จะมีความผิดไหมหากไม่แสดงหลักฐานที่ทายาทมีผู้สืบสันดาน|จะมีความผิดไหมหากไม่แสดงหลักฐานที่ทายาทมีผู้สืบสันดาน

จะมีความผิดไหมหากไม่แสดงหลักฐานที่ทายาทมีผู้สืบสันดาน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

จะมีความผิดไหมหากไม่แสดงหลักฐานที่ทายาทมีผู้สืบสันดาน

ลุงของผมเป็นทหาร เสียชีวิตและภรรยาลุง ก็เสียแล้วเหมือนกัน

บทความวันที่ 30 มี.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 632 ครั้ง


จะมีความผิดไหมหากไม่แสดงหลักฐานที่ทายาทมีผู้สืบสันดาน

          ลุงของผมเป็นทหาร เสียชีวิตและภรรยาลุง  ก็เสียแล้วเหมือนกัน ลุงกับป้ามีลูกสองคนเสียชีวิตแล้ว  พ่อผมเป็นน้องชายของลุงที่เกิดจากบิดามารดารเดียวกัน (ปู่กับย่าเสียไปนานแล้ว) แล้วพ่อร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว  ศาลก็อนุมัติมาให้แล้วแต่มีอยู่ว่าลูกสาวของลุงมีลูกสองคน โดยที่พ่อของผมไม่รู้เลยว่าลูกสาวของลุงมีลูก(เพราะอยู่ไกลกัน)แล้วพ่อของเด็กสองคนนั้นมาร้องคัดค้าน จะทำได้ไหมครับ ถ้าทำได้พ่อของผมจะมีความผิดไหมครับที่ไม่ได้แสดงหลักฐานว่า ลูกสาวของลุงมีทายาท แต่ว่าลูกสาวลุงไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับแฟนของเขานะครับ (แล้วเด็กสองคนนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะเลยนะครับ)แล้วในใบมรณะบัตร  บอกว่าเป็นนางสาวสถานะภาพโสด

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
          ปัญหาของคุณเป็นเรื่องของการจัดการมรดกของลุงซึ่งเป็นเจ้ามรดก  โดยก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจความหมายของคำว่า "ผู้สืบสันดาน" ก่อน  ซึ่งหมายถึง ลูก หลาน เหลน ลื่อ  ซึ่งตามปัญหาของคุณคือ ลูกสาวของลุงซึ่งเป็นผู้สืบสันดานได้ถึงแก่ความตายแล้ว  แล้วปรากฎว่าเขามีลูกสองคน  ซึ่งมีฐานะเป็นหลาน  และตามกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของลุงเจ้าของมรดก  เพราะฉะนั้นบุตรของลูกสาวลุง  ซึ่งเป็นหลานของเจ้ามรดกจึงเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1  มีสิทธิรับมรดกของลุง(เจ้ามรดก) โดยมีสิทธิรับมรดกแทนมารดาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(1),(2), 1631
         ส่วนบุตรของลูกสาวลุงดังกล่าว  ซึ่งได้เกิดจากมารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดา  บิดาดังกล่าวจึงมิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของหลานเจ้ามรดกดังกล่าว  แต่หลานเจ้ามรดกย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่ผู้เดียว  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546  ฉะนั้น  บิดาของเด็กสองคนดังกล่าว  จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องคัดค้านการเป็นผู้จัดการมรดกของพ่อคุณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727
         เพราะฉะนั้น  พ่อคุณซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3  เพราะเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับลุงเจ้ามรดก  ซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว  แม้พ่อคุณในฐานะเจ้ามรดกจะไม่ได้แสดงบัญชีเครือญาติว่าลูกสาวของลุงมีทายาท  ก็เป็นเรื่องของการไม่ทราบ  อันจะเกิดขึ้นจากความผลั้งเผลอของตน  ที่ไม่ตรวจสอบให้ดี  จึงเป็นกรณีที่กระทำไปโดยสุจริต จึงไม่เป็นความผิดแต่ประการใด

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1629 
ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1)  ผู้สืบสันดาน
(2)  บิดามารดา
(3)  พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4)  พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5)  ปู่ ย่า ตา ยาย
(6)  ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

มาตรา 1631  ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่

มาตรา 1727  ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง
แม้ถึงว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี ผู้จัดการมรดกจะลาออกจากตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล

 

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก