เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชาย|เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชาย

เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชาย

  • Defalut Image

เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชาย ชายซึ่งเป็นบิดาของผู้เยาว์ตามความเป็นจริงจะขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ตนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แทนหญิงซึ่งเป็นมารดาไม่ได้

บทความวันที่ 21 ก.ค. 2560, 09:21

มีผู้อ่านทั้งหมด 6245 ครั้ง


เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชาย ชายซึ่งเป็นบิดาของผู้เยาว์ตามความเป็นจริงจะขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ตนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แทนหญิงซึ่งเป็นมารดาไม่ได้ 

 ฎีกาที่ 16395/2557
ผู้เยาว์เป็นบุตรเกิดจากโจทก์ซึ่งเป็นหญิงที่มิได้สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1546 ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ส่วนจำเลยที่ 1 แม้อ้างว่าเป็นบิดาของผู้เยาว์ แต่เมื่อผู้เยาว์มิได้เกิดจากบิดามารดาที่สมรสกัน การจะอ้างว่าผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อบิดามารดาสมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้มีลักษณะที่ปรากฏตามความดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิใดๆในตัวผู้เยาว์ไม่ ทั้งนี้ตามป.พ.พ. มาตรา 1547 ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่เพียวผู้เดียว เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองดูแลเลี้ยงดูผู้เยาว์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองคืนผู้เยาว์แก่โจทก์ได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 1567(1)และ(4) ที่โจทก์เป็นผู้กำหนดที่อยู่ของบุตร และเรียกคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบได้ ข้ออ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่าดูแลผู้เยาว์ดีกว่าโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ เพราะจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิใดๆในตัวผู้เยาว์ไม่อาจอ้างเหตุเหนือสิทธิของโจทก์ผู้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ได้

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 5

เหตุคือ. เด็กมอ3น้องข้างบ้านผู้หญิงถูกคุณครูลวงไปที่ห้องและมีอะไรกันโดยที่ผู้หญิงไม่กล้าขัดขืน จนปัจจุบันผ่านมา3ปีแล้ว คุณครูได้ย้ายถิ่นฐานไปที่อื่น แต่ตัวเด็กพึ่งเล่าให้ฟัง อยากรู้ว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่ ไม่มีหลักฐานอะไรเลย

โดยคุณ wizard2542 10 พ.ย. 2560, 02:52

ความคิดเห็นที่ 4

สวัสดีค่ะ

  คืออยากถามว่าถ้าในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่จดทะเบียนรับเป็นลูกแล้วฝ่ายหญิงเป็นคนที่ทิ้งลูกให้อยู่กับพ่อโดยที่ฝ่ายหญิงหนีตามชายอื่นไปและฝ่ายชายเลี้ยงลูกเองแต่ก็ไม่ได้กีดกันระหว่างแม่กับลูกแล้วพ่อจะสามารถฟ้องร้องได้ไหมถ้าแม่จะใช้กฏหมายบังคับเอาลูกไป

โดยคุณ ฝุ่นทราย 27 ต.ค. 2560, 02:53

ความคิดเห็นที่ 3

สวัสดีค่ะ


    ขอคำแนะนำและปรึกษาหน่อยค่ะ

หนูกับแฟนเพิ่งแยกทางกัน  มีลูกด้วยกัน1คน (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส)  แล้วมีการทะเลาะกัน แล้วแฟนพาลูกหนี ซึ่งติดต่อแฟนได้คุยกับลูกได้ แต่กรีดกันไม่ได้เจอลูก  กรณีสามารถแจ้งความหรือฟ้องเอาลูกมาอยู่ในการเลี้ยงดูของแม่แต่เพียงผู้เดียวได้ไหมค่ะ เพราะตอนนี่แฟนเอาลูกไปยุบ้านเพื่อน ซึ่งตัวเค้าเองก็ไม่มีเวลาดูแล บ้านที่อยู่ก็ไม่มีเป็นหลักเป็นแหล่ง แต่มีงานทำงาน

ส่วนตัวหนูเองก็มีงานทำ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ซึ่งส่วนมากหนูก็เป็นคนเลี้ยงแก

 กรณีนี้หนูสามารถฟ้องหรีอแจ้งความ ขอรับลูกคืนให้มาอยู่ในการเลี้ยงดูของหนูแต่เพียงผู้เดียว ได้ไหมค่ะ

โดยคุณ Saowanee Maakaews 28 ส.ค. 2560, 12:20

ความคิดเห็นที่ 2

ขอสอบถามหน่อยค่ะ

หนูกับแฟนมีลูกด้วยกันแล้วแต่ไม่ได้จดทะเทียน แล้วแฟนเป็นคนแจ้งเกิดลูก อยากทราบว่าสิทธิ์ในการเลี้ยงดูเด็กจะเป็นของใครค่ะ

โดยคุณ Mild Indyy 10 ส.ค. 2560, 19:08

ความคิดเห็นที่ 1

สวัสดีค่ะ...

อยากจะเปลี่ยนนามสกุลบุตรอายุ7ขวบจากสกุลบิดามาเป็นสกุลมารดา โดยบิดามารดาหย่าร้าง อำนาจปกครองบุตรเป็นของมารดาแต่เพียงผู้เดียว เนื่องด้วยบิดาติดยาเสพติด หลังจากหย่าร้างกันได้เคยมีคดีทำร้ายร่างกายมารดาเมื่อปี'58จนต้องขึ้นศาลกันมาครั้งหนึ่งจนศาลตัดสินให้รอลงอาญา2ปีคุมประพฤติ1ปี จนไม่ได้ติดต่อกันอีกเลยและมาทราบข่าวจากญาติอีกทีว่าบิดาไม่ได้ไปการรายงานตัวต่อศาลครบตามกำหนดและมีคดีใหม่อีกจนต้องหนีคดี

-ไม่ทราบว่ากรณีนี้มารดาจะทำการเปลี่ยนชื่อสกุลบุตรมาใช้นามสกุลมารดาได้หรือไม่ อย่างไร

โดยคุณ Laphasrada Awapak 28 ก.ค. 2560, 04:30

ตอบความคิดเห็นที่ 1

กรณีตามปัญหา  หากบุตรเกิดระหว่างสมรส และมารดาต้องการเปลี่ยนนามสกุลบุตร ต้องให้สามีให้ความยินยอมด้วย เพราะอำนาจปกครองบุตรย่อมเป็นของบิดาและมารดาร่วมกัน หรือหากมีข้อสงสัยให้โทรปรึกษาทนายคลายทุกข์เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 24 ส.ค. 2560, 16:09

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก