ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน  ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์โปรดทราบ|ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน  ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์โปรดทราบ

ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน  ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์โปรดทราบ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน  ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์โปรดทราบ

  • Defalut Image

เมื่อท่านถูกยึดรถโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว หลังจากนั้นไฟแนนซ์นำรถของท่านไปขายทอดตลาด

บทความวันที่ 14 ก.ย. 2560, 15:37

มีผู้อ่านทั้งหมด 4173 ครั้ง


ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน  ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์โปรดทราบ

             เมื่อท่านถูกยึดรถโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว หลังจากนั้นไฟแนนซ์นำรถของท่านไปขายทอดตลาดจะมีส่วน
ต่างราคารถหรือที่เรียกว่า ส่วนขาดทุน ซึ่งไฟแนนซ์จะมาฟ้องเรียกจากผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันต่อไปในอนาคต
แนวทางแก้ไขที่ถูกต้องทนายคลายทุกข์ขอให้คำแนะนำดังนี้
             1. ใช้วิธีการเจรจาต่อรอง ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
            2. หากไม่สามารถเจรจาต่อรองจนประสบความสำเร็จเมื่อได้รับหมายศาลควรเดินทางไปศาลและต่อสู้คดีว่าการบอกเลิกสัญญาชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีการบอกกล่าวเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน เป็นลายลักษณ์อักษรก่อนที่จะมีการขายทอดตลาด ทำให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันเสียสิทธิในการเข้าสู้ราคาและต่อสู้ว่าการขายทอดตลาด โดยการประมูลเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมในลักษณะสมยอมราคาซื้อขายกันในราคาต่ำกว่าท้องตลาดโดยไปหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ขายรถมือสองเข้า google จะมีเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเป็นจำนวนมาก เมื่อท่านต่อสู้คดีตามที่ผมกราบเรียนท่านมาข้างต้นโอกาสที่ท่านจะชนะคดีหรือศาลจะใช้ดุลพินิจในการลดค่าเสียหายนั้นมีมากครับ  ทนายคลายทุกข์ขอให้ท่านอยู่แบบพอเพียงอย่าทำตัวเกินฐานะใช้จ่ายพอสมควร หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้สินเกินสมควร เป็นวิธีการป้องกันการปัญหามีให้ท่านถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับคดีหนี้สินด้วยจิตคารวะ

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 5

สอบถามค่ะ ซื้อรถจักรยานยนต์ ผ่อนงวดละ 2660 บาท (รวมค่าประกันรถ 150 บาทด้วยค่ะ) ผ่อนได้ประมาณ 8 เดือน ขอคืนรถกับทางสินเชื่อ ทางสินเชื่อมารับรถหลังจากที่แจ้งไปประมาณ 1 เดือนค่ะ และนำไปขายแบบประมูลค่ะ (สอบถามไปขายให้กับผู้ที่มาประมูลแบบเหมาค่ะ)ได้ราคาประมาณ 34000 บาท มีส่วนต่างประมาณ 40000 บาท ถามค่ะควรทำอย่างไรดีค่ะให้ส่วนต่างลดลงกว่านี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ นวพร ดีนาน 10 ม.ค. 2561, 10:53

ความคิดเห็นที่ 4

สอบถามคะ ดิฉัน พ่อ และก็อา ได้ค้ำประกันรถยนต์ให้บุคคลหนึ่ง ต่อมาเค้าส่งไม่ไหว ไฟแนนท์ยึดรถไป จนกระทั่งว่ามีการไกล่เกลี่ยผู้เช่าซื้อไปไกล่เกลี่ยกับไฟแนนท์อะไรเราไม่ทราบ ต่อมาผู้เช่าซื้อเสียชีวิตลง ไฟแนนท์ตามทวงพวกดิฉันคะ แบบนี้ทำอย่างไงดีคะ พอมีทางออกมั้ย

โดยคุณ นงค์นุช 5 ม.ค. 2561, 16:48

ความคิดเห็นที่ 3

ดิฉันเป็นคนซื้อรถและให้เพื่อนค้ำประกันแล้วดิฉันไม่ได้ส่งรถเลยโทรให้ไฟแนนซ์มาเอารถคืนไปไฟแนนซ์ก็ไม่มาแล้วทางไฟแนนซ์ก็ไปยึดทรัพย์คนคำ้ประกัน

2.พ่อของคนคำ้ก็มาเอารถที่ดิฉันว่าจะไปขายปรากฏว่าทางพ่อของคนค้ำต้องการเงิน50,000ถ้าดิฉันอยากได้รถคืนอย่างนี้ถูกต้องไหม

3.แต่ทางดิฉันได้ทำเอกสารว่าจะผ่อนจ่ายกับคนคำ้เดือนละ3,000ถ้าเอารถมาคืนถ้าไม่เอารถมาคืนดิฉันก็ไม่จ่าย

อย่างนี้ดิฉันจะทำอย่างไรดีค่ะ

โดยคุณ Wanvisa 2 ม.ค. 2561, 22:42

ความคิดเห็นที่ 2

ดิฉันซื้อรถมือสองเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี53 และให้ญาติสามีเป็นผู้ใช้และผ่อนค่างวด โดยสามีเป็นผู้ค้ำปรโดยรถราคา160000 บาท  เงินดาวน์สามหมื่น วันออกรถอีก หนึ่งหมื่นบาท  เมื่อญาติเค้าไม่ส่งตั้งแต่ออกรถมาเป็นเวลาสามงวด และดิฉันได้รับหนังสือทวงถามติดตามสองครั้ง   ดิฉันได้จ่ายไปหนึ่งงวด โดยต้องจ่ายค่างวดรถเดือนละประมาณ 3,600 บาท โดยชำระครั้งสุดท้ายเดือนเมษายน   2553 จึงได้แจ้งให้บริษัทรถชื่อ ไมด้าลิสซิ่ง  จังหวัดราชบุรี มานำรถกลับไปโดยไม่ใช่การตามยึด  และหลังจากนั้น  บริษัทไม่เคยติดต่อแจ้งเรื่องการขายทอดรถหรือ  สถานภาพของรถ  หรือแจ้งหนี้ ทวงหนี้ทั้งทางเอกสารหรือโทรศัพท์เลย จึงเข้าใจว่ารถอาจขายได้กำไรหรือบริษัทหักเงินที่ดิฉันได้จ่ายไปทั้งหมดแล้วคุ้มกับค่างวดที่ไม่ได้ชำระประมาณ 3 งวด  คงไม่เกิดภาระหนึ้ผูกพัน จึงไม่ได้ติดต่อมา  ตลอดระยะเวลาเกือบหกปี  ดิฉันไม่ทราบมาก่อนว่าติดภาระหนึ้สินจนเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ดิฉันได้ทำธุรกรรมทางการเงินโดยขอสินเชื่อจากบัตรเครดิตต่างๆจำนวนหลายบริษัทเพื่อจัดการสภาพคล่องทางการเงิน  และกู้สินเชื่อSME .ในนามกรรมการบริษัทเพื่อซื้อเครื่องจักร  จึงได้ทราบว่าไม่ผ่านการทำบัตรทุกชนิด  และไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้เพราะติดเครดิตยูโร  จึงได้ไปขอข้อมูลธนาคาร   ทราบว่าดิฉันติดหนี้บริษัท  ดังกล่าว 160000 บาท จึงติดต่อไปพบผุ้จัดการสาขาของบริษัท  เค้าบอกว่าที่ไม่แจ้งข้อมูลให้ทราบเพราะทนายมีคนเดียวทำงานไม่ทัน ซึ่งเวลานาน เกือบหกปีเค้าบอกทำไม่ทันคือเหมือนจงใจปิดข้อมูล   ดิฉันขอทราบรายละเอียดหนี้สิน เค้าบอกไม่ต้องสนใจยอดธนาคาร ให้นำเงินมาจ่ายตามเอกสารที่เค้าพึ่งออกในวันที่ 31 สิงหาคม  60 เป็นเงินเกือบเก้าหมื่นบาท   ดิฉันร้อนใจอยากหลุดจาแบล็คลิสขอลดครึ่งหนึ่งและผ่อนชำระเป็นเวลา ยี่สิบเดือน  แต่ทนายบริษัทแจ้งว่าต้องการเงินก้อนภายในครั้งเดียว ซึ่งดิฉันไม่มีเงินพอ  ซึ่งเหตุการนี้ส่งผลกระทบต่องานและความอยู่ของดิฉันมาก  ดิฉันต้องลาออกจากตำแหน่งเพราะเป็นสาเหตุให้บริษัทขาดสภาพคล่อง  หมดความน่าเชื่อถือในที่ทำงาน ขาดอิสรภาพทางการเงินทั้งที่เงินเดือนและอื่นๆพร้อมแต่ไม่สามารถใช้บัตรเงินสดหรือสินเชื่อใดๆได้ ซึ่งบริษัทยังไม่ยอมยื่นเรื่องฟ้องศาลเพื่อจงใจให้ติดเครดิตและหวังเงินก้อน  ดิฉันไม่ทราบว่าทนายเค้าสามารถเก็บเรื่องไว้โดยไม่ส่งฟ้องศาลได้กี่ปี   ดิฉันไม่สามารถทำธุกรรมทางการเงินใดๆได้กี่ปีจึงจะหมดอายุความ  ดิฉันต้องการเป็นอิสระ แต่ผ่อนชำระเค้าก็ไม่รับ,ฟ้องศาลก็ไม่ฟ้อง  ดิฉันจะทำอย่างไรดี   ตอนนี้ทุกข์มากช่วยแนะนำด้วยค่ะ

โดยคุณ ภัทรานิษฐ์ มนัสนันต์สินานิษฐ์ 6 ต.ค. 2560, 14:42

ตอบความคิดเห็นที่ 2

อายุความบัตรเครดิตทั่วไป  2 ปี  นับแต่ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ส่วนอายุความสินเชื่อส่วนบุคคล  มีอายุความ 5 ปี  นับแต่ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) ครับ 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 25 ต.ค. 2560, 15:09

ความคิดเห็นที่ 1

สอบถามครับ  ถ้าเราเป็นผู้ค้ำประกันแล้วรถถูกขายทอดตลาดไปแล้ว มีส่วนต่างพอสมควร กรณีนี้กฎหมายให้ผู้เช่าซื้อต้องเป็นผู้จ่ายใช่ไหมครับ กรณีที่ผู้เช่าซื้อยังมีทรัพย์สินอยู่

โดยคุณ มั่นนหมาย 22 ก.ย. 2560, 15:35

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก