คดีอดีตสิบเอก ฆ่าน้องพลอยโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและอำพรางศพ ตามที่ถูกแจ้งข้อหา|คดีอดีตสิบเอก ฆ่าน้องพลอยโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและอำพรางศพ ตามที่ถูกแจ้งข้อหา

คดีอดีตสิบเอก ฆ่าน้องพลอยโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและอำพรางศพ ตามที่ถูกแจ้งข้อหา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คดีอดีตสิบเอก ฆ่าน้องพลอยโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและอำพรางศพ ตามที่ถูกแจ้งข้อหา

  • Defalut Image

ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามมาตรา 289(4) หมายถึงผู้กระทำได้คิดไตร่ตรองและทบทวนแล้ว

บทความวันที่ 16 ส.ค. 2560, 14:40

มีผู้อ่านทั้งหมด 3997 ครั้ง


คดีอดีตสิบเอก ฆ่าน้องพลอยโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและอำพรางศพ ตามที่ถูกแจ้งข้อหา

               ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามมาตรา 289(4) หมายถึงผู้กระทำได้คิดไตร่ตรองและทบทวนแล้ว จึงตกลงใจที่จะฆ่าผู้อื่น อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 763/2556 และฎีกาที่ 1204/2555  ในกรณีมีผู้กระทำความผิดหลายคน บางคนอาจมีเจตนาฆ่าผู้อื่น  ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288  บางคนอาจมีเจตนาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามมาตรา 289(4)ก็ได้  การไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นเรื่องเฉพาะตัวตามสภาพจิตใจของผู้กระทำความผิดแต่ละคน อ้างอิงฎีกาที่ 433/2546  ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามมาตรา 289(5) หมายถึง ให้ผู้ตายต้อง ได้รับความลำบากอย่างสาหัสก่อนตายอันมิใช่เป็นการฆ่าโดยวิธีธรรมดาทั่วๆไป จึงจะเป็นการฆ่าโดยกระทำทารุณโหดร้าย  อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 4050/2532 ประชุมใหญ่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2555 
        การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น หมายความว่า ก่อนกระทำความผิดผู้กระทำความผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด มิใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วนเพราะเหตุโกรธเคืองหรือไม่พอใจ แม้จำเลยมีอาวุธปืนติดตัวมาในที่เกิดเหตุก็ยังไม่พอฟังว่า จำเลยเตรียมอาวุธปืนมายิงผู้ตายทั้งสอง ทั้งได้ความว่า จำเลยเข้าไปที่ร้านเกิดเหตุและสอบถามหาโจทก์ร่วมที่หนึ่ง แต่เมื่อโจทก์ร่วมที่สองพูดทำนองว่า โจทก์ร่วที่หนึ่งไม่อยู่ จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทั้งสอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการตัดสินใจในทันทีทันใด อันเนื่องมาจากเข้าใจว่าผู้ตายทั้งสองและโจทก์ร่วมที่สองขัดขวางและกีดกันไม่ให้จำเลยพบโจทก์ร่วมที่หนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน
เมื่อจำเลยยิงผู้ตายทั้งสองเสียชีวิตแล้วยังหันปากกระบอกปืนมายังโจทก์ร่วมที่สองจนต้องหมอบลงพื้นและหากโจทก์ร่วมที่สองและนาง ท. ไม่ร้องขอชีวิตจำเลยอาจใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมที่สองได้ การที่จำเลยถืออาวุธปืนด้วยมือขวาใช้มือซ้ายประกบนิ้วชี้อยู่ในโกร่งไกปืนและจ้องอาวุธปืนมายังโจทก์ร่วมที่สอง ศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ที่จำเลยยกอาวุธปืนจ้องเล็งไปยังโจทก์ร่วมที่สองซึ่งอยู่ห่างกันไม่มาก แม้จำเลยยังไม่ได้ยิงโจทก์ร่วมที่สองก็ตามแต่การที่จำเลยยิงผู้ตายทั้งสองเสียชีวิตแล้วเช่นนี้ ยังหันปากกระบอกปืนมาทางโจทก์ร่วมที่สองจนต้องหมอบลงกับพื้นและหากโจทก์ร่วมที่สองและนาง ท. ไม่ร้องขอชีวิตจำเลยอาจใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมที่สองได้การกระทำของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยพร้อมจะยิงโจทก์ร่วมที่สองแต่กระทำไปไม่ตลอดเนื่องจากโจทก์ร่วมที่สองและนาง ท. ซึ่งเข้ามากอดโจทก์ร่วมที่สองได้ร้องขอชีวิต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นอีกกรรมหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4050/2532
จำเลยนำสารพิษสตริกนิน ให้ผู้ตายเสพรับเข้าสู่ร่างกายจนผู้ตายถึงแก่ความตาย โดยได้คิดวางแผนเตรียมการมาก่อน ถือได้ว่าจำเลยฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยทยอยให้ผู้ตายเสพรับสารพิษสตริกนิน เข้าสู่ร่างกายเป็นระยะ ๆ สุดแล้วแต่สถานการณ์ และโอกาสจะอำนวย เป็นเหตุให้ผู้ตายต้องป่วยเจ็บได้รับความทุกข์ทรมานตลอดมา จนกระทั่งเมื่อมีเหตุที่สามารถหันเหความสนใจของผู้อื่นไปจากอาการของสารพิษสตริกนิน ได้แล้วก็ได้เพิ่มจำนวนสารพิษสตริกนิน ให้ผู้ตายเสพรับเข้าสู่ร่างกายจนถึงขีดที่ร่างกายไม่สามารถต้านทาน ได้และผู้ตายถึงแก่ความตายในที่สุด ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยประสงค์จะให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัสก่อนตายด้วย อันมิใช่เป็นการฆ่าโดยวิธีธรรมดาทั่ว ๆ ไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้าย (วรรคสุดท้ายวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2532)
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก