เพิกถอนกลฉ้อฉล บุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่|เพิกถอนกลฉ้อฉล บุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่

เพิกถอนกลฉ้อฉล บุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เพิกถอนกลฉ้อฉล บุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่

  • Defalut Image

คดีนี้ ศาลสั่งเพิกถอนการโอนที่ดิน ระหว่าง น. ผู้โอน กับจำเลยที่ 1 ผู้รับโอน

บทความวันที่ 27 ส.ค. 2561, 16:03

มีผู้อ่านทั้งหมด 1918 ครั้ง


เพิกถอนกลฉ้อฉล บุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่


           คดีนี้ ศาลสั่งเพิกถอนการโอนที่ดิน ระหว่าง น. ผู้โอน กับจำเลยที่ 1 ผู้รับโอน แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินต่อไปยังจำเลยที่ 2 ภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องเพิกถอนการโอนแล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง    

คำพิพากษาฎีกาที่ 392/2561
            คดีก่อนโจทก์ฟ้องให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทของ น. ที่โอนให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของ น. เสียเปรียบ ซึ่งผลของคำพิพากษาทำให้การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น. และจำเลยที่ 1 ต้องถูกเพิกถอน และ น. ต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายเดิม ส่วนคดีนี้ โจทก์ฟ้องเพื่อให้เป็นไปตามผลของคำพิพากษาคดีก่อนซึ่งโจทก์ไม่อาจที่จะบังคับคดีในคดีก่อนได้ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไปแล้ว คดีนี้จึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อให้เพิกถอนการฉ้อฉล แต่เป็นการฟ้องคดีเพื่อให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทโดยมิชอบ เพราะจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนให้จำเลยที่ 2 ซึ่งได้สิทธิมาในภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีเดิมเพื่อให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 238 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 240 มาใช้บังคับได้ แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
           คดีเดิมโจทก์ฟ้อง น. และจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทที่ น. โอนให้จำเลยที่ 1 อันเป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์เสียเปรียบ คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ใช่คู่ความเดียวกันกับคดีเดิมทั้งหมด และเป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทที่ที่จำเลยที่ 1 โอนให้จำเลยที่ 2 เป็นการโอนละรายกัน และประเด็นแห่งคดีไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เพราะคดีเดิมมีประเด็นว่า น. โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 เป็นการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 มีอำนาจโอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ คดีนี้จึงไม่ใช่ฟ้องซ้ำกับคดีเดิม 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

         มาตรา 238 การเพิกถอนดังกล่าวมาในบทมาตราก่อนนั้น ไม่อาจกระทบกระทั่งถึง สิทธิของบุคคลภายนอก อันได้มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอน
    อนึ่ง ความที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าสิทธินั้นได้มาโดยเสน่หา

ปรึกษาข้อกฎหมายกับทีมทนายความ ทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700, 081-6161425
    

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก