ป.วิพ. มาตรา 142 มิได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำฟ้องทั้งหมด|ป.วิพ. มาตรา 142 มิได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำฟ้องทั้งหมด

ป.วิพ. มาตรา 142 มิได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำฟ้องทั้งหมด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ป.วิพ. มาตรา 142 มิได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำฟ้องทั้งหมด

  • Defalut Image

ถ้าเห็นว่าประเด็นใดแม้วินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป

บทความวันที่ 4 มี.ค. 2561, 10:50

มีผู้อ่านทั้งหมด 1473 ครั้ง


ป.วิพ. มาตรา 142 มิได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำฟ้องทั้งหมด

            ป.วิพ. มาตรา 142 มิได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำฟ้องทั้งหมด ถ้าเห็นว่าประเด็นใดแม้วินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยได้อันเป็นการใช้อำนาจทั่วไปของศาล  อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 5657/2544 คำพิพากษาฎีกาที่ 1047/2546

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5657/2544
             ป.วิ.พ. มาตรา 142 ที่บัญญัติห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏ ในคำฟ้อง เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามอนุมาตรา (1) ถึง (6) เป็นการกำหนดขอบเขตของการวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาล ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยตามประเด็นปัญหาที่ศาลได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถาน แต่มิได้บังคับ เด็ดขาดว่าศาลจำต้องวินิจฉัยประเด็นปัญหาดังกล่าวทั้งหมด หากศาลเห็นว่าประเด็นปัญหาใดแม้วินิจฉัยให้ ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยในประเด็นปัญหาดังกล่าว อันเป็นอำนาจทั่วไปของศาล
           ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อีก การใช้ดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบด้วยมาตรา 142 และ 131 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2546
            การวินิจฉัยคดี เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรที่จะหยิบยกประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งข้อใดขึ้นวินิจฉัยก่อน ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจกระทำเช่นนั้นได้ และเมื่อได้วินิจฉัยประเด็นข้อใดแล้วมีผลให้คดีเสร็จไปแล้วก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามที่จำเลยให้การต่อสู้ย่อมเท่ากับคำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบเนื่องจากเสนอเข้ามาโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจประเด็นต่าง ๆ ตามคำฟ้องที่ไม่ชอบย่อมเป็นอันตกไปทั้งสิ้น ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้อีก
           จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะประเด็นตามอุทธรณ์และฎีกาของจำเลยมิได้มีผลเกี่ยวกับทุนทรัพย์ในคดี จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เพียงชั้นศาลละ 200 บาทเท่านั้น

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก