ดำเนินคดีกับผู้ค้ำประกัน|ทนายคลายทุกข์,ทนาย,ค้ำประกัน,อายุความ

ดำเนินคดีกับผู้ค้ำประกัน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ดำเนินคดีกับผู้ค้ำประกัน

  • Defalut Image

คดีที่เจ้าหนี้ฟ้องทั้งลูกหนี้และผู้ค้ำประกันให้รับผิดศาลต้องพิพากษา

บทความวันที่ 28 มิ.ย. 2560, 10:15

มีผู้อ่านทั้งหมด 4952 ครั้ง


ดำเนินคดีกับผู้ค้ำประกัน

1. คดีที่เจ้าหนี้ฟ้องทั้งลูกหนี้และผู้ค้ำประกันให้รับผิดศาลต้องพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนถ้าไม่ชำระจึงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2540

    ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์ที่ด้านใดของเอกสาร เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์แผ่นเดียวกันมี 2 หน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงิน ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์หนังสือค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านที่เป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงินถึง200 บาท ทั้งที่ต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 93 บาท ส่วนหนังสือสัญญาค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท แสดงว่าโจทก์ปิดอากรแสตมป์ตามหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันครบถ้วนแล้ว จึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้
    เมื่อตามหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน

2. กรณีผู้ค้ำประกันฟ้องไล่เบี้ยลูกหนี้นั้นกฎหมายไม่ได้บัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี  ตามปพ. พ. มาตรา 193/30 โดยเริ่มนับจากวันที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2534

    โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการชำระเงินกู้ของจำเลยกับธนาคารไว้ต่อมาจำเลยผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารจึงหักบัญชีเงินฝากของโจทก์โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยเพื่อต้นเงินและดอกเบี้ยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164.

3. กรณีลูกหนี้ตายเจ้าหนี้ต้องฟ้องลูกหนี้ภายใน 1 ปีนับแต่เจ้าหนี้ทราบการตายของลูกหนี้ตามป.พ.พ. มาตรา1754 วรรคสามถ้าเจ้านี้ไม่ฟ้องลูกหนี้ในกำหนดเวลาดังกล่าว
ผู้ค้ำประกันยอมยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2552
 
    กรมสรรพากรโจทก์รู้ถึงความตายของ อ. แล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ภาษีอากร พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของ อ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ อ. จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 694

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2544
    ธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียน มีหนังสือลงวันที่ 3 ตุลาคม2538 ถึงธนาคารโจทก์ สาขาพัทลุง โดยมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 1ถึงแก่ความตายแล้วและขอให้ธนาคารโจทก์สาขาพัทลุง ช่วยคัดสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 เพื่อที่จะดำเนินคดีแก่ทายาทต่อไป ดังนี้ แสดงว่าธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียน ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้วกรณีจึงถือได้ว่าอย่างช้าในวันที่ 3 ตุลาคม 2538 โจทก์รู้ถึงความตายของจำเลยที่ 1 แล้วเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 11 ธันวาคม 2540 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694

4. หนี้ประธานขาดอายุความแต่ผู้ค้ำประกันกลับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปโดยไม่ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ย่อมสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5361/2553
    
    จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่า คดีที่ธนาคาร ก. ฟ้องจำเลยและโจทก์เป็นจำเลยนั้น จำเลยได้ให้การในคดีนั้นว่าขาดอายุความอย่างใดบ้าง คดีจะฟังว่าโจทก์ยอมชำระหนี้แก่ธนาคารทั้ง ๆ ที่จำเลยให้การและนำสืบอยู่ว่าคดีขาดอายุความ และโจทก์ทราบดีแล้วว่าสิทธิเรียกร้องของธนาคารขาดอายุความ อันจะถือว่าโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันละเลยไม่ยกข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ธนาคารตาม ป.พ.พ. มาตรา 695 ยังไม่ได้
เมื่อ ว. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ได้หักเงินค่าขายไก่ของจำเลยไว้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารครบถ้วนแล้ว แต่ ว. กลับมิได้นำเงินไปชำระหนี้แก่ธนาคาร ก. ตามที่จำเลยค้างชำระต่อธนาคาร โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องผูกพันรับผิดในการกระทำของ ว. ด้วย การที่ธนาคาร ก. ได้ฟ้องจำเลยและโจทก์เป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1486/2545 ของศาลชั้นต้น และโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปถือว่าเป็นการชำระหนี้แทนจำเลยตามจำนวนที่ ว. ตัวแทนของโจทก์ได้รับเอาไป มิใช่เป็นการชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิจากธนาคารมาฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ได้

5. การที่ลูกหนี้ทำหนังสือฝ่ายเดียวยอมรับสภาพหนี้โดยตกลงจากชำระหนี้ภายในกำหนดโดยเจ้าหนี้ไม่ได้ตกลงด้วยก็ไม่เป็นการผ่อนเวลาเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2508

    การที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ และสัญญาจะชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาหนึ่งโดยเจ้าหนี้มิได้ตกลงด้วยนั้น ไม่ผูกพันเจ้าหนี้
การที่เจ้าหนี้เพิ่งฟ้องคดี หาใช่เป็นการที่เจ้าหนี้แสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ยอมผ่อนเวลา (ขยายเวลา) ชำระหนี้อันมีกำหนดแน่นอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 ประการใดไม่ จึงไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นจากความรับผิด

สอบถามข้อกฎหมายเพิ่มเติมจากทนายคลายทุกข์ 02 948 5700 ในเวลาราชการ

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

สวัสดีค่ะ 

ดิฉันมีปัญหาคือว่า กู้ร่วมกลุ่มกัน 6 คน แต่ว่าผู้ที่กู้ร่วมด้วย ไม่ยอมจ่ายเงิน ทั้งต้นและดอกเลย ทิ้งภาระให้ ดิฉันต้องรับผิดชอบอยู่คนเดียว ดิฉันจะต้องทำยังไงได้บ้างค่ะ ที่จะแยกหนี้สิน หรือให้เขารับรู้และช่วยจ่ายเงินได้บ้างค่ะ 

โดยคุณ กานต์พิชชา สัพลักษณ์ 26 ส.ค. 2562, 16:45

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก