ข้อควรระวังในการซื้อรถมือสอง รถหนีไฟแนนซ์หรือรถผี อาจมีความผิดฐานรับของโจร|รับของโจร,ทนายคลายทุกข์,ลักทรัพย์,รับซื้อของโจร,ทนาย,ความผิดฐานปล้นทรัพย์

ข้อควรระวังในการซื้อรถมือสอง รถหนีไฟแนนซ์หรือรถผี อาจมีความผิดฐานรับของโจร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อควรระวังในการซื้อรถมือสอง รถหนีไฟแนนซ์หรือรถผี อาจมีความผิดฐานรับของโจร

  • Defalut Image

การกระทำดังต่อไปนี้ถือว่ามีความผิดฐานรับของโจร( อย่าทำนะครับ)

บทความวันที่ 28 มิ.ย. 2560, 10:14

มีผู้อ่านทั้งหมด 4992 ครั้ง


ข้อควรระวังในการซื้อรถมือสอง รถหนีไฟแนนซ์หรือรถผี อาจมีความผิดฐานรับของโจร 

การกระทำดังต่อไปนี้ถือว่ามีความผิดฐานรับของโจร( อย่าทำนะครับ) ทนายคลายทุกข์นำมาฝากครับ
    1. ความผิดฐานรับของโจรไม่จำต้องครอบครองหรือยึดถือทรัพย์ที่ได้มาจากกระทำความผิดเพียงแต่ช่วยซ่อนเร้นช่วยจำหน่ายช่วยพาเอาไปเสียก็เป็นรับของโจรแล้ว
    2. ช่วยซ่อนเร้นหมายถึงช่วยปกปิดไม่ให้คนอื่นเห็นหรือจอดในลักษณะซุกซ่อนหรือเอาไปเก็บไว้ในธีอื่นฎีกาที่ 2336/2533
    3. ช่วยจำหน่ายหมายถึงทำให้ทรัพย์พ้นไปจากผู้ที่ได้ทรัพย์นั้นมาโดยการส่งมอบต่อไป เช่น เอาไปจำนำหรือเอาไปฝากญาติเพื่อหาคนซื้อต่อไป บิดามารดาที่รับฝากก็มีความผิดฐานรับของโจรฎีกาที่ 12/2511 ฎีกาที่ 2093/2539
    4. ช่วยไถ่ทรัพย์ที่คนร้ายลักมา ฎีกาที่ 6934/2537
    5. ช่วยพาเอาไปเสีย เช่น เคลื่อนย้ายสัตว์เอาไปซ่อนไว้ในสวนยาง ฎีกาที่ 1937/2533 หรือให้คนร้ายซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์โดยรู้อยู่แล้วว่าคนร้ายลักโทรศัพท์มา คนขับมีความผิดฐารับของโจร ฎีกาที่ 8396/2552
    6.  ซื้อรถจักรยานยนต์ในราคาต่ำกว่าราคาแท้จริงย่อมเป็นการผิดวิสัยของบุคคลทั่วไปผิดฐานรับของโจรฎีกาที่ 2608/2548
    7. รับซื้อของโจรจากโจรอีกทอดหนึ่งผิดฐานรับของโจรฎีกาที่ 1010/2506 และฎีกาที่ 4611/2533
    8.  ซื้อรถจักรยานยนต์ในราคาต่ำกว่าราคาจริงมากไม่มีแผ่นป้ายทะเบียนไม่มีคู่มือการจดทะเบียนและเอกสารการโอนและมีการมอบกุญแจที่ทำขึ้นเองใหม่หรือกุญแจปั๊มมีความผิดฐานรับของโจร อ้างอิงฎีกาที่ 14703/2557
    9.  รับจำนำปืนในราคาต่ำกว่าปกติและยังมีข้อพิรุธอื่นๆ เช่น ปืนถูกขูดลบเลขทะเบียนไม่ขอดูหลักฐานใบอนุญาตปืนถือว่าผิดปกติมีความผิดฐานรับของโจร ฎีกาที่ 558/2540
    เมื่อเช้าดูข่าวมีการอายัดรถหรูจำนวนมากสำแดงเท็จราคาต่ำกว่าท้องตลาดทำให้รัฐ สูญเสียภาษีนำเข้าไปเป็นเงิน 2,400,000,000 บาท เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรน่าจะเข้มงวดมากขึ้นนะครับเกี่ยวกับเรื่องสำแดงเท็จเพราะชาติบ้านเมืองเสียหายมากเหลือเกินครับการจับคนร้าย ก็เป็นเรื่องยากเพราะคนเหล่านี้มีเงินทองมีอำนาจวาสนามีเส้นสายยาก ในการที่จะดำเนินคดีแต่หวังว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษจะเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ครับ
เป็นกำลังใจครับถึงแม้ผลการตรวจสอบจะช้าสักหน่อย ท่านใดต้องการแลกเปลี่ยนข้อกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อรถมือสองหรือรถหนีไฟแนนซ์โทรมาคุยแลกเปลี่ยนกับทนายคลายทุกข์ได้ 081-6161425

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2336/2533 
    จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปจอดไว้ใต้ต้นไผ่ในสวนกาแฟห่างจากทางเดินประมาณ 100 เมตร และห่างจากลาน ตากกาแฟซึ่งเป็นที่พบตัวจำเลยประมาณ 500 เมตร อันเป็นการจอดในลักษณะซุกซ่อนประกอบกับจำเลยมีอาการตกใจเมื่อพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ และปฏิเสธเมื่อถูกซักถามถึงรถจักรยานยนต์ของกลาง พฤติการณ์ของจำเลยจึงฟังได้ว่าจำเลยรับรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดอันเป็นความผิดฐานรับของโจร.

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2511
    บิดาของจำเลยเป็นผู้ติดต่อรับซื้อรถจักรยานยนต์จากคนร้ายตลอดมา ส่วนจำเลยได้นำเอารถจักรยานยนต์เหล่านั้นไปฝากญาติไว้เพื่อหาคนซื้อต่อไปตามที่บิดาของจำเลยใช้ให้ไปดังนี้บิดาของจำเลยและจำเลยย่อมมีความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2537
    ส.เป็นญาติกับผ. บิดาผู้เสียหายไปไถ่รถจักรยานยนต์จาก ช.มาให้ผ.ได้เพราะจำเลยเป็นผู้ติดต่อบอกเบาะแสและพา ส.ไปเอารถจักรยานยนต์โดยจำเลยทราบว่าส. เป็นญาติกับผ.และส. ได้มอบเงินค่าไถ่รถจักรยานยนต์ให้จำเลยแล้ว จึงได้รถจักรยานยนต์คืนมา มิใช่จำเลยไปเป็นเพื่อน ส. เพื่อไถ่รถจักรยานยนต์ การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยเหลือคนร้ายจำหน่ายรถจักรยานยนต์อันเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ เป็นความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 วรรคสอง

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2533
    จำเลยรู้ว่ายางพาราแผ่นของกลางเป็นทรัพย์ที่คนร้ายไปลักมาแล้วนำไปซ่อน ไว้ การที่จำเลยลงมือเก็บยางพาราแผ่นเตรียมขนไปจึงเป็นการช่วย พาเอาไปเสียซึ่ง ทรัพย์ที่ได้ มา จากการลักทรัพย์จำเลยจึงมีความผิดฐาน รับของโจร.

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2552
    การกระทำความผิดฐานรับของโจร ผู้กระทำไม่จำต้องรับทรัพย์ของกลางไว้ในความครอบครองของตนเอง เพียงแต่ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดการที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ให้ อ. นั่งซ้อนท้าย บรรทุกโทรทัศน์ของกลางจะไปที่อำเภอดอนสัก โดยรู้อยู่ว่าเป็นโทรทัศน์ที่ อ. ลักมา ก็เป็นการช่วยพาเอาไปเสียอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานรับของโจรแล้ว

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2608/2548 
    แม้ขณะที่ ก. กับ จ. เอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจะไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์เนื่องจากได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย แต่ ก. กับ จ. มีหน้าที่ต้องนำรถจักรยานยนต์มาคืนผู้เสียหาย การที่ ก. กับ จ. ไม่นำมาคืน ผู้เสียหาย กลับนำไปขายให้แก่จำเลยทั้งที่ไม่ใช่ของตน ถือได้ว่า ก. กับ จ. มีเจตนาเบียดบังเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานยักยอก เมื่อจำเลยรับซื้อไว้ในราคาเพียง 800 บาท ต่ำกว่าราคาแท้จริง 7,000 บาท มาก โดยไม่ประสงค์ตรวจสอบเสียก่อนว่าคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมีชื่อ ก. กับ จ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่ ย่อมเป็นการผิดวิสัยของบุคคลโดยทั่วไป เชื่อว่าจำเลยรับซื้อไว้โดยรู้อยู่แล้วว่ารถจักรยานยนต์ที่ ก. กับ จ. นำมาขายได้มาจากการกระทำความผิดอาญาฐานยักยอก ดังนั้น ไม่ว่าการที่ ก. กับ จ. ได้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมาจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอก การกระทำของจำเลยถือว่าครบองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก แล้ว
แม้ฟ้องโจทก์จะบรรยายเพียงว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ โดยมิได้บรรยายถึงความผิดฐานยักยอกด้วย แต่ข้อเท็จจริงได้ความจากทางพิจารณาว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานยักยอกแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ และไม่ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสามได้

7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2506
    จำเลยที่ 2 รับของโจรกระบือจากบุคคลที่ลักมา แล้วขายให้จำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 รับซื้อไว้โดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าเป็นกระบือของร้าย ก็มีความผิดฐานรับของโจรได้

8. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4611/2533
    แม้การที่จำเลยที่ 1 ซื้อของกลางไว้ จะเป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล แต่ความผิดฐานรับของโจรมิใช่เป็นความผิดเฉพาะตัวนิติบุคคล จำเลยที่รับของโจรมิใช่เป็นเป็นความผิดเฉพาะตัวนิติบุคคลจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดเป็นส่วนตัวด้วย ความผิดฐานรับของโจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357มิใช่เป็นความผิดเฉพาะกรณีรับทรัพย์ไว้จากคนร้ายซึ่งลักทรัพย์หรือกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งตามมาตรา 357วรรคแรกโดยตรงเท่านั้น การรับทรัพย์ไว้จากผู้กระทำความผิดฐานรับของโจทก์ หากรับไว้โดยรู้อยู่ว่าทรัพย์ที่ถูกลักมาก็เป็นความผิดฐานรับของโจร

9.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2540
    จำเลยที่2เพียงรับจำนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไว้มิใช่ซื้อรถจักรยานยนต์จากป. ซึ่งจะต้องชำระเงินเต็มตามราคาทรัพย์สินที่ซื้อไว้แต่การรับจำนำเป็นเพียงการที่ผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยโดยปกติทั่วไปราคาทรัพย์ที่จำนำขึ้นอยู่กับผู้จำนำและผู้รับจำนำจะตกลงกันผู้จำนำอาจขอจำนำเพียง10ถึง20เปอร์เซ็นต์ของราคาทรัพย์ที่จำนำก็ได้เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันมากเกินไปแต่บางรายผู้จำนำอาจขอจำนำทรัพย์ในราคาที่สูงผู้รับจำนำอาจกำหนดราคาทรัพย์ที่จำนำให้ไม่สูงมากนักเพราะอาจเสี่ยงต่อการขาดทุนถ้าผู้จำนำไม่มาไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำภายในระยะเวลาที่กำหนดและผู้รับจำนำต้องนำทรัพย์ที่จำนำออกขายแล้วได้เงินไม่คุ้มกับเงินที่รับจำนำพร้อมดอกเบี้ยก็ได้ดังนั้นการที่จำเลยที่2รับจำนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายในราคา2,300บาทจึงมิใช่ข้อพิรุธที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่2รู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์รูปคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานรับของโจร
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก