ทนายคลายทุกข์วิเคราะห์คดีเปรี้ยวฆ่าหั่นศพ (เพื่อเป็นการให้ความรู้กับพี่น้องประชาชนครับ ติดตามข่าวอย่างมีสติ)|ทนายคลายทุกข์,ทนาย

ทนายคลายทุกข์วิเคราะห์คดีเปรี้ยวฆ่าหั่นศพ (เพื่อเป็นการให้ความรู้กับพี่น้องประชาชนครับ ติดตามข่าวอย่างมีสติ)

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ทนายคลายทุกข์วิเคราะห์คดีเปรี้ยวฆ่าหั่นศพ (เพื่อเป็นการให้ความรู้กับพี่น้องประชาชนครับ ติดตามข่าวอย่างมีสติ)

  • Defalut Image

โดยเทียบเคียงกับคำพิพากษาฎีกาที่ผ่านมาซึ่งผู้ต้องหาทั้งสามคนอาจถูกแจ้งข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา

บทความวันที่ 28 มิ.ย. 2560, 10:12

มีผู้อ่านทั้งหมด 8548 ครั้ง


ทนายคลายทุกข์วิเคราะห์คดีเปรี้ยวฆ่าหั่นศพ (เพื่อเป็นการให้ความรู้กับพี่น้องประชาชนครับ ติดตามข่าวอย่างมีสติ)

             โดยเทียบเคียงกับคำพิพากษาฎีกาที่ผ่านมาซึ่งผู้ต้องหาทั้งสามคนอาจถูกแจ้งข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา ตาม ปอ.มาตรา 288 หรือร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายก็เป็นได้ทุกข้อหาครับ (ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานในสำนวนนะครับ) เรามาลองดูนะครับว่าคำพิพากษาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง
             1.ผู้กระทำความผิดหลายคนมีเจตนาร่วมกันไปทำร้ายแต่ขณะที่ทำร้ายอยู่นั้นผู้กระทำความผิดคนหนึ่งมีเจตนาฆ่า ถือเป็นการกระทำเฉพาะตัวเฉพาะผู้กระทำผิดคนดังกล่าวมีความผิดตามมาตรา 288 ส่วนผู้กระทำผิดคนอื่นมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามมาตรา 290 ฎีกาที่ 1522/2547 และ 1335/2545
             2. ใช้ให้ไปสั่งสอนผู้ตายมีความหมายว่าใช้ให้ไปทำร้ายแต่ผู้ถูกใช้ไปฆ่าผู้ตายเป็นการกระทำเกินขอบเขตที่ใช้ผู้ใช้ต้องรับผิดเพียงในขอบเขตที่ใช้ ฎีกาที่ 7607/2557
             3. เจตนาตอนแรกเป็นเจตนาทำร้ายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแต่เปลี่ยนเป็นเจตนาฆ่าในขณะเกิดเหตุ เจตนาทำร้ายและเจตนาฆ่าย่อมเกลื่อนกลืนกันถือว่ามีเจตนาฆ่าธรรมดาฎีกาที่ 7034/2554
             4. ใช้ผ้ารัดคอจนถึงแก่ความตายเป็นวิธีธรรมดาในการฆ่าไม่ใช่ค่าโดยทารุณโหดร้ายฎีกาที่ 708/2535
             5. ครั้งแรกใช้มีดแทงหลายครั้งมีคนช่วยพาส่งโรงพยาบาล หลังจากนั้นมาบีบคอผู้เสียหายเป็นการกระทำต่างกันครั้งหลังเป็นความผิดตาม ปอ.มาตรา 289 (7)และมาตรา 80 อีกบทหนึ่ง เพราะเป็นการปกปิดการกระทำความผิดของตน(ต้องมีการกระทำสองครั้ง ครั้งหลังกลัวความผิด) ฎีกาที่ 975/2508 และฎีกาที่ 8775/2548
ท่านใดต้องการโทรศัพท์มาแลกเปลี่ยน ก็โทรมาคุยกันได้กับทนายคลายทุกข์นะครับ 081-6161425 ครับ

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 288
 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 290  ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๙ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2547

             ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลถูกแทงระหว่างต่อสู้กับจำเลยและ ศ. ในซอยเกิดเหตุ โดย ศ. เพียงคนเดียวมีอาวุธมีด จึงเชื่อว่า ศ. เป็นคนแทงผู้ตาย ส่วนจำเลยซึ่งเข้าช่วย ศ. ร่วมชกต่อยผู้ตายและวิ่งไล่ตามผู้ตายไปกับ ศ. โดยไม่ได้ร่วมทำร้ายผู้ตายอย่างใดอีก ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอาวุธหรือมีสาเหตุโกรธเคืองร้ายแรงประการใดกับผู้ตายมาก่อนจนถึงกับจะต้องร่วมกับ ศ. ฆ่าผู้ตาย การที่ ศ. ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายโดยเจตนาฆ่าจึงเป็นการกระทำของ ศ. แต่โดยลำพัง จำเลยคงเป็นเพียงแต่ร่วมกับ ศ. ทำร้ายผู้ตายเท่านั้น แต่การร่วมกันทำร้ายมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 288 แต่ความผิดดังกล่าวย่อมรวมความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก อยู่ด้วย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2545
            จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตาย และจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตายและผู้ตายถึงแก่ความตายโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไปด้วย ฉะนั้น จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายเป็นการเฉพาะตัวส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายมาแต่ต้นจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคหนึ่งมิใช่มีความผิดตามมาตรา 295 ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาแต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขเพียงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212ประกอบมาตรา 225

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2535
           ตอนแรกจำเลยที่ 1 ใช้ไม้ตี ก. เพราะถูก ก. ดุ ด่า และทำร้ายร่างกาย แต่หลังจาก ก. ดุด่าและทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1แล้ว ก. ได้เดินเข้าไปนั่งซ่อมโทรศัพท์อยู่ในห้อง จำเลยที่ 1เดินไปหาไม้ที่หลังบ้านมีช่วงเวลาที่จะคิดได้ว่าสมควรทำร้าย ก.หรือไม่ จำเลยที่ 1 หาไม่ได้แล้วเดินเข้าไปตี ก. ในขณะที่กำลังนั่งซ่อมโทรศัพท์อยู่ ก. ยังมีลมหายใจอยู่และส่งเสียงร้องจำเลยที่ 1 เกรงว่าเพื่อนบ้านจะได้ยินเสียงร้อง จึงใช้ผ้ารัดคอโดยแรงจนกระทั่งแน่นิ่งไปซึ่งเป็นการกระทำที่มีสาเหตุมาจากเกรงว่าเพื่อนบ้านจะได้ยินเสียงร้อง มิใช่เพราะสาเหตุถูกข่มเหงจึงมิใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 หลังจากจำเลยที่ 1 ฆ่า ก. แล้ว ขณะกำลังหาที่ซุกซ่อนศพและกลบเกลื่อนหลักฐานอยู่นั้น ส. บุตร ก. ได้เข้ามาเห็นสภาพภายในห้องที่เกิดเหตุซึ่งมีพิรุธผิดสังเกต จำเลยที่ 1เห็นเช่นนั้นก็ใช้ไม้ตี ส. เพื่อปกปิดความผิดฐานฆ่า ก.การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฆ่า ส. เพื่อปกปิดความผิดอื่นและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ตี ส.หลายทีเมื่อส. ยังไม่ตาย จึงใช้ผ้ารัดคออีกจนถึงแก่ความตาย เป็นวิธีธรรมดาในการฆ่าให้ถึงแก่ความตายไป มิใช่เป็นการฆ่าโดยทารุณโหดร้าย

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2508
           จำเลยกับพวกร่วมกันฉุดคร่าผู้เสียหายเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่จะทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา ขณะที่การกระทำผิดฐานฉุดคร่ายังไม่สำเร็จ บิดาของผู้เสียหายวิ่งติดตามไปเพื่อขัดขวาง จำเลยสั่งให้พวกของจำเลยใช้อาวุธปืนยิงบิดาผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ดังนี้ จำเลยผิดฐานร่วมเป็นตัวการฆ่าเพื่อให้เป็นความสะดวกในการที่จำเลยกับพวกจะทำการฉุดคร่าผู้เสียหายเพื่อจำเลยจะได้ตัวผู้เสียหายไว้เพื่อทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราอันเป็นประโยชน์อันเกิดแก่การกระทำผิดตามมาตรา 289(6) และ(7)

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8775/2548
             จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายในขณะที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ และหลังจากที่ข่มขืนกระทำชำเราแล้วจำเลยกลัวความผิดจึงนำผู้ตายไปซ่อนในท่อน้ำ การที่จำเลยนำผู้ตายไปซุกซ่อนไว้ในท่อน้ำซึ่งอยู่ห่างไปจากที่เกิดเหตุจนผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะสำลักน้ำโคลน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายเพื่อปกปิดความผิดของตน อันเป็นความผิดสองกรรม
           ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ไม่อาจนำเอาโทษจำคุก 4 ปี ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งศาลชั้นต้นได้เปลี่ยนโทษจำคุกดังกล่าวเป็นให้ส่งไปฝึกและอบรมแล้ว มารวมกับโทษจำคุกในความผิดฐานฆ่าผู้ตายเพื่อปกปิดความผิดของตน โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษในความผิดฐานดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้
             ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา จำเลยได้ถูกควบคุมตัวและฝึกอบรมตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว เมื่อคิดหักระยะเวลาการควบคุมตัวและฝึกอบรมของจำเลยดังกล่าวแล้ว คงเหลือระยะเวลาที่จะต้องฝึกและอบรมอีกระยะหนึ่งถึงจะครบกำหนดระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว การที่จะให้จำเลยเข้ารับการฝึกและอบรมต่อในระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้น จึงไม่เหมาะสม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขกำหนดระยะเวลาฝึกและอบรมดังกล่าวเสียให้เหมาะสม โดยให้งดการฝึกและอบรมจำเลยในส่วนระยะเวลาที่เหลืออยู่

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก