ข้อกฎหมายเกี่ยวกับคดีเบิกความเท็จที่ควรรู้|ข้อกฎหมายเกี่ยวกับคดีเบิกความเท็จที่ควรรู้

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับคดีเบิกความเท็จที่ควรรู้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับคดีเบิกความเท็จที่ควรรู้

  • Defalut Image

1. การเบิกความหมายถึงการกระทำของพยาน คือการให้ถ้อยคำต่อศาลในฐานะพยาน

บทความวันที่ 6 มี.ค. 2561, 11:26

มีผู้อ่านทั้งหมด 2216 ครั้ง


ข้อกฎหมายเกี่ยวกับคดีเบิกความเท็จที่ควรรู้

1. การเบิกความหมายถึงการกระทำของพยาน คือการให้ถ้อยคำต่อศาลในฐานะพยาน การแถลงต่อศาล มิได้กระทำในฐานะพยานแม้เป็นความเท็จก็ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จฎีกาที่ 8660/2551
2. ความผิดฐานเบิกความเท็จ กฎหมายมุ่งหมายอยู่ที่ความเท็จนั้นต้องเป็นข้อสำคัญในคดี แม้มิได้สาบานก่อนเบิกความก็ผิดฐานเบิกความเท็จ ฎีกาที่ 130/2508
3. ในชั้นสอบสวนผู้ต้องหาจะให้การหรือไม่ให้การอย่างใดก็ได้ตามมาตรา 134 แม่ให้การเท็จต่อพนักงานสอบสวน ก็ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา 137 มาตรา 172 หรือมาตรา 173 แต่ถ้าผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้วและอ้างตนเองเป็นพยานหากเบิกความเท็จในศาลมีความผิดฐานเบิกความเท็จได้ ฎีกาที่ 390/2491 ฎีกาที่ 224/2532
4. ข้อสำคัญในคดีแพ่งหมายถึงข้อเท็จจริงที่มีผลให้ศาลพิพากษาให้แพ้หรือชนะคดี และต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีตามที่ศาลกำหนดประเด็นพิพาทไว้ในชั้นชี้สองสถานหรือประเด็นตามคำฟ้องหรือคำให้การจึงจะเป็นข้อสำคัญในคดีคำเบิกความนอกประเด็น ไม่มีผลทำให้คดีแพ้ชนะไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีอ้างอิงฎีกาที่ 8691/2550 และฎีกาที่ 4498/2539
5. เบิกความตามคำบอกเล่าของผู้อื่นจะเป็นจริงหรือไม่จำเลยไม่ยืนยันไม่ผิดฐานเบิกความเท็จ ฎีกาที่ 272/2541
6. การฟ้องข้อหาเบิกความเท็จไม่จำต้องรอให้คดีที่จำเลยเบิกความเท็จพิพากษาเสียก่อนฎีกาที่ 3091/2533
7. ผู้ต้องหาจะให้การอย่างไรก็ได้ตามมาตรา 134 แต่กรณีผู้ต้องหาทำพยานหลักฐานเท็จ เป็นความผิดตามมาตรา 179 ฎีกาที่ 539/2479
8. ทำลายทรัพย์สินของตนเองโดยการใช้ท่อนไม้ทุบรถจักรยานยนต์ของจำเลยแล้วไปแจ้งความว่าถูกปล้นทรัพย์มีความผิดฐานทำพยานหลักฐานเท็จตามมาตรา 179 อ้างอิงฎีกาที่ 5449/2540
สอบถามข้อกฎหมาย 02 948 5700 หรือ www.decha.com สนใจการเข้าร่วมสัมมนากฎหมายทวงหนี้และเทคนิคการทวงหนี้ ในวันที่ 31 มีนาคม 2561 ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ครัชดาภิเษกติดต่อได้ที่สำนักงานนะครับ

คำพิพากษาฎีกาอ้างอิง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8660/2551

องค์ประกอบความผิดฐานเบิกความเท็จ ต้องเป็นการเบิกความเท็จในกระบวนพิจารณาที่กระทำโดยศาลในคดีที่ต้องฟังคำพยานเพื่อวินิจฉัยประเด็นตามอำนาจหน้าที่ และการเบิกความหมายความถึงการกระทำของพยานบุคคล มิได้หมายความถึงคำแถลงหรือคำให้การในฐานะคู่ความหรือของผู้อื่น ที่ไม่ได้กระทำในฐานะพยาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 59 การนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้คู่กรณีตรวจสอบความถูกต้องของข้อเท็จจริงที่ตุลาการเจ้าของสำนวนได้สรุปและส่งสรุปข้อเท็จจริงนั้นให้คู่กรณีทราบล่วงหน้าก่อนการนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก การกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้เบิกความแถลงในวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ก็เป็นการยืนยันหรือหักล้างเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อเท็จจริงที่ตุลาการเจ้าของสำนวนได้สรุปและส่งให้คู่กรณีทราบล่วงหน้า เป็นการกระทำในฐานะที่เป็นโจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายหนึ่ง มิได้กระทำในฐานะพยานบุคคล การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2508
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 มิได้วางเกณฑ์องค์ประกอบความผิดไว้ว่า พยานที่เบิกความเท็จนั้นจะต้องได้สาบานหรือปฏิญาณตัวแล้วด้วยจึงจะมีความผิดดังเช่นในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 155ความมุ่งหมายอันเป็นสารสำคัญของมาตรา 177 อยู่ที่จะเอาผิดกับผู้เบิกความในข้อสำคัญแห่งคดีด้วยความเท็จเป็นสำคัญเพราะการเบิกความเท็จต่อศาลย่อมมีส่วนทำให้เสื่อมเสียความยุติธรรมได้
 
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2532
ในคดีก่อน จำเลยถูก ฟ้องในข้อหาขับรถยนต์ โดยประมาทชนรถยนต์ที่ผู้เสียหาย (โจทก์คดีนี้) ขับสวนทางมา เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส และมีบุคคลอื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายบาดเจ็บ การที่จำเลยเบิกความในคดีก่อนว่า ผู้เสียหายขับรถยนต์ ชนรถยนต์ ที่จำเลยขับในช่องทาง เดินรถของจำเลย มีพวกผู้เสียหายเก็บเศษกระจกและเศษไม้จากช่องทาง เดินรถของจำเลยไปไว้ในช่องทาง เดินรถของผู้เสียหาย เท่ากับเบิกความว่า เหตุที่รถยนต์ชนกันเป็นความผิดของผู้เสียหาย มิใช่ความผิดของจำเลยซึ่ง เป็นประเด็นโดยตรงของคดีก่อนที่ว่าจำเลยขับรถยนต์ โดยประมาทหรือไม่ข้อความที่จำเลยเบิกความจึงเป็นข้อสำคัญในคดี แม้จำเลยจะมีสิทธิในการต่อสู้ คดีและจะให้การอย่างไร หรือไม่ยอมให้การในคดีก่อนก็ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172 ก็ตาม แต่ ในชั้น พิจารณาคดีดังกล่าว ตัว จำเลยได้ เข้าเบิกความในคดีฐานะ พยานซึ่ง เป็นอีกฐานะ หนึ่งต่างหากจากการเป็นตัว จำเลย หากคำเบิกความของจำเลยเป็นเท็จจำเลยก็ต้อง มีความผิดฐาน เบิกความเท็จ จะยกเอาสิทธิในการต่อสู้ คดีของจำเลยมาอ้างเพื่อยกเว้นความรับผิดฐาน เบิกความเท็จหาได้ไม่.

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8691/2550
ความเท็จที่จะถือว่าเป็นข้อสำคัญในคดีต้องเป็นความเท็จที่อาจทำให้คู่ความต้องแพ้ชนะกันในประเด็นแห่งคดี คดีแพ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ร่วมหรือไม่ การที่จำเลยเบิกความว่าจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกัน และลายมือชื่อผู้ค้ำประกันตามสัญญาดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยนั้น ย่อมเป็นการเบิกความเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทอันเป็นข้อแพ้ชนะคดีกรณีจึงเป็นข้อสำคัญในคดี เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคำเบิกความนั้นเป็นเท็จ ดังนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177
 
5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2539
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของซ. เป็นคดีแพ่งให้ชำระเงินตามเช็คที่ซ. ได้สั่งจ่ายให้โจทก์ไว้ก่อนถึงแก่กรรมเป็นกรณีที่ศาลจะพิจารณาและวินิจฉัยในประเด็นสำคัญแต่เพียงว่าซ. เจ้ามรดกนำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดจากโจทก์และยังไม่ได้ชำระหนี้ตามเช็คและซ. จะต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คหรือไม่เท่านั้นดังนั้นในส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของซ.ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์มีอยู่แค่ไหนเพียงใดย่อมเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในชั้นบังคับคดีแม้ข้อความที่จำเลยเบิกความตอบคำถามค้านของโจทก์เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของซ. จะเป็นความเท็จหรือไม่ก็ตามก็มิได้ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปและในคดีดังกล่าวศาลก็มิได้หยิบยกเอาคำเบิกความของจำเลยมาวินิจฉัยให้เป็นผลแพ้ชนะคดีคำเบิกความของจำเลยจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีจำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา177
 
6. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2533
การฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองเบิกความเท็จหาจำต้องรอให้ศาลพิพากษาคดีที่จำเลยเบิกความเท็จเสียก่อนไม่ เพราะความผิดเกิดตั้งแต่ จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อ ศาลในคดีนั้นแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสองแถลงหมดพยานบุคคล และขอให้ศาลชั้นต้นเดิน เผชิญสืบบ้านพิพาท โจทก์แถลงคัดค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่มีความจำเป็น แต่ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้ทนายของคู่ความถ่าย ภาพบ้านพิพาททั้งสองหลังส่งศาลแสดงว่าจำเลยทั้งสองพอใจคำสั่ง ศาลชั้นต้น และไม่ติดใจขอให้ศาลชั้นต้นเดิน เผชิญสืบบ้านพิพาท การที่ศาลจะไปเดินเผชิญสืบหรือไม่เป็นดุลพินิจ ของศาล การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2แสดงว่าบ้านพิพาทไม่ได้เป็นส่วนควบกับบ้านเลขที่ 75 อยู่ในตัวถือได้ ว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นเรื่องส่วนควบแล้ว.

7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2479
จำเลยบังอาจลอบเอาแหวนซุกใส่ในกระเป๋าเจ้าพนักงานซึ่งเข้าไปทำการตรวจค้นที่บ้านจำเลยโดยสงสัยว่าจะมีของต้องห้าม ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการใส่เท็จทำพะยานเพื่อให้เห็นว่าเจ้าพนักงานลักทรัพย์ดังนี้ จำเลยต้องมีผิดตามม.159 แต่ไม่มีผิดตาม ม.157 ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.192 วิธีพิจารณาอาญาตัดสินไม่เกินคำขอ เมื่อโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยเพียงฐานพยายาม แม้จะปรากฎว่าเป็นความผิดสำเร็จ ศาลก็ลงโทษได้เพียงเท่าที่โจทก์ขอ

8.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2540
จำเลยเป็นพนักงานเก็บเงินของบริษัทผู้เสียหายเก็บเงินจากลูกค้าแล้วยักยอกไปโดยจำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายใช้อาวุธปืนและมีดจี้บังคับปล้นเอาเงินจำนวน 74,320 บาท ซึ่งเป็นของผู้เสียหายและบางส่วนเป็นของจำเลยไป โดยไม่มีการปล้นทรัพย์เกิดขึ้น แต่จำเลยทำพยานหลักฐานเท็จด้วยการใช้ท่อนไม้ทุบรถจักรยานยนต์ของจำเลยและแจ้งข้อความเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่าได้มีการปล้นทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา แจ้งความเท็จว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก