ความรู้เกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย|ความรู้เกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย

ความรู้เกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความรู้เกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย

  • Defalut Image

เจ้าหนี้ต้องขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันที่ได้ประกาศโฆษณา

บทความวันที่ 6 ธ.ค. 2560, 16:09

มีผู้อ่านทั้งหมด 961 ครั้ง


ความรู้เกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย

            เจ้าหนี้ต้องขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันที่ได้ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาหรือในหนังสือพิมพ์รายวัน แล้วแต่ว่าวันใดเป็นวันที่ได้โฆษณาหลังสุด (ฎีกาที่ 690/ 2509 ฎีกาที่ 44/2549 ฎีกาที่ 882/ 2535 ฎีกาที่ 444/ 2549)  ถ้าเจ้าหนี้ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดหมดสิทธิในการขอรับชำระหนี้ จะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งเจ้าของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้
( อ้างอิงฎีกาที่ 1060/2553)

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2509
          กำหนดเวลาสองเดือนที่ให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 91 นั้นนับตั้งแต่วันที่ได้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาหรือในวันที่ได้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันแล้วแต่ว่าวันใดเป็นวันที่ได้โฆษณาหลังสุดเพราะกฎหมายให้โฆษณาทั้งสองอย่าง จะนับตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดไว้ในวันประกาศมิได้

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2549
              พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 28 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ และมาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91 ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่าวันโฆษณาตามมาตรา 91 หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คดีนี้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันก่อนแล้วจึงลงในราชกิจจานุเบกษา การนับวันโฆษณาต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจัดพิมพ์แล้วเสร็จและนำออกเผยแพร่ให้แก่สมาชิกที่ได้รับด้วยตนเองเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2545 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน และเจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 27 สิงหาคม 2545 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
            การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 146 เมื่อศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ย่อมอ้างส่งเอกสารต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวแล้วนำมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2535
             ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 28 ซึ่งกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับและมาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่า "วันโฆษณา" ตามมาตรา 91นั้น หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คดีนี้มีการโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษาหลังจากโฆษณาคำสั่งในหนังสือพิมพ์รายวัน การนับวันโฆษณาจึงต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา แต่ราชกิจจานุเบกษาตอนนี้เพิ่งพิมพ์เสร็จและนำออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2532 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน อันเป็นวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามความหมายในมาตรา 91 หาใช่วันที่ในราชกิจจานุเบกษาอันเป็นการลงล่วงหน้าไม่ เพราะวันดังกล่าวยังไม่มีการพิมพ์โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2533 จึงยังไม่เกินกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2549
             ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 83 กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีสำหรับเดือนภาษีใดให้ยื่นภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป และมาตรา 83/4 กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมอีกครั้งพร้อมชำระภาษีถ้ามีให้ถูกต้องครบถ้วน ตามบทบัญญัติของกฎหมายจึงไม่ได้จำกัดสิทธิของผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดงรายการในกำหนดได้เพียงครั้งเดียว เมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีทั้งสองครั้งภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป โจทก์ย่อมมีสิทธินำภาษีซื้อที่มากกว่าภาษีขายไปเป็นเครดิตภาษี และมีสิทธิได้รับคืนหรือนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ กรณีนี้มิใช่การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมเมื่อพ้นเวลา 15 วัน ที่ผู้ประกอบการจะมีสิทธิเพียงขอคืนภาษีอย่างเดียวดังที่จำเลยอ้างแต่อย่างใดไม่


 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก