ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขหนี้หรือการไปทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินหรือไฟแนนซ์|ทนายคลายทุกข์,decha,ปรับปรุงโครงสร้างหนี้,ทนาย,ค้ำประกัน,อายุความ,การปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขหนี้หรือการไปทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินหรือไฟแนนซ์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขหนี้หรือการไปทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินหรือไฟแนนซ์

  • Defalut Image

ทนายคลายทุกข์ซึ่งเป็นวิทยากรของสถาบันการเงิน ขอให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขหนี้

บทความวันที่ 28 มิ.ย. 2560, 10:14

มีผู้อ่านทั้งหมด 9367 ครั้ง


ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขหนี้หรือการไปทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินหรือไฟแนนซ์

    ทนายคลายทุกข์ซึ่งเป็นวิทยากรของสถาบันการเงิน ขอให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขหนี้ในกรณีที่ท่านมีปัญหากับสถาบันการเงินในการชำระหนี้ไม่ตรงงวด
    1. ต้องพิจารณาว่ามีการเพิ่มจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดมีการเปลี่ยนประเภทนี้จึงจะถือว่าเป็นการแปลงหนี้ หม่เทียบเคียงฎีกาที่ 6788/2552
    2. ถ้าสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เปลี่ยนแปลงการชำระหนี้หรือเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ไม่เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เทียบเคียงฎีกาที่ 6473/2553 และฎีกาที่ 2389/2553
    3. ผลของการแปลงหนี้ใหม่ทำให้หนี้เดิมระงับและหลักประกันระงับแต่คู่กรณีอาจตกลงให้โอนหลักประกันไปประกันหนี้รายใหม่ก็ได้  แต่ถ้าไม่ได้กล่าวถึงไว้เรื่องหลักประกันก็ระงับไปเทียบเคียงฎีกาที่ 1949/ 2516
    4. หนี้ใหม่ยังไม่เกิดหนี้เดิมยังไม่ระงับมาตรา 351 เช่น เดิมเป็นหนี้เงินกู้ต่อมาเปลี่ยนจากเงินกู้เป็นซื้อขายรถยนต์แทนแต่ยังไม่ได้ส่งมอบรถยนต์ถือว่ายังไม่มีการซื้อขายหนี้ ยังไม่เกิดขึ้นหนี้เดิมไม่ระงับ เทียบเคียงฎีกาที่ 2675/2548
    ลูกหนี้ถ้าจะทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขหนี้กับสถาบันการเงินก็จะต้องศึกษาข้อกฎหมายให้แจ้งชัดก่อนนะครับ สอบถามข้อกฎหมายเพิ่มเติมกับทนายคลายทุกข์ 081-6161425 www.decha.com

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2552

    การที่โจทก์และจำเลยที่ 3 แถลงร่วมกันต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่า สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของจำเลยที่ 1 เป็นการแปลงหนี้ใหม่หรือไม่ ถ้าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 3 ก็หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยที่ 1 ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้สละประเด็นข้อพิพาทอื่นทั้งหมด ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์และโจทก์แก้อุทธรณ์ในประเด็นอื่นดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
    สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เป็นการเพิ่มจำนวนหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมรับผิด และเปลี่ยนประเภทหนี้ เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ และตกลงที่จะผูกพันตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง มีผลให้หนี้เดิม คือ หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง 16 ฉบับ ที่จำเลยที่ 3 ค้ำประกันเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นความรับผิด

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2553
    สัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าในวันที่ 28 กันยายน 2544 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและเงินกู้ค้างชำระเป็นยอดหนี้ตามบัญชี 2,719,380 บาท และดอกเบี้ยนอกบัญชี 1,408,325.13 บาท ตกลงให้มีการเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้โดยมีเงื่อนไขการผ่อนชำระคืนกับเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนด โดยให้ถือหลักประกันตามสัญญาเดิมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามสัญญานี้เช่นนี้ แม้สัญญาระบุว่า "โดยมีเงื่อนไขการชำระคืนดังนี้..." ก็ไม่อยู่ในความหมายของการเพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไขที่จะทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 349 เพราะเป็นเพียงการกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ใหม่เท่านั้นกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันทำให้หนี้เดิมระงับ
    จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ไปทำสัญญาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองแทนเมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงมีฐานะเป็นตัวแทนย่อมฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระแทนได้ เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ทดรองจ่ายไปจากตัวการซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2553
    สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีสาระสำคัญเพียงว่า จำเลยที่ 1 มีภาระหนี้สินกับโจทก์ตามสัญญากู้และตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้เท่านั้น ไม่มีการตกลงเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ต้องการระงับข้อพิพาทเดิมโดยต่างยอมผ่อนผันแก่กันและกำหนดหนี้ขึ้นใหม่ ตามความหมายของคำว่าประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 จึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ระงับไป ดังนั้นสัญญาจำนองที่ ว. ทำไว้กับโจทก์เป็นประกันการชำระเงินตามสัญญากู้เงินของจำเลยที่ 1 จึงมีผลผูกพันอยู่ จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2516
    ผู้แทนโจทก์ในคดียื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นฟ้อง และในวันนัดพิจารณา โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต่อศาล ซึ่งจำเลยได้แถลงรับว่าถูกต้องเป็นความจริง และรับว่าผู้รับมอบได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ และมีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจช่วงได้จริง ดังนี้ เป็นการปฏิบัติชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้วผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
    การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้เช่นจำนอง ถ้าคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่มิได้ตกลงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมระงับไปด้วยเช่นเดียวกัน
มาตรา 352 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เท่านั้น การโอนสิทธิจำนองของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่แปลงใหม่ จึงทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ก็ใช้ได้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองซ้ำอีกอย่างจำนองธรรมดาที่เป็นหลักทั่วไป
    หนี้เดิมเป็นหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีเดินสะพัดซึ่งคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ เมื่อหนี้เดิมระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนก็ต้องระงับไปตั้งแต่วันทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2548
    ณ. ทำสัญญาแปลงหนี้เงินกู้เป็นการซื้อขายรถยนต์แทน เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคแรก แต่สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อตกลงเป็นเงื่อนไขว่าในระหว่างที่ผู้ขายยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อให้ถือว่ายังไม่มีการซื้อขาย ฉะนั้น จึงถือว่าเป็นกรณีที่หนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นมิได้เกิดมีขึ้น หนี้เดิมยังไม่ระงับสิ้นไปตามมาตรา 351 จำเลยในฐานะทายาทของ ณ. จึงต้องรับผิดชดใช้หนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ตอนนี้เป็นหนี้รวม 470,000.-กว่าบาท ไม่มีเงินใช้หนี้ดิฉันมีเงินเดือนแค่ 16,420.- ตอนนี้ชำระแค่ธนาคารประชาชนเดือนละ 5,660.- ส่วนที่เหลือโดนทวงทุกวันกวนใจทั้งเบอร์ที่ทำงาน เบอร์เพื่อน ญาติ และเบอร์ส่วนตัวจนไม่เป็นอันทำงาน เครียดไปหมด ไม่ไหวแล้วค่ะ อยากใช้หนี้แต่ไม่ไหวจริงๆค่ะ เงินกู้มาส่งลูกเรียนคะ เครียดกับการทวงหนี้ทุกเวลาแล้วค่ะ ทำไงดีคะ

โดยคุณ ทิพย์นารา ก้อนทอง 15 ก.ย. 2560, 05:55

ความคิดเห็นที่ 2

ขอสอบถามเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้บัตรเครดิตค่ะพอไม่จ่ายธนาคารสามารถยึดเงินในบัญชีเราไปจ่ายได้ด้วยเหรอค่ะโดยที่ยังไม่มีการฟ้ิงก่อนหรือบอกกล่าวค่ะขอความรู้ค่ะขอบคุณค่ะ

โดยคุณ รักชนก 11 ก.ย. 2560, 22:52

ตอบความคิดเห็นที่ 2

ต้องไปดูเงื่อนไขในสัญญาตอนทำบัตรเครดิตครับ ถ้ามีเงื่อนไขให้ทำได้ ธนาคารก็สามารถที่จะหักได้ครับ แต่โดยหลักแล้วธนาคารจะมีหนังสือเตือนมาก่อน 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 28 ก.ย. 2560, 15:39

ความคิดเห็นที่ 1

ขอรบกวนสอบถามเกี่ยวกับรถที่ถุกยึดขายทดอดตลาดแล้ว ผุ้เช่าวื้อยังต้องจ่ายดอกเบี้ยจากเงินต้นเดิมด้วยเปล่าครับ หรือ ดอกเบี้ยจะผยุดคิดตั้งแต่รถถุกยึดครับ หากะนาคารเรียกเก้บสามารถเรียกร้องกลับได้มั้ยครับ  

โดยคุณ สมพล ศิริประไพวัลย์ 7 ก.ย. 2560, 18:58

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก