หลอกขายประกันอ้างว่าเป็นการฝากเงิน|หลอกขายประกันอ้างว่าเป็นการฝากเงิน

หลอกขายประกันอ้างว่าเป็นการฝากเงิน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หลอกขายประกันอ้างว่าเป็นการฝากเงิน

  • Defalut Image

ตัวแทนขายประกันหลอกลวงขายประกัน โดยหลอกลวงว่าเป็นการฝากเงินกับธนาคาร

บทความวันที่ 16 ส.ค. 2560, 14:44

มีผู้อ่านทั้งหมด 3802 ครั้ง


หลอกขายประกันอ้างว่าเป็นการฝากเงิน

              ตัวแทนขายประกันหลอกลวงขายประกัน โดยหลอกลวงว่าเป็นการฝากเงินกับธนาคาร  สามารถจะถอนเงินได้แต่มีสิทธิพิเศษคุ้มครองโดยการประกันชีวิต เป็นการฉ้อฉลให้ตกลงทำสัญญาประกันชีวิต ทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจทำประกันชีวิตจะต้องการฝากเงินเป็นการสำคัญผิดในเนื้อหาหรือลักษณะของพฤติกรรมอันเป็นสาระสำคัญตกเป็นโมฆะตามมาตรา 156 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง บริษัทประกันชีวิตต้องคืนเบี้ยประกันภัยทั้งหมด ฐานลาภมิควรได้ตามมาตรา 172 วรรคสองประกอบมาตรา 412  อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 534/ 2559

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2559
              จำเลยที่ 1 ฉ้อฉลโจทก์โดยหลอกลวงว่าเป็นการทำกรมธรรม์ที่มีลักษณะที่เหมือนกับการฝากเงินกับธนาคารสามารถที่จะถอนเงินได้แต่มีสิทธิพิเศษคุ้มครองโดยการประกันชีวิต และให้ ส. ลงชื่อในคำขอเอาประกันชีวิตแล้วจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนนำไปยื่นต่อจำเลยที่ 2 เพื่อให้โจทก์เข้าทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 2 การฉ้อฉลดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ตกลงทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 2 โดยสำคัญผิดในเนื้อหาหรือลักษณะของนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาประกันชีวิตย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยไปจากโจทก์จึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้ให้โจทก์อันเนื่องมาจากเป็นลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 412
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก