เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้|เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้

เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้

  • Defalut Image

มีหลายท่านถามมาว่า คำว่าวางทรัพย์กับวางศาลเหมือนกันหรือไม่

บทความวันที่ 30 ส.ค. 2560, 13:55

มีผู้อ่านทั้งหมด 5987 ครั้ง


เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้

            มีหลายท่านถามมาว่า คำว่าวางทรัพย์กับวางศาลเหมือนกันหรือไม่  วางทรัพย์ หมายถึง เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ ลูกหนี้จึงนำเงินไปวางทรัพย์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 331 แต่กรณีผู้ค้ำประกันเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ เมื่อผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แล้วผู้ค้ำประกันเป็นงานหลุดพ้นไม่ต้องวางทรัพย์ ฎีกาที่ 4479/50  วางทรัพย์ตาม มาตรา331  เป็นกรณีลูกหนี้ขอชำระหนี้เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ส่วนผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้เป็นคนละเรื่องกัน  ถ้าผู้ค้ำประกันถูกฟ้องศาลแล้ว แล้วขอชำระหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้  ทางแก้ของลูกหนี้ ถ้าไม่อยากเสียดอกเบี้ยต้องนำเงินไปวางศาล และยอมรับผิดตามฟ้อง ไม่ใช่วางทรัพย์เป็นไป ตามป.วิ.พ.มาตรา 135 และมาตรา 136 อ้างอิงฎีกาที่ 4145 /2542  
อธิบายข้อกฎหมายโดยทนายเดชา กิตติวิทยานันท์  ทนายคลายทุกข์

คำพิพากษาฎีกาที่อ้างอิง

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2550 
              บทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการวางทรัพย์ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพื่อที่ลูกหนี้จะได้หลุดพ้นจากความรับผิดเป็นคนละเรื่องกับการที่ผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและเจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้อันเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 โดยไม่ต้องมีการวางทรัพย์
การที่จำเลยที่ 3 นำแคชเชียรเช็คพร้อมเงินสดตามจำนวนที่ได้รับแจ้งจากพนักงานของธนาคารโจทก์ไปชำระ ณ สาขาของโจทก์ที่รับผิดชอบเรื่องหนี้สินรายพิพาท จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันถึงกำหนดโดยชอบ เมื่อพนักงานของโจทก์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยที่ 3 เป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 วรรคสอง

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2542
                ผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่สัญญาถึงกำหนดวันที่ 1เมษายน 2532 ไม่ได้เสนอขอชำระหนี้ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่ต้องรับผิดในช่วงเวลาที่สัญญาถึงกำหนด เพิ่งเสนอขอชำระเมื่อถูกโจทก์ฟ้อง ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ แม้ว่าสัญญาค้ำประกันจะมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมาย เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่า 100,000 บาทตามวงเงินในสัญญาค้ำประกัน ในวันที่ 5 เมษายน 2533 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดดอกเบี้ยแบบทบต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ของต้นเงินดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6เมษายน 2533 เป็นต้นไปจนกว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะเลิกกัน แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตั้งแต่วันที่ดังกล่าว โจทก์ไม่อุทธรณ์และต่อมาฎีกาขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องกำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นอย่างอื่นเกินไปกว่าที่โจทก์ฎีกาให้จำเลยที่ 2 รับผิด

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 331
 ถ้าเจ้าหนี้บอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้ก็ดี หรือไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้ก็ดี หากบุคคลผู้ชำระหนี้วางทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้ว ก็ย่อมจะเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ได้ ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่บุคคลผู้ชำระหนี้ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิ หรือไม่รู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอนโดยมิใช่เป็นความผิดของตน
 
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 135  
ในคดีที่เรียกร้องให้ชำระหนี้เป็นเงิน หรือมีการเรียกร้องให้ชำระหนี้เป็นเงินรวมอยู่ด้วย ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา จำเลยจะนำเงินมาวางศาลเต็มจำนวนที่เรียกร้อง หรือแต่บางส่วน หรือตามจำนวนเท่าที่ตนคิดว่าพอแก่จำนวนที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องก็ได้  ทั้งนี้ โดยยอมรับผิดหรือไม่ยอมรับผิดก็ได้
 
มาตรา 136  ในกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยยอมรับผิด ถ้าโจทก์พอใจยอมรับเงินที่จำเลยวางโดยไม่ติดใจเรียกร้องมากกว่านั้น และคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปอีก ให้ศาลพิพากษาคดีไปตามนั้น คำพิพากษานั้นเป็นที่สุด แต่ถ้าโจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินที่จำเลยวาง และยังติดใจที่จะดำเนินคดีเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดในจำนวนเงินตามที่เรียกร้องต่อไปอีก จำเลยมีสิทธิถอนเงินที่วางไว้นั้นได้ โดยให้ถือเสมือนว่ามิได้มีการวางเงิน หรือจำเลยจะยอมให้โจทก์รับเงินนั้นไปก็ได้ ในกรณีหลังนี้ โจทก์จะรับเงินไปหรือไม่ก็ตาม จำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่วาง แม้ว่าจำเลยมีความรับผิดตามกฎหมายจะต้องเสีย  ทั้งนี้ นับแต่วันที่จำเลยยอมให้โจทก์รับเงินไป
            ในกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยไม่ยอมรับผิด จำเลยจะรับเงินนั้นคืนไปก่อนที่มีคำพิพากษาว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดไม่ได้ การวางเงินเช่นว่านี้ ไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ยหากจำเลยมีความรับผิดตามกฎหมายจะต้องเสีย
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

คดีไฟแนซ์รถ ก่อนหน้านี้มีหมายศาลมาและไปศาลตามนัดแล้วรอคำบังคับคดีจากศาล พอได้หมายบังคับจากศาลแล้วติดต่อกับเจ้าหนี้คือทางไฟแนซ์ ทางเราแจ้งไม่มีเงินก้อนจะขอผ่อนชำระคืน แต่เจ้าหนี้ไม่ยินยอมรับการผ่อน จะให้จ่ายเงินก้อนอย่างเดียว ต้องทำอย่างไรดีคะ ในเมื่อไม่มีเงินก้อนตามที่เขาต้องการ

โดยคุณ นัทชา 9 มี.ค. 2566, 10:36

ความคิดเห็นที่ 2

เมื่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีข้อตกลงกับกรมขนส่งทางบกกรณีให้ไปเสียค่าปรับจราจรก่อนและจะออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ ก่อนออกใบอนุญาตต่อทะเบียนรถตัวจริง เห็นว่าจะมีผลบังคับ 1 เมษายน 2566 กรณี

เป็นการปฏิเสธไม่รับชำระหนี้ตามกฏหมายแพ่งหรือไม่ ครับ


โดยคุณ ธวัชชัย ธรรมจง 8 ก.พ. 2566, 16:47

ความคิดเห็นที่ 1

หนูอยากสอบถามเรื่องค้ำประกันค่ะ

คือแฟนไปค้ำประกันเงินให้เพื่อนแล้วเพื่อนหนีไม่มาทำงานจนโดนปลดไแล้วค่ะ

1  ถ้าเขาไม่มาชำระหนี้จะโดนคนค้ำไหม

2เขาจดทะเบียนสมรสกับภาริยาเขาตอนเขากู้ภาริยาเซ็นยินยอมให้กู้อย่างภาริยาจะมีสาวนรับผิดหนี้รวมกับสามีไหมค่ะหนูอยากได้คำปรึกษาค่ะมีทางออกให้คนค้ำไหมค่ะตอนนี้เครือดมาเลยค่ะขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ลูกน้ำ คำแสนราช 3 ก.ย. 2560, 03:55

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก