ตัวแทนฟ้องคดีโดยปราศจากอำนาจถือว่าไม่มีอำนาจมาแต่แรก|ตัวแทนฟ้องคดีโดยปราศจากอำนาจถือว่าไม่มีอำนาจมาแต่แรก

ตัวแทนฟ้องคดีโดยปราศจากอำนาจถือว่าไม่มีอำนาจมาแต่แรก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตัวแทนฟ้องคดีโดยปราศจากอำนาจถือว่าไม่มีอำนาจมาแต่แรก

  • Defalut Image

ตัวแทนฟ้องคดีโดยปราศจากอำนาจถือว่าไม่มีอำนาจมาแต่แรก

บทความวันที่ 5 ม.ค. 2561, 10:47

มีผู้อ่านทั้งหมด 1269 ครั้ง


ตัวแทนฟ้องคดีโดยปราศจากอำนาจถือว่าไม่มีอำนาจมาแต่แรก

ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การฟ้องคดีเพื่อให้กลับมาสมบูรณ์ขึ้นไม่ได้ฎีกาที่ 925/2503 ฎีกาที่ 893/2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2503
          ในคดีแพ่ง ศาลจำจะต้องพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะแต่ในข้อประเด็นที่คู่ความอ้างอิงยกขึ้นเป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอันปรากฏตามฟ้องและคำให้การเท่านั้น
          ตามฟ้อง โจทก์กล่าวอ้างว่า นายฟูจิโอ ผู้จัดการสาขาในประเทศไทย ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในนามบริษัทโจทก์ในญี่ปุ่นได้ โดยมีหนังสือมอบอำนาจเป็นหลักฐาน จะได้อ้างส่งศาลวันพิจารณา นายฟูจิโอมิได้อ้างว่าตนเป็นตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปและมีกรณีฉุกเฉินเพื่อป้องกันความเสียหายของบริษัทโจทก์แต่อย่างไรเลย ต่อมาภายหลังที่จำเลยให้การตัดฟ้องและร้องขอให้ศาลวินิจฉัยเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 แล้วทนายโจทก์จะอ้างหนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ซึ่งเพิ่งมอบอำนาจขึ้นภายหลังวันที่นายฟูจิโอแต่งทนายยื่นฟ้องศาลแล้ว 9 วันมาเพื่อแสดงว่านายฟูจิโอมีอำนาจแต่งทนายยื่นฟ้องแทนบริษัทโจทก์หาได้ไม่ และกรณีเช่นว่านี้หาเป็นกรณีฉุกเฉินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 802 ไม่ เพราะการรู้ว่าบริษัทจะต้องเสียหายด้วยการเสียภาษีนั้น สาขาบริษัทได้รู้นับแต่วันรับแจ้งการประเมินแล้ว มีเวลาเพียงพอตามประมวลรัษฎากรที่จะจัดการให้ได้รับมอบอำนาจให้กระทำการยื่นฟ้องต่อศาลได้ถ้าบริษัทโจทก์เห็นว่าการเรียกเก็บภาษีไม่ถูกต้องและติดใจจะยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อการอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรไม่สำเร็จ
          การที่นายฟูจิโอแต่งทนายยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว 9 วัน บริษัทโจทก์จึงได้ทำการมอบอำนาจให้นายฟูจิโอทำการยื่นฟ้องต่อศาลแทนบริษัทได้ ทั้งได้ให้สัตยาบันการกระทำที่แล้วมานั้นด้วย ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณา เพราะเมื่อนายฟูจิโอไม่มีอำนาจแต่งทนายยื่นฟ้องแทนบริษัทในเวลาที่ยื่นฟ้องนั้นแล้วฟ้องของโจทก์ก็ไม่เป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก ไม่มีทางใดๆ ที่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณามาแต่ต้น แม้จะได้มีการรับรองหรือให้สัตยาบันในภายหลังต่อมา ก็หากระทำให้ฟ้องที่เสียใช้ไม่ได้แล้วนั้นกลับคืนดีมาเป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณาในภายหลังได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 723-724/2502 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2535
        การฟ้องคดีเรื่องจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินกับเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยนำบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวออกให้เช่าเป็นคนละเรื่องมิได้เกี่ยวเนื่องกันเมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ย. ดำเนินคดีเฉพาะเรื่องจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดิน ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหาย แม้โจทก์จะเบิกความว่าได้ให้ ย. ดำเนินคดีเกี่ยวกับละเมิดและเรียกค่าเสียหายด้วยก็จะฟังคำเบิกความดังกล่าวเป็นการให้สัตยาบันตามกฎหมายหาได้ไม่ คำฟ้องเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหายจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีก่อนศาลวินิจฉัยเพียงว่า ตามคำฟ้องโจทก์ยังไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ มิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ขอแบ่งสัดส่วนในที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยโดยขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกให้ เป็นการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งจำเลยในฐานะผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมจะต้องดำเนินการทางทะเบียนด้วย เมื่อจำเลยไม่ยอมดำเนินการดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก