สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อม|สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อม

สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อม

ผมเป็นลูกค้าธนาคารมา 15 ปี ด้วย คำว่าเพื่อนคู่คิดมิตรคู่บ้าน

บทความวันที่ 10 พ.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 9218 ครั้ง


สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อม

          ผมเป็นลูกค้าธนาคารมา 15 ปี  ด้วย คำว่าเพื่อนคู่คิดมิตรคู่บ้าน วันนี้ได้ปรากฏกับทางผมเองแล้วว่าไม่ใช่จริงๆ เรื่อง คือผมสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ ดูเรื่องดีๆ นะครับ
          1. สั่งจ่ายเช็ค ลงชื่อ สำนักงานประกันสังคม ขีดคร่อม และขีดฆ่าหรือผู้ถือออก  แต่ปรากฏว่าธนาคารกรุงเทพได้ตัดเงินในบัญชีผม ตามจำนวน แต่ไม่ได้จ่ายประกันสังคมกับไปจ่ายให้บุคคลอื่น ทำให้สำนักงานประกันสังคมเรียกเก็บที่ผม  ว่ายังไม่ได้ชำระเงิน  ผมเลยเข้าตรวจสอบปรากฏว่าแบงก์ได้จ่ายให้บุคลอื่นจริง ผลการสอบแบงก์บอกว่าไม่ผิด เป็นความผิดของทางลูกค้า แต่ยินดีชดใช้ให้ครึ่งเดียว  ผมเลยงง ครับเงินผมสั่งจ่ายอย่างถูกต้อง ยังบอกว่าเป็นความผิดของคุณลูกค้า แสดงว่าที่ใช้ให้ครึ่งหนึ่งเป็นบุญเป็นคุณแล้วนะครับ  นี่หรือครับมิตรคู่บ้าน ผมว่าเรื่องนี้ผมจะทำอย่างไรดี ขอปรึกษาหน่อยครับ และอยากแจ้งให้เพื่อนทราบด้วยว่าต้องระวังให้ดีๆ กับ การกระทำของแบงก์
         2. พอผมตรวจสอบอีกหลายฉบับที่สั่งจ่ายไปเหมือนกันพบว่า มีอีกสองฉบับ และระงับทันหนึ่งฉบับ ซึ่งอีกสองฉบับ ที่ทางแบงก์เอาไปเข้าบุคคลอื่นๆ ก็ตอบมาเหมือนกันครับ  ว่าเป็นความผิดของคุณลูกค้า ดังนั้นแบงก์ช่วยครึ่งหนึ่ง  เป็นบุญเป็นคุณอีกต่างหากสำหรับเพื่อนคู่คิด
          ผมอยากทราบว่าผมผิดหรือ กับเช็คทั้ง 3 ฉบับ ทั้งๆที่ ระบุชื่อผู้รับ ขีดคร่อมเข้าบัญชี และขีดฆ่าหรือผู้ถือออก  ผมอยากหาทนายที่มีความรู้ด้านนี้ช่วยทำความถูกต้องให้ประจักษ์แก่คนทั่วไป  ผมอยากให้ช่วยส่งตั๋ว  อย่างนี้ว่าเราจะเชื่อใจและวางใจเงินของเรากับทาง แบงก์กรุงเทพได้อย่างไร

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
           ตามปัญหาของท่าน เมื่อท่านได้สั่งจ่ายเช็คจำนวน 3 ฉบับ โดยที่ระบุชื่อผู้รับ ขีดคร่อมเช็ค และทำการขีดฆ่าคำว่า ผู้ถืออก เช็คของท่านดังกล่าว จึงเป็นเช็คชนิดระบุชื่อที่มีการขีดคร่อมเช็ค ซึ่งสำนักงานประกันสังคม เป็นผู้ทรง(เจ้าหนี้ตามเช็คทั้งสามฉบับ) จะต้องนำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีธนาคาร เพื่อให้ธนาคารนั้นเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็คต่อไป และเมื่อปรากฎว่าธนาคารได้ทำการหักเงินในบัญชีของท่านตามจำนวนที่ท่านได้สั่งจ่ายให้สำนักงานประกันสังคม จำนวน 3 ฉบับนั้น โดยไม่ได้จ่ายให้แก่สำนักงาน แต่กลับไปจ่ายให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งตามกฎหมายแล้วย่อมเป็นเรื่องที่ธนาคารกรุงเทพในฐานะลูกหนี้ได้จ่ายเงินให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้ การจ่ายเงินของธนาคารกรุงเทพดังกล่าว ย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 315 และเป็นการจ่ายเงินไปด้วยความประมาทเลินเล่อของธนาคาร ตามกฎหมายจึงถือว่า ธนาคารได้ใช้เงินไปตามเช็คนั้นเป็นการเป็นการผิดระเบียบ ซึ่งธนาคารก็ยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว ธนาคารจึงต้องรับผิดต่อท่านผู้สั่งจ่ายและธนาคารก็ยังคงมีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายเงินให้แก่สำนักงานประกันสังคมผู้ทรงให้ถูกต้องตามมูลเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 998, มาตรา 1009
         ดังนั้น เมื่อท่านเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมทั้ง 3 ฉบับโดยถูกต้อง แต่เมื่อท่านตรวจสอบธนาคารกลับแจ้งว่าเป็นความผิดของท่านซึ่งเป็นลูกค้า โดยธนาคารยินดีชดใช้ให้ครึ่งหนึ่ง และก็ยังมีเช็คฉบับอื่นที่ธนาคารได้จ่ายเงินเข้าบัญชีบุคคลอื่นผิดไปด้วยเช่นกัน ตามกฎหมายจึงถือว่าการที่ธนาคารได้หักเงินจากบัญชีของท่านจ่ายให้แก่บุคคลอื่นไปนั้น แล้วยินยอมชดใช้ให้แก่ท่านครึ่งหนึ่ง ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของท่านตามกฎหมาย ชอบที่ท่านจะฟ้องคดีให้ธนาคารชดใช้เงินคืนตามบัญชีให้แก่ท่านได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
แนะนำให้ท่านนำเอกสารเกี่ยวกับเรื่องพิพาททั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคดีเข้ามาพบทนายความที่สำนักงานทนายคลายทุกข์เพื่อปรึกษาเรื่องรูปคดีต่อไป

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 315
อันการชำระหนี้นั้น ต้องทำให้แก่ตัวเจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ การชำระหนี้ให้แก่บุคคลผู้ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น ถ้าเจ้าหนี้ให้สัตยาบันก็นับว่าสมบูรณ์

มาตรา 998 ธนาคารใดซึ่งเขานำเช็คขีดคร่อมเบิกเงิน ใช้เงินไปตามเช็คนั้นโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ กล่าวคือว่าถ้าเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ใช้เงินให้แก่ธนาคารอันใดอันหนึ่ง ถ้าเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะก็ใช้ให้แก่ธนาคารซึ่งเขาเจาะจงขีดคร่อมให้โดยเฉพาะ หรือใช้ให้แก่ธนาคารตัวแทนเรียกเก็บเงินของธนาคารนั้นไซร้ ท่านว่าธนาคารซึ่งใช้เงินไปตามเช็คนั้นฝ่ายหนึ่ง กับถ้าเช็คตกไปถึงมือผู้รับเงินแล้ว ผู้สั่งจ่ายอีกฝ่ายหนึ่งต่างมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกัน และเข้าอยู่ในฐานะอันเดียวกันเสมือนดั่งว่าเช็คนั้นได้ใช้เงินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแล้ว

มาตรา1009 ถ้ามีผู้นำตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถามมาเบิกต่อธนาคารใด และธนาคารนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อไซร้ ท่านว่าธนาคารไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน หรือการสลักหลังในภายหลังรายใด ๆ ได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้นและถึงแม้ว่ารายการสลักหลังนั้นจะเป็นสลักหลังปลอมหรือปราศจากอำนาจก็ตาม ท่านให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 55
เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 6

 สาธุอย่าเกิดอะไรขึ้นกับนางวรินดาโกมินทร์อีกเลยณะคะ

โดยคุณ 9 มี.ค. 2556, 02:47

ความคิดเห็นที่ 5

ตอนจ่ายเช็ค นำเช็คส่งให้สนง.ประกันสังคมหรือเปล่า เพราะเช็คจ่ายชื่อหน่วยราชการ หรือนิติบุคคล

ถ้าหน่วยงานนั้น ๆ เป็นผู้นำเข้าบัญชีเอง ไม่น่าจะผิด

โดยคุณ oi 7 ธ.ค. 2553, 10:14

ตอบความคิดเห็นที่ 5

กรณีจะต้องพิจารณาว่าเช็คดังกล่าว เป็นเช็คขีดคร่อมหรือไม่ ผู้ทรงจะต้องนำเช็คไปเข้าบัญชีธนาคารเพื่อให้ธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 21 ธ.ค. 2553, 16:19

ความคิดเห็นที่ 4

กรณีจะต้องพิจารณาว่าเช็คดังกล่าว เป็นเช็คขีดคร่อมหรือไม่ ผู้ทรงจะต้องนำเช็คไปเข้าบัญชีธนาคารเพื่อให้ธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 21 ธ.ค. 2553, 16:19

ความคิดเห็นที่ 3

มีวิธีทำอย่างไรบ้างหากผู้อนุมัติสั่งจ่ายเช็คนั้นเกินจากยอดหนี้จริงที่ต้องชำระ

โดยคุณ นู๋ 1 ก.ย. 2553, 08:01

ตอบความคิดเห็นที่ 3

บอกกล่าวเรียกให้ผู้สั่งจ่ายเช็คทราบ เพื่อดำเนินการสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้ตรงกับยอดหนี้จริงที่ต้องชำระหนี้ต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 5 ก.ย. 2553, 11:29

ความคิดเห็นที่ 2

บอกกล่าวเรียกให้ผู้สั่งจ่ายเช็คทราบ เพื่อดำเนินการสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้ตรงกับยอดหนี้จริงที่ต้องชำระหนี้ต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 5 ก.ย. 2553, 11:29

ความคิดเห็นที่ 1

จ่ายด้วยเช็ค ที่ตัดจากบัญชีกระแสรายวันของธนาคารกรุงเทพหรือครับ ปกติ ผู้ที่ตรวจ A/C Payee Only มันควรจะเป็นธนาคารที่รับฝากเช้ค ที่ที่ประกันสังคมเอาไปขึ้นเงินนะครับผมว่า

ปกติ ราชการมักใช้บริการธนาคารกรุงไทย ซึ่งมีสาขารับเช็คเคลียริ่งถึงบ่ายสามแล้ว http://www.facebook.com/pages/KTB-Care/178373518915?v=wall&story_fbid=427564333915

โดยคุณ ohm 4 ส.ค. 2553, 23:25

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก