ตัวอย่างการกระทำที่ถือว่าเป็นและไม่เป็นการประพฤติเนรคุณ|ตัวอย่างการกระทำที่ถือว่าเป็นและไม่เป็นการประพฤติเนรคุณ

ตัวอย่างการกระทำที่ถือว่าเป็นและไม่เป็นการประพฤติเนรคุณ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตัวอย่างการกระทำที่ถือว่าเป็นและไม่เป็นการประพฤติเนรคุณ

  • Defalut Image

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531

บทความวันที่ 3 ม.ค. 2561, 11:28

มีผู้อ่านทั้งหมด 1968 ครั้ง


ตัวอย่างการกระทำที่ถือว่าเป็นและไม่เป็นการประพฤติเนรคุณ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531
1. ทำร้ายร่างกายมารดาทำให้ได้รับอันตรายแก่กายถือว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาอย่างร้ายแรงตามมาตรา 531( 1 )อ้างอิง ฎีกาที่ 412/2528
2 .ใช้ถ้อยคำหยาบคายไม่สุภาพแสดงถึงการเหยียดหยามไม่ให้ความเคารพนับถือถือเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาท ผู้ให้อย่างร้ายแรงแล้ว เช่นด่าว่าไอ้แก่อีแก่เป็นต้น  อ้างอิงฎีกาที่ 3502/2539 ฎีกาที่ 980 /2550 ฎีกาที่ 1078/2553 ฎีกาที่ 6424/2557
3.การพูดจากระทบกระเทียบที่ไม่สมควรไม่ใช่คำด่าไม่เป็นเหตุประพฤติเนรคุณฎีกาที่ 1527/2534
4.สามีภรรยาที่อยู่ด้วยกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสทะเลาะกันด่ากันไปมาโดยฝ่ายโจทก์ เป็นฝ่ายก่อ เหตุขึ้นก่อนและจำเลยด่าโต้ตอบเพราะถูกข่มเหงน้ำใจอย่างรุนแรง โจทก์จะอ้างว่าจำเลยทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงเพื่อ เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณไม่ได้ฎีกาที่ 1953/2537
5. การที่ผู้ให้ไปอยู่ที่อื่น ผู้รับ ไม่ได้ตามไปเลี้ยงดูไม่ถือว่าผู้รับบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็น ผู้ให้ถอนคืนการให้ไม่ได้ตามมาตรา 531(3) ฎีกาที่ 2341/2537
6. คู่สมรสที่ไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินให้ความยินยอมในการยกที่ดินให้ผู้อื่นมีสิทธิฟ้องถอนคืนการให้เฉพาะส่วนที่ตนยกให้ได้ อ้างอิงฎีกาที่ 10243/2550

คำพิพากษาฎีกาอ้างอิง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2528
การที่จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ผู้เป็นมารดาจนได้รับอันตรายแก่กาย ย่อมเป็นการแสดงว่าจำเลยขาดความกตัญญู แม้โจทก์จะได้รับบาดเจ็บไม่ถึงสาหัสก็ถือได้ว่าจำเลยได้ประพฤติเนรคุณโดยประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(1) แล้ว โจทก์จึงเรียกถอนคืนการให้ได้

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2550
โจทก์เจ็บป่วยไปขอความช่วยเหลือจากจำเลย จำเลยไม่พอใจพร้อมพูดว่า บักหมามึงแก่แล้ว พูดจากลับไปกลับมาเหมือนเด็กเล่นขายของ มึงไม่มีศีลธรรม มึงไปตายที่ไหนก็ไป ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จึงมีเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณที่โจทก์ถอนคืนการให้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2553
ถ้อยคำที่จำเลยด่าโจทก์ว่า "อีแก่ไม่ยุติธรรม มึงทำให้ครอบครัวกูแตกแยก กูจะไม่อยู่กับมึงแล้ว" เป็นการแสดงเจตนาดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นอา จำเลยเรียกโจทก์ว่า อีแก่ ขึ้นมึงขึ้นกูกับโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์อับอายเสียชื่อเสียงและเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้
ก่อนฟ้องคดีจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 27546 พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้อื่น เมื่อถอนคืนการให้ จำเลยต้องส่งคืนทรัพย์สินแก่โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โดยคืนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ตามสภาพที่เป็นอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 413 วรรคหนึ่งและมาตรา 534

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2534
โจทก์เอาที่ดินที่ยกให้จำเลยไปขายแก่ผู้อื่น จำเลยจึงพูดจากับโจทก์ด้วยถ้อยคำว่า เฒ่า หัวหงอกหัวขาวนานตาย และไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าโจทก์ขายที่ดินที่ยกให้จำเลยแก่ผู้อื่น เนื้อหาตลอดจนความหมายแห่งถ้อยคำดังกล่าวมิใช่คำด่า เป็นเพียงคำ พูดจากระทบกระเทือนที่จำเลยไม่สมควรใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุพการีเท่านั้นการแจ้งความและการใช้ถ้อยคำดังกล่าวกับโจทก์ไม่ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุขอเพิกถอนการให้.

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2537
โจทก์มิได้เป็นบุพการีหรือญาติผู้ใหญ่ทางสายโลหิตของจำเลยคงมีความสัมพันธ์กับจำเลยในฐานะผู้อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสเท่านั้น ทั้งโจทก์เป็นฝ่ายก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันโดยนำหญิงอื่นเข้ามาหลับนอนในบ้านต่อหน้าจำเลย และขับไล่จำเลยออกจากบ้านซึ่งนำไปสู่การด่าโต้ตอบกัน เหตุที่จำเลยด่าโต้ตอบโจทก์ว่า "ไอ้ห่าบ้าตัณหาเลวที่สุดได้หน้าหีมือถือสากปากถือศีล"ก็เพราะถูกโจทก์ข่มเหงน้ำใจอย่างรุนแรง โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงเพื่อยกเป็นเหตุเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณหาได้ไม่

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2537
การกล่าวอ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้รับบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้และเป็นผู้ยากไร้เมื่อจำเลยสามารถจะให้ได้นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขอสิ่งจำเป็นเลี้ยงชีวิตต่อจำเลยแล้ว จำเลยบอกปัดไม่ยอมให้และเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบ มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยมิได้นำสืบและอุทธรณ์ในข้อนี้แสดงว่าจำเลยยอมรับ และมิใช่หน้าที่ศีลธรรมอันดีของผู้รับการให้จะพึงปฏิบัติต่อผู้ให้ด้วยการให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้ให้ตามวิสัยแต่อย่างใดดังนั้น การที่โจทก์แยกไปอยู่กับ ซ. แล้วจำเลยไม่ตามไปเลี้ยงดูโจทก์ จะฟังว่าจำเลยแสดงเจตนาบอกปัดไม่ยอมเลี้ยงดูให้สิ่งของจำเป็นแก่โจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้ และจำเลยสามารถให้ได้อันเป็นการประพฤติเนรคุณที่จะเรียกถอนคืนการให้หาได้ไม่

7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10243/2550
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 (1) ระหว่างโจทก์กับ ฉ. ซึ่งถือว่าโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทได้ตามมาตรา 1475 แต่ถึงแม้โจทก์จะมิได้ร้องขอดังกล่าว แต่การจัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตามมาตรา 1476 (1) ถึง (8) ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อ ฉ. โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยโจทก์ให้ความยินยอม ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ให้ตามมาตรา 521 ด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องถอนคืนการให้ได้
โจทก์และ ฉ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หาเมื่อ พ.ศ.2528 ต่อมา พ.ศ.2536 ฉ. ถึงแก่ความตาย แต่เหตุแห่งการประพฤติเนรคุณเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2543 ภายหลังจากที่ ฉ. ถึงแก่ความตายแล้ว และจำเลยประพฤติเนรคุณเฉพาะต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้เฉพาะในส่วนของตน
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก