หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีทำไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ|หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีทำไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ

หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีทำไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีทำไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ

  • Defalut Image

หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีทำไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ สามารถแก้ไขข้อบกพร่องโดยส่งหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ให้ถูกต้องได้

บทความวันที่ 5 ม.ค. 2561, 10:50

มีผู้อ่านทั้งหมด 1723 ครั้ง


หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีทำไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ สามารถแก้ไขข้อบกพร่องโดยส่งหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ให้ถูกต้องได้  เทียบเคียงฎีกาที่ 2463/2517

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2517
           บริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทน โดย ส.กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท เป็นผู้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจตามภาพถ่ายท้ายฟ้องซึ่งไม่ได้ประทับตราบริษัทก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ ส. ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้สัตยาบันในการที่ บ. ฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์ พร้อมทั้งขอส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจอันมีตราของบริษัทประทับถูกต้องมาด้วย โดยชี้แจงประกอบว่าภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องได้เอาฉบับที่ไม่มีตราประทับส่งมาโดยความเข้าใจผิดของ บ. การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในทางแพ่งนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็คงให้ถือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั่นเอง การที่ ส. กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการที่ บ. ฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์พร้อมทั้งขอส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจอันมีตราของบริษัทประทับถูกต้องและชี้แจงประกอบด้วย ย่อมเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในการมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งห้ามไว้แต่ประการใด เมื่อพิจารณามาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยแล้ว ศาลชอบที่จะพึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวนี้ได้ บ. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1780/2493)

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก