การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ต้องประกอบไปด้วย|การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ต้องประกอบไปด้วย

การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ต้องประกอบไปด้วย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ต้องประกอบไปด้วย

  • Defalut Image

1. ถ้าเป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนต้องมีอำนาจสอบสวนตามมาตรา 18 ถึงมาตรา 20

บทความวันที่ 12 พ.ค. 2560, 14:59

มีผู้อ่านทั้งหมด 2089 ครั้ง


การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  ต้องประกอบไปด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ถ้าเป็นคดีอาญาแผ่นดิน  พนักงานสอบสวนต้องมีอำนาจสอบสวนตามมาตรา 18 ถึงมาตรา 20
2. ผู้สรุปสำนวนทำความเห็นส่งพนักงานอัยการต้องเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 18 วรรคสาม มาตรา 19 วรรคท้ายหรือมาตรา 20 วรรคหนึ่ง
3. พนักงานสอบสวนต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหาโดยชอบตามมาตรา 134 วรรคหนึ่ง
หากสอบสวนไม่ชอบพนักงานในการย่อมไม่มีอำนาจฟ้องอ้างอิงฎีกาที่ 11423 / 2554 สอบถามข้อกฎหมายเพิ่มเติมได้ที่ทนายคลายทุกข์ 02-9485700 ในเวลาราชการเท่านั้น

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

    มาตรา 18  ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้
    สำหรับในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดหรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้
    ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนั้น ๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน
    ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคน การดำเนินการสอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น หรือผู้รักษาการแทน
 
มาตรา 19  ในกรณีดังต่อไปนี้
    (1) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่
    (2) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง
    (3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป
    (4) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน
    (5) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง
    (6) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง
    พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้
    ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน
    (ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจ
    (ข) ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้ คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจ
 
มาตรา 20  ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือจะมอบหมายหน้าที่นั้น ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนแทนก็ได้
    ในกรณีที่อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนมอบหมายให้พนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวน อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนจะมอบหมายให้พนักงานอัยการคนใดทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนก็ได้
    ให้พนักงานอัยการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือให้ทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนมีอำนาจและหน้าที่ในการสอบสวนเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน บรรดาอำนาจและหน้าที่ประการอื่นที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
    ในกรณีที่พนักงานอัยการทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของพนักงานอัยการในเรื่องที่เกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐาน
    ในกรณีจำเป็น พนักงานสอบสวนต่อไปนี้มีอำนาจสอบสวนในระหว่างรอคำสั่งจากอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน
    (1) พนักงานสอบสวนซึ่งผู้ต้องหาถูกจับในเขตอำนาจ
    (2) พนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศอื่นหรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา
    เมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวน แล้วแต่กรณี เห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้ทำความเห็นตามมาตรา 140 มาตรา 141 หรือมาตรา 142 ส่งพร้อมสำนวนไปยังอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11423/2554
    ในชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองไม่ได้ถูกแจ้งข้อหาจากพนักงานสอบสวนในข้อหาตามฟ้องข้อ 1 ก. บางส่วนและข้อ 1 ข. ว่าร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าว เมื่อพนักงานสอบสวนไม่ได้สอบสวนจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 พนักงานอัยการจึงต้องห้ามไม่ให้ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ที่ศาลล่างทั้งสองรับฟ้องในข้อหาดังกล่าวไว้พิจารณาและพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสอง จึงไม่ชอบ ถึงแม้ประเด็นนี้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก