ผู้เสียหายในคดีเบิกความเท็จในคดีแพ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่ความในคดีเสมอไป  |ผู้เสียหายในคดีเบิกความเท็จในคดีแพ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่ความในคดีเสมอไป  

ผู้เสียหายในคดีเบิกความเท็จในคดีแพ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่ความในคดีเสมอไป  

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผู้เสียหายในคดีเบิกความเท็จในคดีแพ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่ความในคดีเสมอไป  

  • Defalut Image

ถ้าบุคคลใดได้รับความเสียหายจากการเบิกความเท็จในคดีแพ่ง เป็นเหตุให้ตัวเองได้รับความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการเบิกความเท็จ

บทความวันที่ 31 ก.ค. 2561, 16:13

มีผู้อ่านทั้งหมด 1605 ครั้ง


ผู้เสียหายในคดีเบิกความเท็จในคดีแพ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่ความในคดีเสมอไป  


               ถ้าบุคคลใดได้รับความเสียหายจากการเบิกความเท็จในคดีแพ่ง เป็นเหตุให้ตัวเองได้รับความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการเบิกความเท็จ บุคคลนั้นก็เป็นผู้เสียหาย และมีอำนาจฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4) และมาตรา 28(2)  อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 6092/2559

คำพิพากษาที่อ้างอิง
คำพิพากษาฎีกาที่ 6092/2559

    การไต่สวนมูลฟ้องเป็นกระบวนไต่สวนของศาลเพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (12) จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์เท่านั้น ยังไม่เกี่ยวกับจำเลย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง ก็ย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาต่อไปว่าคดีโจทก์มีมูลพอที่ศาลจะประทับรับฟ้องไว้พิจาณาได้หรือไม่ แต่ศาลอุทธรณ์กลับยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ แสดงว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายดังกล่าวยังอยู่ในกระบวนการในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ ยังไม่เกี่ยวกับจำเลยหรือมีผลผูกพันจำเลยในชั้นพิจารณา ปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายหรือไม่จึงยังไม่ยุติ
    แม้โจทก์คดีนี้ไม่ได้เป็นคู่ความหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ม.1012/2549 ของศาลแพ่งก็ตาม แต่หากจำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งดังกล่าวเป็นเหตุให้ศาลฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 12410 และพิพากษาขับไล่บริวารของโจทก์ ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินต้องเสียสิทธิใช้สอยในที่ดินดังกล่าวไปเช่นนี้ โจทก์ย่อมเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการเบิกความอันเป็นเท็จของจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(4) และมาตรา 28(2) การที่จำเลยเบิกความต่อศาลแพ่งในคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ พ. เป็นจำเลยตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ม.1012/2549 ของศาลแพ่ง ว่าจำเลยซื้อที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 12410 จาก ด. และ ก. ในราคา 5,700,000 บาท เป็นการเบิกความเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทซึ่งเป็นข้อแพ้ชนะกัน ถือว่าเป็นข้อสำคัญในคดี เมื่อการเบิกความนั้นเป็นเท็จ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคแรก 

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2
 ในประมวลกฎหมายนี้
(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

มาตรา 28  บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล
(2) ผู้เสียหาย

สอบถามข้อกฎหมาย 081 616 1425 หรือ 02 948 5700 
#ทนายคลายทุกข์

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก