เทคนิคการดำเนินคดีโกงเจ้าหนี้|เทคนิคการดำเนินคดีโกงเจ้าหนี้

เทคนิคการดำเนินคดีโกงเจ้าหนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เทคนิคการดำเนินคดีโกงเจ้าหนี้

  • Defalut Image

1. ต้องเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันก่อน ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

บทความวันที่ 5 ก.ค. 2560, 10:07

มีผู้อ่านทั้งหมด 7722 ครั้ง


เทคนิคการดำเนินคดีโกงเจ้าหนี้

              1. ต้องเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันก่อน ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา อ้างอิงฎีกาที่ 16070-16072/2555
              2. เจ้าหนี้นั้นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้แล้ว (การใช้สิทธิทางศาลหมายถึงการฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอ้างอิงฎีกาที่ 3973/2555) หรือออกหนังสือทวงถาม และกำหนดเวลาให้ชำระหนี้หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีตามกฎหมายเป็นต้น อ้างอิงฎีกาที่ 43810/2557
              3.ลูกหนี้ย้ายไปเสียซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดหรือแกล้งให้ตนเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง เช่น นำที่ดินไปขายฝาก กับบุคคลอื่น ฎีกาที่ 256/2517 เอาที่ดินไปจดจำนองไม่ผิดฐานโกงเจ้าหนี้ฎีกาที่ 4557/2531 เอาที่ดินไปให้เช่าไม่ผิดโกงเจ้าหนี้ฎีกาที่ 870/2518
             การดำเนินคดีโกงเจ้าหนี้ต้องมีเทคนิคพิเศษในการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ ว่ามีอยู่จริงก่อน (หลังจากที่ได้ออกหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และกำหนดเวลาชำระหนี้แล้ว )และมีข้อความว่า หากไม่ชำระก็จะดำเนินคดีตามกฎหมาย  ถ้าพิสูจน์ได้ว่ามีทรัพย์สินอยู่จริงและทรัพย์สินได้หายไป โดยโอนให้กับบุคคลอื่น ซึ่งไม่เคยเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้มาก่อนเลย ก็ถือว่ามีมูลพอจะฟ้องร้องดำเนินคดีโกงเจ้าหนี้ได้แล้วครับท่านจ้าหนี้แต่ถ้าลูกหนี้ของเราเป็นลูกหนี้ธนาคารประเภทลูกหนี้จำนองขายทรัพย์สินที่จำนองกับธนาคารเพื่อใช้หนี้จำนองกับธนาคารไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ครับอ้างอิงฎีกาที่ 1134/2537

ด้วยความปรารถนาดีจาก
ทนายเดชา กิตติวิทยานันท์
ประธานเครือข่ายทนายคลายทุกข์
คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ นิตยสาร cop magazine หนังสือพิมพ์ โคออฟสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16070 - 16072/2555

ตาม ป.อ. มาตรา 350 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ผู้ใดเพียงแต่รู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แล้วย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ก็ถือว่าเป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขณะที่คดีแพ่งดังกล่าวอยู่ระหว่างบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดิน 3 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา แม้คดีแพ่งดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องแย้ง และผลคดีอาจจะเปลี่ยนแปลงโดยศาลฎีกาอาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ซึ่งไม่แน่ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในชั้นที่สุดหรือไม่ก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว ไม่จำต้องถือเอาคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในทางแพ่งมาเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานดังกล่าว

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2518 
การที่จำเลยนำที่ดินซึ่งโจทก์กำลังฟ้องเรียกเอาจากจำเลยไปให้เช่าและจดทะเบียนการเช่านั้น ไม่ใช่เป็นการย้ายไปเสียหรือโอนไปให้ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2517
เดิมโจทก์ฟ้องส. ภรรยาโจทก์กับ ก. ม.และ ฮ. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ส. ซึ่ง ส.ทำนิติกรรมขายให้ ก. ม. และ ฮ. ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ก. ม. และ ฮ. เอาที่ดินพิพาทไปขายให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงขอให้ศาลเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วม คดีนั้นศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายระหว่าง ส. กับ ก. ม. และ ฮ. กับให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายระหว่าง ก. ม. ฮ. กับจำเลยที่ 1 ก. กับพวกและจำเลยที่ 1 ฎีกา เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 เอาที่พิพาทไปทำสัญญาขายฝากไว้กับจำเลยที่ 2 มีกำหนดเวลาไถ่คืนเพียง 3 เดือน แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาโอนที่พิพาทให้ จำเลยที่ 2 เพื่อไม่ให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของตนซึ่งได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้แล้วได้รับชำระหนี้ทั้งหมด การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จำเลยจะอ้างว่าที่ขายฝากเพราะจำเลยที่ 1 เชื่อว่าศาลฎีกาจะต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดีหาได้ไม่

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4557/2531
การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินซึ่งศาลพิพากษาให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินบางส่วนให้โจทก์ไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2นั้น การจำนองมิใช่เป็นการย้ายไปเสีย หรือเป็นการซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2518 
การที่จำเลยนำที่ดินซึ่งโจทก์กำลังฟ้องเรียกเอาจากจำเลยไปให้เช่าและจดทะเบียนการเช่านั้น ไม่ใช่เป็นการย้ายไปเสียหรือโอนไปให้ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2537 
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้ จำเลยเป็นหนี้ธนาคารเป็นเงิน 696,252.59 บาท โดยจำเลยเอาที่ดินจำนองเป็นประกันธนาคารเจ้าหนี้ได้เร่งรัดให้จำเลยชำระหนี้จำเลยจึงได้ขายที่ดินที่จำนองให้แก่ ก. ไปในราคา 700,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ไม่ต่ำกว่าความเป็นจริง แล้วนำเงินนั้นชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้อันเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องปฏิบัติ แม้จะเป็นการขายภายหลังจากจำเลยทราบว่าเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาแล้วก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยขายที่ดินโดยเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก