คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545|คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545

  • Defalut Image

โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ มีหน้าที่ตรวจผลเลือด ผลทางเคมีเพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาโรคแก่ผู้ป่วย

บทความวันที่ 2 มิ.ย. 2560, 11:35

มีผู้อ่านทั้งหมด 7931 ครั้ง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545
                โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ มีหน้าที่ตรวจผลเลือด ผลทางเคมีเพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาโรคแก่ผู้ป่วย หน้าที่ของโจทก์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องอันจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย การที่โจทก์ตรวจผลเลือดของผู้ป่วยไม่ถูกต้องจนต้องนำเอาเลือดผู้ป่วยไปตรวจใหม่และไม่เตรียมเลือดให้ผู้ป่วยในขณะที่เป็นเวรของโจทก์แต่กลับให้พยาบาลปฏิบัติหน้าที่แทน ทั้งต่อมาแพทย์สั่งให้โจทก์ตรวจหาผลเลือดทางเคมี 2 ชนิดโจทก์ก็ตรวจหาผลทางเคมีให้เพียงชนิดเดียวทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคไม่ครบถ้วนนั้น จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ ขาดความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในหน้าที่อันเป็นความบกพร่องอย่างยิ่ง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชื่อเสียงของโรงพยาบาลจำเลยเป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงและยังเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตอีกด้วย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 583
 ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้
 
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
มาตรา 119
 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือนหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก