"การนับระยะเวลาในการอุทธรณ์ฎีกา"|"การนับระยะเวลาในการอุทธรณ์ฎีกา"

"การนับระยะเวลาในการอุทธรณ์ฎีกา"

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

"การนับระยะเวลาในการอุทธรณ์ฎีกา"

  • Defalut Image

หากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์เป็นวันหยุดทำการ คู่ความมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่เริ่มทำงานใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้น

บทความวันที่ 12 พ.ค. 2560, 11:48

มีผู้อ่านทั้งหมด 13482 ครั้ง


"การนับระยะเวลาในการอุทธรณ์ฎีกา"

         หากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์เป็นวันหยุดทำการ คู่ความมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่เริ่มทำงานใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้น ตาม ปพพ.มาตรา 193/8 แต่หากศาลขยายเวลาอุทรณ์ให้ก็ให้นับเอาวันที่ต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้นของระยะเวลาที่ขยายออกไปตาม ปพพ.มาตรา 193/7 (ฎีกาที่ 128-129/2536 และฎีกาที่ 516/2522 ) เช่น ครบกำหนดหนึ่งเดือนในวันเสาร์คู่ความสามารถขอขยายเวลาอุทรณ์ในวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันแรกที่เปิดทำการได้แต่เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายศาลจะเริ่มนับหนึ่งในวันอาทิตย์ไม่ใช่นับหนึ่งในวันจันทร์ ฎีกาที่ 316/2546 และฎีกาที่ 567/2541

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 193/7  ถ้ามีการขยายระยะเวลาออกไปโดยมิได้มีการกำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป ให้นับวันที่ต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้น

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128 - 129/2536 
    วันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้คือวันที่ 12 เมษายน 2533 เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาไป 15 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดจึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2533 มิใช่วันที่ 17 เมษายน 2533 แม้ว่าวันที่12 ถึง 15 เมษายน 2533 เป็นวันหยุดราชการ และก่อนที่ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 16 เมษายน 2533 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ก็ตาม

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2522
    ระยะเวลาสิ้นสุดลงในวันหยุดราชการแต่ศาลสั่งให้ขยายออกไปอีก 5 วัน ต้องเริ่มในวันถัดไป ไม่คำนึงว่าวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันหยุดราชการ

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2546
    ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2543 ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำการใหม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปอีก 30 วัน จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดคือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2543 ซึ่งครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 22 สิงหาคม 2543 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีกในวันที่ 30 สิงหาคม 2543 จึงเป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วและเมื่อไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้นหรือเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีกหลายครั้ง จนกระทั่งจำเลยที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ก็ตาม ก็ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดเวลา ไม่ชอบที่จะรับอุทธรณ์ดังกล่าวไว้พิจารณา

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2541
    คดีนี้ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539แต่โจทก์ระบุในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ว่าครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 11 มิถุนายน 2539 อันเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์เอง ดังนี้เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน2539 จึงครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2539โจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2539 เป็นการ ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ขอขยาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์จึงชอบแล้ว

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

โดนอัยการอุธรณ์ปี 54จนป่านนี้ยังไม่ตกอยากรู้กีปีจะรู้ผล

โดยคุณ เอกวิทย์ 27 ก.ย. 2561, 19:49

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก