ผู้เช่าซื้อแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากไฟแนนซ์|ผู้เช่าซื้อแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากไฟแนนซ์

ผู้เช่าซื้อแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากไฟแนนซ์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผู้เช่าซื้อแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากไฟแนนซ์

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2565

บทความวันที่ 16 มิ.ย. 2566, 11:48

มีผู้อ่านทั้งหมด 984 ครั้ง


ผู้เช่าซื้อแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากไฟแนนซ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2565
         จำเลยยักยอกรถยนต์ของบริษัท ต.จาก  อ. โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อ  เมื่อในขณะเกิดเหตุกระทำความผิด โจทก์ร่วมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถที่เช่าซื้อ  การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายโดยตรง  ดังนั้น โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ โจทก์อำนาจฟ้อง
        จำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไป  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง  ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499  มาตรา 4  จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเพียงพอที่จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยกล่าวอ้างว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำได้  และเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้น  ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255 วรรคหนึ่ง  และมาตรา 252 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499  มาตรา 4
         ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองหรือไม่  โดยจำเลยฎีกาว่า คดีนี้เป็นเพียงการผิดสัญญาทางแพ่งระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลย  มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วมเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง  คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเพียงแต่ลดโทษจำคุกจำเลยลงเป็นจำคุก 2 ปี  ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี แต่ยังไม่เกิน 5 ปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย  ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218  วรรคหนึ่ง
        โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563  เวลากลางวัน จำเลยรับซื้อและครอบครองรถยนต์ ยี่ห้อโตโยต้า สีเทา หมายเลขทะเบียน 7 กฌ 133 กรุงเทพมหานคร  ราคา 569,000 บาท   ของบริษัทโตโยต้าลิสซิ่ง(ประเทศไทย) จำกัด จากนาย อ. ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อ ก่อนที่จะขายให้แก่จำเลยในลักษณะขายดาวน์  โดยผู้เสียหายส่งมอบรถยนต์ให้แก่จำเลยครอบครองในวันดังกล่าว  หลังจากที่จำเลยครอบครองรถยนต์ของผู้เสียหายถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2563  เวลากลางวันต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฎชัด  จำเลยเบียดบังยักยอกเอารถยนต์คันดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ของจำเลยหรือบุคคลอื่น  ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352  กับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน 569,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
         ระหว่างพิจารณา  นาย อ. ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์  ศาลชั้นต้นอนุญาต
         จำเลยให้การรับสารภาพ
         ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก  จำคุก 3 ปี   จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา   มีเหตุบรรเทาโทษ  ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 78  คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน  กับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน 399,724 บาท แก่โจทก์ร่วม
         จำเลยอุทธรณ์
         ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า ให่จำคุกจำเลย 2 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
         จำเลยฎีกา
        ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่  โดยจำเลยฎีกาว่า รถยนต์ที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท  โตโยต้าลิสซิ่ง (ประเทศไทย)จำกัด ไม่ใช่ของโจทก์ร่วม  โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริง  โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น  เห็นว่า ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย  ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้  แม้จะมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง  ประกอบมาตรา 225   และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง  พ.ศ.2499   มาตรา 4 ศาลฎีกาวินิจฉัยโดยเห็นว่า  เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความตามคำฟ้องซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพว่า จำเลยยักยอกรถยนต์ ยี่ห้อโตโยต้า สีเทา หมายเลขทะเบียน 7 กฌ 133 กรุงเทพมหานคร  ของบริษัท โตโยต้าลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จากนาย อ. โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อ  เมื่อในขณะเกิดเหตุกระทำความผิด โจทก์ร่วมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถที่เช่าซื้อดังกล่าว  การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายโดยตรง  โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย  และมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้  โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง  ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
         ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่   โดยจำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งไปแล้ว การที่โจทก์ร่วมนำมูลคดีแพ่งที่เคยพิพาทมาก่อนมาฟ้องเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการฟ้องซ้ำนั้น เห็นว่า แม้ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่  จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง  ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499  มาตรา 4 ก็ตาม  แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น  ดังนี้  หากจำเลยประสงค์ที่จะต่อสู้คดีว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำแล้ว  จำเลยต้องถามค้านพยานโจทก์และโจทก์ร่วมหรือนำพยานหลักฐานเข้าสืบในชั้้นพิจารณาให้ปรากฎข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวไว้  เพื่อให้ศาลฎีกานำข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นมาวินิจฉัยฎีกาของจำเลย  แต่คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไป  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง  พ.ศ.2499  มาตรา 4 จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ได้มาจากดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเพียงพอที่จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังที่จำเลยกล่าวอ้างได้  และเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น  ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งและมาตรา 252 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499  มาตรา 4 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มานั้น  เป็นการไม่ชอบ  ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
         ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายมีว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองหรือไม่  โดยจำเลยฎีกาว่า  คดีนี้เป็นเพียงการผิดสัญญาทางแพ่งระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลย มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วมนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง   เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเพียงแต่ลดโทษจำคุกจำเลยลงเป็นจำคุก 2 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี แต่ยังไม่เกิน 5 ปี  จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย  ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง  ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
#ทนายคลายทุกข์  #หนังสือมอบอำนาจ #แจ้งความร้องทุกข์ #ไฟแนนซ์ #ยักยอก
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470, 081-6252161 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

Excellent to the point article and news.. Well appreciated, My sites: american football philippines

โดยคุณ american football 4 ก.ค. 2566, 13:53

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก