ผู้ที่จะขอสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร ต้องใช้ความระมัดระวังนะครับ|ผู้ที่จะขอสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร ต้องใช้ความระมัดระวังนะครับ

ผู้ที่จะขอสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร ต้องใช้ความระมัดระวังนะครับ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผู้ที่จะขอสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร ต้องใช้ความระมัดระวังนะครับ

ถ้าได้มีการจำหน่ายสินค้าของท่านเกินกว่า 12 เดือนก่อนขอรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร

บทความวันที่ 26 ก.ย. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2168 ครั้ง


 ผู้ที่จะขอสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร ต้องใช้ความระมัดระวังนะครับ

 
          ถ้าได้มีการจำหน่ายสินค้าของท่านเกินกว่า 12 เดือนก่อนขอรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร ก็ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้นะครับ อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 4518 / 2550
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4518/2550 
          การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตรได้นั้น พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทวิ บัญญัติไว้ 2 อนุมาตรา รวมความว่า ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมได้ ซึ่งปัญหาความใหม่นั้น เมื่อพิจารณามาตรา 65 ทศ ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 6 และอีกหลายมาตราในหมวด 2 ว่าด้วยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มาใช้บังคับกับหมวดว่าด้วยอนุสิทธิบัตรโดยอนุโลม โดยในมาตรา 6 วรรคแรก บัญญัติว่า การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว และในวรรคสองบัญญัติว่า งานที่ปรากฏอยู่แล้วให้หมายความถึงการประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (2) การประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร และไม่ว่าการเปิดเผยนั้นจะกระทำโดยเอกสาร สิ่งพิมพ์ การนำออกแสดง หรือการเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยประการใด ๆ นอกจากนี้ ในมาตรา 6 วรรคท้าย บัญญัติความตอนหนึ่งว่า การเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดโดยผู้ประดิษฐ์ภายในสิบสองเดือนก่อนที่จะมีการขอรับสิทธิบัตรมิให้ถือว่าเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดตาม (2) ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์จำหน่ายเทปโฟมกาวสองหน้ามาตั้งแต่ปี 2538 ก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2547 แล้ว การประดิษฐ์ดังกล่าวของโจทก์จึงมีหรือใช้อยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับอนุสิทธิบัตร และการที่โจทก์จำหน่ายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดย่อมเป็นการจำหน่ายแพร่หลายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 วรรคสอง อนุมาตรา (1) ดังกล่าว และถือว่าเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดของการประดิษฐ์ต่อสาธารณชนด้วยประการใด ๆ ตามอนุมาตรา (2) ด้วย เพราะบุคคลทั่วไปสามารถมองเห็นได้ว่าการประดิษฐ์ของโจทก์ใช้กรรมวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งมาก การประดิษฐ์ของโจทก์จึงเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ถึงแม้โจทก์จะเป็นผู้ทำให้เทปโฟมกาวสองหน้านั้นมีหรือใช้แพร่หลาย และเป็นผู้เปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดของการประดิษฐ์นั้นเองดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นการกระทำเกินกว่ากำหนดเวลาสิบสองเดือนก่อนโจทก์ขอรับอนุสิทธิบัตร กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 6 วรรคท้าย ที่จะไม่ถือว่าเป็นการทำให้แพร่หลายและเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดการประดิษฐ์ก่อนวันขอรับอนุสิทธิบัตร เทปโฟมกาวสองหน้าซึ่งเป็นการประดิษฐ์ของโจทก์จึงไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตามพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทวิ, 65 ทศ ประกอบมาตรา 6 แม้โจทก์ได้รับอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ก็เป็นอนุสิทธิบัตรที่ได้ออกให้โดยไม่ชอบด้วยมาตรา 65 ทวิ, 65 ทศ ถือว่าอนุสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์ ไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิตามอนุสิทธิบัตร โจทก์ไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าจำเลยทั้งสามฝ่าฝืนสิทธิเด็ดขาดของโจทก์ผู้ทรงอนุสิทธิบัตร และไม่อาจใช้มาตรการบังคับจำเลยทั้งสามตามสิทธิของอนุสิทธิบัตรนั้น ซึ่งศาลมีอำนาจยกความไม่สมบูรณ์นี้ขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 65 ทวิ

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก