แบ่งสินสมรสจากบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ|แบ่งสินสมรสจากบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

แบ่งสินสมรสจากบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

แบ่งสินสมรสจากบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

แฟนหนูบังคับให้หนูเซ็นต์ใบหย่าที่อำเภอ โดยมีการแบ่งที่ดินคนละครึ่ง

บทความวันที่ 19 มิ.ย. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11229 ครั้ง


แบ่งสินสมรสจากบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

    แฟนหนูบังคับให้หนูเซ็นต์ใบหย่าที่อำเภอ โดยมีการแบ่งที่ดินคนละครึ่ง ก่อนอย่าหนูได้โอนที่ดินให้เป็นของลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตอนนี้แฟนหนูฟ้องที่จะแบ่งที่ดินให้ได้ หนูต้องการเก็บที่ดินไว้ให้ลูก ไม่ทราบว่าเค้าจะฟ้องได้หรือไม่ ถ้าฟ้องได้ใครจะได้เปรียบในรูปคดีมากกว่ากัน


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
           การที่ท่านโอนที่ดินสินสมรสให้แก่บุตรผู้เยาว์โดยเสน่หาและไม่ได้รับความยินยอมจากสามีด้วย สัญญายกให้ซึ่งที่ดินแก่บุตรโดยเสน่หาดังกล่าว ก็ไม่ผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของท่านตาม ป.พ.พ.มาตรา 1533 ประกอบมาตรา 1361 วรรคสอง ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของท่านตามมาตรา 1361 วรรคหนึ่ง สามีจึงฟ้องขอมห้เพิกถอนสัญญาโอนที่ดินพิพาทระหว่างท่านกับบุตรผู้เยาว์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของท่านได้

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1361
  เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตน หรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้
            แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน
            ถ้าเจ้าของรวมคนใดจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันทรัพย์สินโดยมิได้รับความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน แต่ภายหลังเจ้าของรวมคนนั้นได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินแต่ผู้เดียวไซร้ ท่านว่านิติกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์

 มาตรา 1533 เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก