบายเหตุผลไป พนักงานเลยบอกว่าจ่าย ก่อน 3 งวดได้ไหม ผมตอบกับไปว่าไม่ไหว ขอจ่ายแค่ 2 งวดก่อนได้ไหมภายในอาทิตย์นี้คือระหว่างวันที่ 17-21 ก.ค. 60 และคุยจะให้อยู่งวดปกติ ในเดือนตุลาคม 60 เนื่องจากเงินบันผล สก.ออก พนักงานตอบตกลง โอเค จะทำบันทึกไว้ให้ วันที่ 18 ก.ค.60ผมก็จ่ายไป 2 งวด พอวันที่ 3 ส.ค. 60 มีพนักงานอีกคนโทรไปหาผม บอกค้าง 6 งวด ผมก็บอกไปว่าผมจ่ายไปแล้ว 2 งวด เขาก็บอกเงินไม่เข้า เลยขอดูสลิปที่จ่ายไป ผมก็ให้ดู แต่ก็เงียบไม่มีการตอบกลับ พอวันที่ 29 ส.ค.60 ได้รับหมายศาลรับฟ้องวันที่ 21 ส.ค.60 ผมก็อุ่นใจที่พนักงานรับปากตกลงโอเค แต่กลับมาฟ้อง ผมอยากปรึกษาว่าต้องทำยังไงครับ 

1.เงินที่ให้ผมจ่ายภายในวันที่ 17-21 แต่วันที่ 18 ผมจ่ายทำไมไม่เข้า 

2.รับปากตกลงโอเคแล้วทำไมกลับถึงฟ้องผม

3.ผมถ่ายสลิปให้ดูแล้วทำไมถึงเงียบไม่ตอบกลับว่าจะแก้ไขยังไงได้บ้าง

4.ผมบันทึกบทสนทนาไว้ที่คุยกันตกลงกัน


ผมอยากปรึกษาว่า ผมต้องทำยังไงครับ

ทางไฟแนนท์ก็บีบผมให้มีทางเลือกแค่ 3 ทาง

1 คืนรถ

2 ปิดบัญชี

3 ให้ประณีประนอม จ่ายยอดค้าง 30% (เป็นเงิน 180,000.-)แล้วผ่อนต่อเดือนละ12,×××.- (ปกติจ่ายเดือนล่ะ 8,290.-)

รถราคา 83×,×××.- ผมดาวน์ไป 300,000.- แต่ได้ส่วนลด 70,000.- จ่ายจริงแค่ 230,000.- และได้ผ่อนมาแล้ว 23×,×××.- จนมาถูกฟ้องในที่สุด 

(ยอดฟ้อง 58×,×××.- ) เงินผมสูญเปล่าทันที 


ต้องทำยังไงบ้างครับถ้าไกล่เกลี่ยกันไม่ได้ ผมเปิดแถลงการณ์เลื่อนนัดและแต่งทนายเข้ามาช่วยได้ไหมครับ ถ้าสู้มีสิทธิไหมครับตอนนี้เคลียดดมากเลยครับ 

โดยคุณ พงษ์พัฒน์ อัญญสิทธิโยธิน 11 ก.ย. 2560, 23:54

ความคิดเห็นที่ 132

 สอบถามเรื่องซื้อรถในนามนิติบุคคล มาใช้ในธุรกิจ แต่มีกรรมการที่ติดแบล็คลิสต์อยู่ด้วยจะซื้อได้หรือไม่ และถ้าได้เจ้าหนี้จะมายึดรถหรือไม่ค่ะ กรณีที่อาจจะซื้อสด หรือผ่อนนะค่ะ

โดยคุณ ณัฐนันท์ 17 พ.ย. 2559, 17:59

ตอบความคิดเห็นที่ 132

 สามารถซื้อได้แม้กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจะติดแบลกลิสต์อยู่ก็ตาม และเจ้าหนี้ไม่สามารถยึดรถของบริษัทได้ เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินของกรรมการซึ่งเป็นลูกหนี้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 271 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 23 พ.ย. 2559, 11:46

ความคิดเห็นที่ 131

 สามารถซื้อได้แม้กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจะติดแบลกลิสต์อยู่ก็ตาม และเจ้าหนี้ไม่สามารถยึดรถของบริษัทได้ เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินของกรรมการซึ่งเป็นลูกหนี้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 271 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 23 พ.ย. 2559, 11:46

ความคิดเห็นที่ 130

 ขอปรึกษาหน่อยครับ คือผมไปซื้อรถเก่งต่อจากเพื่อนแล้วผมต้องผ่อนดาวน์เดือนละ 10,000 +ค่างวดอีกเดือนละ 7000  ผ่อนมา 4 งวดแล้ว แต่ตอนนี้ผมตกงานแ้วจะคืนรถเค้าไป อยากทราบว่า ผมจะเรียกเงินที่ผ่อนดาวน์จากเจ้าของรถได้มั้ยคับ รบกวนหน่อยคับ

โดยคุณ จีระวัฒน์ 27 ต.ค. 2559, 14:24

ตอบความคิดเห็นที่ 130

 หากเป็นการชำระหนี้ที่ตนมีความผูกพันตามสัญญาและถูกต้องตามกฎหมาย เรียกคืนไม่ได้ครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 7 พ.ย. 2559, 13:38

ความคิดเห็นที่ 129

 หากเป็นการชำระหนี้ที่ตนมีความผูกพันตามสัญญาและถูกต้องตามกฎหมาย เรียกคืนไม่ได้ครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 7 พ.ย. 2559, 13:38

ความคิดเห็นที่ 128

 ขออนุญาตถามเพื่อความรู้ครับ เมื่อปี 2557 ผมได้ไปทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ แล้วทางโชว์รูมบอกให้รอรับรถ ต่อมาผมไปติดต่อธนาคารที่ จ.ตาก แต่ในวันนั้นได้มีคนไปรับรถออกไปโดยไม่บอกผมก่อนวันต่อมา บ.ได้โทรมาถามผมว่ารถใช้ดีใหม ผมงงเลยไปถามที่โชว์รูมเขาบอกว่าเพื่อนผมที่มาด้วยมารับรถไปแล้ว ผมเลยไปแจ้งความแต่ยังไม่ดำเนินการใดๆ เพราะเห็นว่าเป็นเพื่อน ต่อมาบริษัทแจ้งมาว่าผมค้างค่างวดจำนวน 6 งวดจะขอรับรถคืน ผมจึงไปถามเพื่อนที่เอารถไปว่ารถอยู่ไหน เขาตอบว่าเอาไปปล่อยเช่าแล้วโดนเชิดรถหนีไป ผมจะดำเนินการอย่างรัยดีครับถ้าผมโดนฟ้อง

โดยคุณ ธีรชัย ทวิบุตร 6 ต.ค. 2559, 08:20

ตอบความคิดเห็นที่ 128

 กรณีดังกล่าวแนะนำให้เข้าพบทนายความเพื่อช่วยเหลือทางคดีครับ เพราะท่านอาจถูกไฟแนนซ์ฟ้องคดี 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 31 ต.ค. 2559, 14:23

ความคิดเห็นที่ 127

 กรณีดังกล่าวแนะนำให้เข้าพบทนายความเพื่อช่วยเหลือทางคดีครับ เพราะท่านอาจถูกไฟแนนซ์ฟ้องคดี 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 31 ต.ค. 2559, 14:23

ความคิดเห็นที่ 126

 รบกวนครับเพื่อนผมซื้อรถมอเตอร์ไซค์มาผ่อนยังไม่หมด เพื่อนเสียชีวิต แล้วผมจะเป็นคนส่งค่างวดรถต่อได้ไหม จะต้องแจ้งหรือต้องเตรียมเอกสารอะไรกับใครบ้าง แล้วถ้าจะเปลี่ยนชื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นชื่อผมเองได้ไหม รึว่าต้องส่งหมดก่อนถึงจะโอนเปลี่ยนชื่อผมได้แล้วจะต้องเตรียมเอกสารและต้องติดต่อกับใครอะไรบ้าง

โดยคุณ ยิ่งยศ 4 ต.ค. 2559, 07:31

ความคิดเห็นที่ 125

 กรณีที่ซื้อรถยนต์ต่อจากบริษัทที่ทำงานโดยไม่ได้ทำสัญญาใดๆ และหักค่างวดจากเงินเดือน เดือนละ5,000 บาท แต่ส่งไปแค่100,000 บาท แล้วออกจากงานก่อนซึ่งยังจ่ายไม่ครบตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ และผู้ซื้อก็ไม่ยอมมาเจรจาเรื่องการผ่อนค่างวดที่ค้างอยู่ หลังจากที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานแล้ว โดยที่ผู้ซื้อได้เอารถคันนั้นไปด้วย บริษัทสามารถแจ้งความเรื่องยักหยอกทรัพย์สินบริษัทได้ใหมคะ แล้วระหว่างรถคนนี้ใครมีสิทธิ์ได้ครอบครองมากกว่ากันระหว่างผู้ซื้อกับบริษัทค่ะ

โดยคุณ การซื้อรถยนต์ต่อบริษัทที่ทำงานโดนไม่ได้ทำสัญญา 22 ก.ย. 2559, 23:21

ความคิดเห็นที่ 124

ช่วยให้คำตอบหน่อยนะคะ

คือแม่ออกรถจักรยานยนต์มาเมื่อปี2537ส่งไป2งวด และแม่ก็ไม่ได้ส่งเงินค่างวดรถอีกเลย แต่รถก็ไม่มีใครมายึดหรือเอกสารใดๆส่งมาที่บ้านเลยค่ะ จนกระทั่งปี2559นี้มีเอกสารให้เขารับสภาพหนี้และชำระหนี้เป็นจำนวนเงิน40,000กว่าๆเกือบ50,000บาท แบบนี้เราจะทำไงดีคะ  คดีมันหมดอายุความไปหรือยังคะ หนูจะทำอย่างไรดีคะ รบกวนตอบหนูด้วยนะคะ เพราะเขาบอกว่าจะฟ้องร้องแม่หนู หนูจะช่วยแม่ยังไงดี

โดยคุณ อริตา 22 ก.ย. 2559, 20:42

ความคิดเห็นที่ 123

 เพื่อนสนิทเคยเช่าซื้อรถมอเตอร์ไซต์ ยี่ห้อ ยามาฮ่า มีโอ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เอามาขับได้ประมาณ 3 เดือนก็เอาไปคืนบริษัทที่ซื้อรถมา ตอนไปคืน ทางบริษัทบอกว่าไม่ต้องทำอะไรอีก ถือว่าสัญญาจบกัน 3 ปีต่อมา ช่วงเดือนเม.ย.  59 จนท.จากบริษัท บัฟ โทรติดตามทวงถามให้ไปชำระหนี้จากที่ผิดสัญญา รวมเบี้ยปรับ 7 หมื่นกว่าบาท ทั้งๆ ที่ผานมาไม่เคยติดต่อมาเลย ตอนนี้โทรตามถึงญาติๆ ด้วย ไปหาที่บ้ทาจะให้พ่อเซนเอกสารเหมือนยอมรับเป็นหนี้ 

แบบนี้จะทำยังไงดีคะ คนหาเช้ากินค่ำ รายได้ต่อวันไม่ถึง 300 ด้วยซ้ำ

โดยคุณ อัง 9 ก.ย. 2559, 23:42

ความคิดเห็นที่ 122

ดิฉันได้ทำการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์โดยใช้ชื่อดิฉันเป็นผู้เช่าซื้อ ส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระในการเช่าซื้อแต่ละเดือนและสิทธิการใช้รถเป็นญาติที่สนิทกัน ปรากฎว่าในงวดสุดท้ายของการผ่อนชำระญาติได้ผิดสัญญาและไม่ชำระให้เป็นตามรอบ ซึ่งบริษัทไฟแนนซ์ก็ได้ทวงถามติดตามมาทางดิฉัน แต่ดิฉันไม่สามารถติดต่อเค้าได้ ดิฉันจึงจำเป็นต้องออกค่าผ่อนรถเดือนนั้นเอง และในเรื่องการโอนรถเนื่องจากเป็นเดือนสุดท้ายของการผ่อนชำระ และรถไม่ได้อยู่ที่ดิฉัน ดิฉันจึงควรจะทำอย่างไร หากไม่รับโอนได้หรือไม่เพียงแค่ส่งค่างวดรถสุดท้ายไป เพราะหากรับโอนมาเป็นชื่อดิฉัน ตัวรถก็ไม่ได้อยู่ที่ดิฉันจริงๆ หากเกิดอุบัติเหตุกับรถดิฉันก็ต้องมีความผิดหรือรับผิดชอบไปซึ่งเหตุก็ไม่ได้เกิดจากดิฉัน

โดยคุณ ืNatapeeporn 19 ส.ค. 2559, 14:13

ตอบความคิดเห็นที่ 122

 แนะนำให้ท่านชำระค่าเช่าซื้อให้หมดครับ เพื่อให้ผู้ให้เช่าซื้อโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นของท่าน และดำเนินการติดตามรถกลับมาให้ได้ครับ เพราะท่านเป็นเจ้าของรถ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 30 ส.ค. 2559, 11:13

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก