การที่เจ้าหนี้ตกลงให้ลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้โดยไม่มีการยึดทรัพย์สิน|การที่เจ้าหนี้ตกลงให้ลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้โดยไม่มีการยึดทรัพย์สิน

การที่เจ้าหนี้ตกลงให้ลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้โดยไม่มีการยึดทรัพย์สิน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การที่เจ้าหนี้ตกลงให้ลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้โดยไม่มีการยึดทรัพย์สิน

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2553

บทความวันที่ 18 ก.พ. 2561, 14:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1373 ครั้ง


รู้กฎหมายกับทนายคลายทุกข์

              การที่เจ้าหนี้ตกลงให้ลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้โดยไม่มีการยึดทรัพย์สิน หรือฟ้องร้องและมีข้อตกลงทำนองว่าจะไม่ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างผ่อนชำระ ก็ไม่ได้เป็นเหตุให้ลูกหนี้ทำนิติกรรมให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 1951/2553

คำพิพากษาศาลฎีกาที่อ้างอิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2553
        จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่ามีหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ทุกเดือน และในระหว่างผ่อนชำระโจทก์จะไม่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ย่อมรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบไม่อาจบังคับชำระหนี้ได้ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่โจทก์จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยังไม่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่ผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์นั้น ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 สามารถทำนิติกรรมใดอันจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการฉ้อฉล

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก