จะเชื่อใครดี เมื่อดูข่าวเกี่ยวกับคดีความทางสถานีโทรทัศน์หรือโซเชียลมีเดีย|หมายเรียก,ทนายคลายทุกข์,ทนาย

จะเชื่อใครดี เมื่อดูข่าวเกี่ยวกับคดีความทางสถานีโทรทัศน์หรือโซเชียลมีเดีย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

จะเชื่อใครดี เมื่อดูข่าวเกี่ยวกับคดีความทางสถานีโทรทัศน์หรือโซเชียลมีเดีย

  • Defalut Image

ต่างคนต่างพูด ภาษากฎหมายเรียกว่า "คำยันคำ" ดังนั้น การจะพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาต้องอาศัยพยานหลักฐานเท่านั้น

บทความวันที่ 28 มิ.ย. 2560, 10:14

มีผู้อ่านทั้งหมด 6311 ครั้ง


จะเชื่อใครดี เมื่อดูข่าวเกี่ยวกับคดีความทางสถานีโทรทัศน์หรือโซเชียลมีเดีย (การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน ในคดีอาญา ปวิ อ.มาตรา227)

    ต่างคนต่างพูด ภาษากฎหมายเรียกว่า "คำยันคำ" ดังนั้น การจะพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาต้องอาศัยพยานหลักฐานเท่านั้น  ไม่ใช่ความรู้สึกหรือ"ความเชื่อ" เป็นหน้าที่ของผู้เสียหาย และพนักงานสอบสวน ที่กล่าวหาจะต้องช่วยกันรวบรวมพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหา ถ้าพิสูจน์ไม่ได้รับฟังไม่ได้ คดีไม่มีมูลเพียงพอ หมายถึง ไม่ครบองค์ประกอบความผิดหรือพยานหลักฐานอ่อน เพราะคดีอาญาเป็นระบบกล่าวหา ใครกล่าวหาก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ตามที่ตัวเองกล่าวหา ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ พนักงานสอบสวน ก็มีความเห็นทางคดีควรสั่งไม่ฟ้อง ผู้ต้องหาถ้าให้การเท็จกฎหมายคุ้มครองในชั้นพนักงานสอบสวนไม่มีความผิด ตาม ปอ.มาตรา 137,มาตรา 172,มาตรา 173 เพราะผู้ต้องหาจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ ตามป.วิ อ.มาตรา 134/4 แต่ถ้าในชั้นศาลเปลี่ยนจากผู้ต้องหาเป็นจำเลยและต้องเบิกความในฐานะพยานด้วย หากเบิกความเท็จไม่มีกฎหมายคุ้มครองครับ มีความผิดฐานเบิกความเท็จ อ้างอิงฎีกาที่ 224/2532 และฎีกาที่ 558/2534
    การติดตามข่าวสารทางสถานีโทรทัศน์หรือข่าวทางโซเชียลมีเดียต้องทำจิตใจให้เป็นกลาง (สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่เพราะพยานหลักฐานอยู่ในสำนวนของพนักงานสอบสวนนะครับ) แล้วจะดูข่าวสนุกครับ จากทนายคลายทุกข์ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายสอบถามมาได้นะครับ 081-6161425

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2532 

ในคดีก่อน จำเลยถูก ฟ้องในข้อหาขับรถยนต์ โดยประมาทชนรถยนต์ที่ผู้เสียหาย (โจทก์คดีนี้) ขับสวนทางมา เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส และมีบุคคลอื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายบาดเจ็บ การที่จำเลยเบิกความในคดีก่อนว่า ผู้เสียหายขับรถยนต์ ชนรถยนต์ ที่จำเลยขับในช่องทาง เดินรถของจำเลย มีพวกผู้เสียหายเก็บเศษกระจกและเศษไม้จากช่องทาง เดินรถของจำเลยไปไว้ในช่องทาง เดินรถของผู้เสียหาย เท่ากับเบิกความว่า เหตุที่รถยนต์ชนกันเป็นความผิดของผู้เสียหาย มิใช่ความผิดของจำเลยซึ่ง เป็นประเด็นโดยตรงของคดีก่อนที่ว่าจำเลยขับรถยนต์ โดยประมาทหรือไม่ข้อความที่จำเลยเบิกความจึงเป็นข้อสำคัญในคดี แม้จำเลยจะมีสิทธิในการต่อสู้ คดีและจะให้การอย่างไร หรือไม่ยอมให้การในคดีก่อนก็ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172 ก็ตาม แต่ ในชั้น พิจารณาคดีดังกล่าว ตัว จำเลยได้ เข้าเบิกความในคดีฐานะ พยานซึ่ง เป็นอีกฐานะ หนึ่งต่างหากจากการเป็นตัว จำเลย หากคำเบิกความของจำเลยเป็นเท็จจำเลยก็ต้อง มีความผิดฐาน เบิกความเท็จ จะยกเอาสิทธิในการต่อสู้ คดีของจำเลยมาอ้างเพื่อยกเว้นความรับผิดฐาน เบิกความเท็จหาได้ไม่.

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก