การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะ ไม่ใช่การเพิกถอนการฉ้อฉล|การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะ ไม่ใช่การเพิกถอนการฉ้อฉล

การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะ ไม่ใช่การเพิกถอนการฉ้อฉล

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะ ไม่ใช่การเพิกถอนการฉ้อฉล

  • Defalut Image

การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะ ไม่ใช่การเพิกถอนการฉ้อฉล ลูกหนี้และบุคคลอื่นสมคบการโอนทรัพย์สิน

บทความวันที่ 13 ก.พ. 2561, 11:20

มีผู้อ่านทั้งหมด 2980 ครั้ง


การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะ ไม่ใช่การเพิกถอนการฉ้อฉล

รู้กฎหมายกับทนายคลายทุกข์ การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะ ไม่ใช่การเพิกถอนการฉ้อฉล ลูกหนี้และบุคคลอื่นสมคบการโอนทรัพย์สินเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ โดยมิได้มีการซื้อขายกันจริงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันตามมาตรา 155 วรรคหนึ่ง สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะมิใช่เป็นการฟ้องเพิกถอนฉ้อฉลตามมาตรา 237 อ้างอิงฎีกาที่ 2041/2547

คำพิพากษาศาลฎีกาอ้างอิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2547

            จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยได้มีการส่งมอบที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองเข้าซ่อมแซมครอบครองตลอดมา อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน ข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงมีผลผูกพันบังคับต่อกันได้แล้ว
           จำเลยทั้งสองสมคบกันจดทะเบียนโอนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่มีการชำระเงินกันจริง จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง การแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองในทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 ก็ได้ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อใดก็ได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองมิใช่การฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก