ขอคัดค้านการครอบครองสิทธิ์|ขอคัดค้านการครอบครองสิทธิ์

ขอคัดค้านการครอบครองสิทธิ์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ขอคัดค้านการครอบครองสิทธิ์

เนื่องจากตอนปู่มีชีวิตอยู่มีห้องเช่า 3 ห้องแบ่งให้ลูก 3 คนคือคนที่ 1,3,5 ในจำนวนลูก 7 คน

บทความวันที่ 26 พ.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 952 ครั้ง


ขอคัดค้านการครอบครองสิทธิ์

           เนื่องจากตอนปู่มีชีวิตอยู่มีห้องเช่า 3 ห้องแบ่งให้ลูก 3 คนคือคนที่ 1,3,5 ในจำนวนลูก 7 คน แต่ไม่ได้ทำพินัยกรรมและลูกทุกคนรับรู้ ต่อมาปู่และลูกคนที่1และ ลูกคนที่ 5 เสียชีวิต  แต่ภรรยาของลูกคนที่ 5 ยังคงได้รับค่าเช่าห้อง ส่วนลูกคนที่ 3 ได้อาศัยอยู่ในส่วนของตนเองและห้องของลูกคนที่ 1 ก็ให้ลูกหลานอาศัยอยู่ ต่อมาห้องของลูกคนที่ 5 ผุพังไปเหลือเพียงที่เปล่า ต่อมาลูกคนที่ 3 ต้องการสิทธิ์ที่จะครอบครองที่ดินส่วนซึ่งอยู่ติดกัน (ลูกคนที่ 5 มีภรรยาจดทะเบียนสมรสแล้วและมีบุตรด้วยกัน 4 คน)  รบกวนถามว่าภรรยาและลูกของลูกคุณปู่คนที่ 5 จะขอคัดค้านการครอบครองสิทธิ์ของลูกคนที่ 3 ได้ไหม  จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
         ขณะที่คุณปู่  ยังมีชีวิตอยู่นั้นได้แบ่งห้องเช่าจำนวน  3 ห้อง  ให้บุตรที่ 1,3,5  ตามลำดับ  คนละ 1 ต้อง  จึงเป็นกรณีที่คุณปู่ได้ให้ห้องเช่าแก่บุตรดังกล่าว  อันเป็นการให้โดยเสน่หา  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 521  ซึ่งทำให้บุตรคนที่ 1,3 และ 5  สิทธิครอบครองในห้องเช่าแต่ละห้องตามสิทธิของตน  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1369
          ดังนั้น  การที่บุตรคนที่ 3  ประสงค์ที่จะให้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินของบุตรคนที่ 5 ซึ่งอยู่ติดกัน  ย่อมเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินของบุตรคนที่ 5  โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและถือว่าการแย่งการครอบครองของบุตรคนที่ 3  นั้น  ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของภริยา  บุตรของบุตรคนที่ 5  ตามกฎหมายซึ่งเขาเป็นทายาทโดยธรรมของบุตรคนที่ 5  เจ้ามรดกมีสิทธิที่จะได้ที่ดินพร้อมห้องเช่ามรดกของบุตรคนที่ 5  ดังกล่าวตามกฎหมาย  ภรรยาและบุตรของบุตรคนที่ 5 จึงย่อมมีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องคดีคัดค้านการถูกแย่งการครอบครองที่ดินของบุตรคนที่ 3 นั้นได้  อันเป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดิน  โดยต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี  นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง  มิฉะนั้น  ย่อมเป็นการขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1367
  บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง

มาตรา 1369  บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินไว้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลนั้นยึดถือเพื่อตน

มาตรา 1375  ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครอง เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครองได้
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก