การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม |การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม 

การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม 

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม 

  • Defalut Image

การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม  เช่น การนำภาพตัดต่อของคุณฟ้า

บทความวันที่ 3 เม.ย. 2561, 17:02

มีผู้อ่านทั้งหมด 813 ครั้ง


การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม 

            การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม  เช่น การนำภาพตัดต่อของคุณฟ้า มาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตเป็นความผิดตาม รัฐธรรมนูญ หมวดสิทธิเสรีภาพ มาตรา 32 ที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลบุคคลใดจะนำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าในทางใดๆจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและผิดกฎหมายทางแพ่ง มาตรา420 ละเมิด และทางอาญา มาตรา 328 หมิ่นประมาท ไม่จำเป็นต้องระบุ ตัวผู้ที่ถูกใส่ความว่าเป็นใคร หากเป็นที่เข้าใจได้ว่า หมายถึงบุคคลใด หรือทราบได้ว่าหมายถึงผู้ใดก็อาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้วครับ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 5918/2557 และคำพิพากษาฎีกาที่ 1513/2531)
             มีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อกฎหมาย 081 625 2161 หรือ 02 948 5700 อย่าส่งเสริมให้มีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5918/2557
              ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328 นั้น จะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคล ผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ 
            เมื่ออ่านข้อความตามที่โจทก์กล่าวอ้างโดยตลอดแล้ว ไม่มีตอนใดระบุว่าเป็นโจทก์ร่วม หรือทำให้เข้าใจว่าหมายถึงโจทก์ร่วม การที่โจทก์นำข้อความที่ลง พิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับลงวันที่ 4,6,7,8,9,17,19 20 และ 21 มิถุนายน 2546 มารวมเข้าด้วยกันแล้วสรุปว่าเป็นการ หมิ่นประมาทโจทก์ร่วมนั้น ก็เป็นเพียงความเข้าใจของโจทก์ร่วมเท่านั้น หาใช่เป็นความเข้าใจของบุคคลทั่วไปไม่ บุคคลทั่วไปที่อ่านข้อความย่อม ไม่ทราบหรือเข้าใจได้ว่าข้อความที่โจทก์และโจทก์ร่วมอ้างมานั้น หมายความถึงผู้ใด และเป็นเรื่องจริงตาที่ลงพิมพ์หรือไม่ หากต้องการ รู้ความหายถึงผู้ใดก็ต้องไปสืบเสาะหาเพิ่มเติม ทั้งไม่แน่ว่าหลังจากสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมแล้วจะเป็นตัวโจทก์ร่วมจริงหรือไม่ และในกรณี ที่ทำการสืบเสาะค้นหาแล้วจึงทราบว่าหมายความถึงโจทก์ร่วมก็เป็นการ ทราบจากการที่บุคคลนั้นได้สืบเสาะค้นหาข้อเท็จจริงมาเองในภายหลังหาได้ทราบโดยอาศัยข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามคำฟ้องไม่ เมื่อโจทก์ร่วมยึดถือความรู้สึกนึกคิดของตนเองเป็นสำคัญทั้ง ๆ ที่บุคคลทั่วไปมิได้มีการรับรู้หรือเข้าใจในข้อความดังกล่าวว่าเป็นตัวโจทก์ร่วม 
            การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมตามฟ้อง

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก