ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งไม่ฟ้องคดีของอัยการ เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ ผิดกฎหมาย|ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งไม่ฟ้องคดีของอัยการ เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ ผิดกฎหมาย

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งไม่ฟ้องคดีของอัยการ เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ ผิดกฎหมาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งไม่ฟ้องคดีของอัยการ เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ ผิดกฎหมาย

  • Defalut Image

คำพิพากษาฎีกาที่ 3509/2549

บทความวันที่ 12 มี.ค. 2561, 15:15

มีผู้อ่านทั้งหมด 788 ครั้ง


ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งไม่ฟ้องคดีของอัยการ เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ ผิดกฎหมาย

คำพิพากษาฎีกาที่ 3509/2549
           การวินิจฉัยสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีของพนักงาน อัยการมิใช่เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ดั่งเช่นกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแต่เป็นเพียงการวินิจฉัย"มูลความผิดตามที่กล่าวหาเท่านั้น"ซึ่งเกณฑ์การวินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการที่วินิจฉัยสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาคือมีเหตุผลอันสมควรเพียงพอหรือไม่ที่จะนำตัวผู้ต้องหาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา"เพื่อให้ศาลวินิจฉัยขั้นสุดท้ายว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่"
              ดังนั้นการใช้ ดุลยพินิจ สั่งคดีของจำเลย ที่มีคำสั่งไม่ฟ้อง บริษัทส. และป. ทั้งที่หนังสือพิมพ์ซึ่งบริษัทส.เป็นเจ้าของและ ป.เป็นบรรณาธิการลงข้อความเป็นความเท็จและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในกรณีนี้เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจจึงเกินล้ำออกนอกขอบเขต ของความชอบด้วยกฎหมายและในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง จำเลยย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ  การใช้ดุลพินิจผิดกฎหมาย  ในกรณีเช่นนี้จำเลยเห็นอยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบและยังเห็นได้อีกว่า จำเลยเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายอีกครั้งเพื่อจะช่วยบริษัทส. และป.มิให้ต้องโทษจากการกระทำความผิดของตนอีกด้วยจำเลยจึงมีความผิดตามปอมาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคหนึ่งการที่จำเลยใช้อำนาจในฐานะอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์โดยมิชอบผลของการกระทำของจำเลยคือโจทย์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมายดังนั้นโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของจำเลยโดยตรงโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก