อัยการไม่อุทธรณ์ เป็นการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติหน้าที่|อัยการไม่อุทธรณ์ เป็นการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติหน้าที่

อัยการไม่อุทธรณ์ เป็นการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติหน้าที่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

อัยการไม่อุทธรณ์ เป็นการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติหน้าที่

  • Defalut Image

พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น

บทความวันที่ 21 ส.ค. 2560, 12:02

มีผู้อ่านทั้งหมด 4912 ครั้ง


อัยการไม่อุทธรณ์ เป็นการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติหน้าที่

            พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิด  อ้างอิงฎีกาที่ 1739/2530 การที่พนักงานอัยการไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีอาญาเป็นการใช้ดุลย์พินิจ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 กำหนดให้อำนาจไว้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนการแจ้งผลคำพิพากษายกฟ้องและความเห็นที่ไม่อุทธรณ์นั้นก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดให้พนักงานอัยการต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ การที่ไม่แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทราบถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2530

            จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานอัยการผู้ว่าคดี จำเลยที่ 3 เป็นอัยการจังหวัด การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 กำหนดให้อำนาจไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ส่วนการแจ้งผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง และความเห็นที่ไม่อุทธรณ์นั้นก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดให้พนักงานอัยการต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ การที่จำเลยที่ 3 ไม่แจ้งผลคำพิพากษาและความเห็นที่ไม่อุทธรณ์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทราบถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายเช่นกัน
            กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 145
ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้อง และคำสั่งนั้นไม่ใช่ของอธิบดีกรมอัยการ ถ้าในนครหลวงกรุงเทพธนบุรี ให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งไปเสนออธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ ถ้าในจังหวัดอื่นให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งไปเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด  แต่ทั้งนี้ มิได้ตัดอำนาจพนักงานอัยการที่จะจัดการอย่างใดแก่ผู้ต้องหาดังบัญญัติไว้ในมาตรา 143
             ในกรณีที่อธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจในนครหลวงกรุงเทพธนบุรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดอื่นแย้งคำสั่งของพนักงานอัยการ ให้ส่งสำนวนพร้อมกับความเห็นที่แย้งกันไปยังอธิบดีกรมอัยการเพื่อชี้ขาด แต่ถ้าคดีจะขาดอายุความหรือมีเหตุอย่างอื่นอันจำเป็นจะต้องรีบฟ้อง ก็ให้ฟ้องคดีนั้นตามความเห็นของอธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดไปก่อน
           ทบัญญัติในมาตรานี้ ให้นำมาบังคับในการที่พนักงานอัยการจะอุทธรณ์ ฎีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์และถอนฎีกาโดยอนุโลม

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก