การปราบปรามทุริตภายในองค์กร|การปราบปรามทุริตภายในองค์กร

การปราบปรามทุริตภายในองค์กร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การปราบปรามทุริตภายในองค์กร

  • Defalut Image

คำนิยามเกี่ยวกับการทุจริตภายในองค์กร

บทความวันที่ 25 เม.ย. 2560, 10:15

มีผู้อ่านทั้งหมด 12612 ครั้ง


การปราบปรามทุริตภายในองค์กร

คำนิยามเกี่ยวกับการทุจริตภายในองค์กร

  1. “สุจริต”

หมายถึง การกระทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย/หรือรับผิดชอบ เพื่อประโยชน์ขององค์กร /มีความสมเหตุสมผล  และมิได้มีการฝ่าฝืนกฎระเบียบ/กฎหมาย/ศีลธรรมอันดีของประชาชน/และผู้กระทำมิได้กระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่น

ยกตัวอย่าง เช่น

เป็นพนักงานจัดซื้อจัดจ้าง มีหน้าที่ในการสั่งซื้อสินค้ามาใช้งานในบริษัท ตามคำสั่งของบริษัท ผู้ขายสินค้าเสนอเงินค่าคอมมิชชั่นเพื่อจูงใจให้พนักงานจัดซื้อจัดจ้างเร่งนำเสนอให้นายจ้างเพื่อพิจารณาสั่งซื้อ พนักงานจัดซื้อไม่ยอมรับข้อเสนอและแนะนำให้ผู้ขายสินค้าทำตามขั้นตอนของบริษัทเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท โดยไม่ยอมกินตามน้ำ หรือรับสินบน โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ที่ตนมีอำนาจเสนอเรื่องให้กับนายจ้างเพื่อพิจารณาสั่งซื้อ เป็นต้น

 “ทุจริต”

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) “โดยทุจริต”  

หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ใช้ความหมายตามพจนานุกรม  

หมายถึง   ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง

ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4

            “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

ตามพ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 3

“ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทำการอันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา หรือตามกฎหมายอื่น

“ประพฤติมิชอบ” หมายความว่า ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่มุ่งหมายจะควบคุมดูแลการรับ การเก็บรักษา หรือการใช้เงินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน

สาเหตุของการทุจริต

  1. มีโอกาสทุจริต   กฎระเบียบไม่รัดกุม/ขาดการควบคุม /ใช้ดุลพินิจได้โดยอิสระ

ตัวอย่างที่ 1  การทุจริตโปรโมชั่นสินค้า ทีวี จอแอลอีดี  ผู้ผลิตโทรทัศน์และจอแอลอีดียี่ห้อดังจัดให้มีการโปรโมชั่นคืนกำไรให้กับลูกค้า ในช่วงสิ้นปี ระยะเวลาสั้น ๆ ลดราคาร้อยละ 30  แต่ต้องชำระราคาเต็มก่อน หลังจากนั้นให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าทำเรื่องกับบริษัทโดยตรงเพื่อขอส่วนลดเป็นเงินสดคืนภายหลัง  พนักงานฝ่ายขายสบโอกาส จึงไปร่วมกับตัวแทนจำหน่าย ซื้อสินค้าตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่กำหนด โดยกำหนดให้ซื้อสินค้ารวม 3 ชนิดในเวลาเดียวกัน  หลังจากนั้นนำสินค้าไปซ่อนไว้ตามที่ต่าง ๆ  และมาขอส่วนลดเงินสดคืนภายหลังทั้งที่มิใช่ลูกค้าที่แท้จริง

ตัวอย่างที่ 2  พนักงานขายยาในกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ขายยาให้กับลูกค้าของบริษัท ใช้เวลางานทำงานให้กับบุคคลภายนอก โดยนำยาของบุคคลภายนอกมาขายร่วมกับยาของบริษัท ให้กับลูกค้าของบริษัท โดยฉวยโอกาสในช่วงที่ออกไปทำงานนอกสำนักงาน ไม่มีการตรวจสอบ

  1. มีผลประโยชน์จูงใจ   ค่าครองชีพสูง/รายได้ต่ำ /มีหนี้สินเยอะ/ทำงานภายใต้หัวหน้าซึ่งเป็น

ผู้มีอิทธิพล /มีคนเสนอเงินให้ /ทำให้ทุจริต

  1. มีความเสี่ยงภัยน้อย    มีโอกาสถูกจับได้น้อย / เพราะไม่มีการตรวจสอบ/ทำงานเพียงคน

เดียว/ไม่มีการควบคุม/ ไม่มีการติดตามประเมินผล  เช่นพวกพนักงานฝ่ายขายในต่างจังหวัดเป็นต้น 

  1. ไม่มีความซื่อสัตย์  ถึงแม้จะมีกฎระเบียบที่เข้มงวด แต่ถ้าไม่มีความซื่อสัตย์การทุจริตมี

โอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ

  1. วัฒนธรรมในองค์กร  ถ้าวัฒนธรรมในองค์กรไม่ให้ความสำคัญกับธรรมมาภิบาลจะเป็น

สาเหตุสำคัญของการทุจริตในองค์กร

รูปแบบของการทุจริต

  1. เกิดจากปัจจัยภายนอก

ตัวอย่างที่ 1 การติดต่อขายสินค้าให้กับลูกค้าบางครั้งมีเจ้าหน้าที่ของลูกค้าที่ต้องการสั่งซื้อสินค้ามีการเรียกสินบน ทำให้ผู้ขายสินค้าต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของลูกค้าเพื่อให้ขายสินค้าได้ 

ตัวอย่างที่ 2  สำนักงานทนายความที่รับงานจากสถาบันการเงิน  จำนวนมากจ่ายเงินใต้โต๊ะเป็นร้อยละให้กับเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดจ้างสำนักงานทนายความนอก นอกจากจะเรียกเงินใต้โต๊ะแล้ว ยังบังคับให้สำนักงานทนายความต้องพาไปเลี้ยงดูปูเสื่อตามสถานเริงรมย์อีกส่วนหนึ่ง

  1. เจ้าของกิจการทุจริต

ตัวอย่างที่ 1  ตั้งบริษัทขึ้นมาทำธุรกิจขายตรงแต่ธุรกิจที่แท้จริงมีความผิดตามพรก.กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือแชร์ลูกโซ่

ตัวอย่างที่ 2  ตั้งบริษัทขึ้นมาหลอกลวงประชาชน โดยการจัดหางาน เก็บเงินจากชาวบ้านในต่างจังหวัด แต่ไม่มีงานให้ทำ

ตัวอย่างที่ 3  ตั้งบริษัทขึ้นมาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน  แต่ไม่มีการซื้อขายจริง หลอกเอาเงินประชาชนหลบหนีไป

  1. ผู้บริหารและพนักงานทุจริต

ตัวอย่างที่ 1 ผู้บริหารธนาคารให้บุคคลในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงตั้งบริษัทประเมินราคาทรัพย์สินในการขอสินเชื่อ หรือจัดจ้างบริษัทขนเงินหรือบริษัทรักษาความปลอดภัย ที่เป็นของพวกพ้องตนเอง โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์

ตัวอย่างที่ 2 ผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ มีอำนาจในการว่าจ้างบริษัทจัดหาคนงานมาทำงานในโรงงานครั้งละประมาณ 1,000 คน ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่บีบบังคับบริษัทจัดหางานต้องนำพนักงานทั้งหมดมาพักอาศัยในอพาร์ตเมนท์ของตนเอง

  1. การรับประโยชน์ที่มิควรได้

ตัวอย่างที่ 1  พนักงานฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง มีอำนาจในการจัดซื้อจัดจ้าง รับสินบนจากผู้ขายสินค้า ซึ่งนำเงินมาให้โดยที่ตัวเองไม่ได้ร้องขอที่เรียกว่ากินตามน้ำ 

  1. สวัสดิการที่สูงเกินควร

ตัวอย่างของสวัสดิการที่บริษัทให้กับผู้บริหารและพนักงาน

  • ค่าน้ำมันรถ
  • ตั๋วเครื่องบินราคาถูก
  • งบรับรองสำหรับผู้บริหารระดับสูง
  • ค่าเช่าบ้านสำหรับผู้บริหาร
  • รถประจำตำแหน่งผู้บริหาร
  • สิทธิในการใช้หอประชุมหรือห้องอบรมสัมมนา

 ลางบอกเหตุว่าจะมีการทุจริต

  1. นโยบายเอื้อประโยชน์พวกพ้อง

การจัดซื้อสินค้าที่ไม่สมควรซื้อ , การจัดจ้างบุคคลที่ไม่สมควรจ้าง , การแต่งตั้งโยกย้ายคนสนิทของผู้บริหาร ที่ไม่มีความรู้ความสามารถไปดูแลตำแหน่งสำคัญเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทุจริต  การไม่สนับสนุนคนเก่งคนดี

  1. พฤติกรรมที่ผิดปกติของคนในองค์กร

ร่ำรวยผิดปกติ , ขาดงานบ่อย , ไม่เคยขาดไม่เคยลา , ทุ่มเทงานเกินเหตุ  ,ติดการพนัน มีปัญหาเรื่องชู้สาว  , มีคดีความติดตัว มีหนี้สินมาก  มีหนังสือทวงหนี้มายังบริษัท

  1. ยอดขายและยอดสั่งซื้อที่ผิดปกติ

ตัวอย่างที่ 1  ยอดขายเดือนละ 5 ล้าน แต่พนักงานขายแจ้งว่ามีลูกค้ารายหนึ่งต้องการซื้อสินค้าจาก 5 ล้านเป็น 30 ล้านประจำเดือนนี้ และมีเอกสารประกอบ จากลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือสูง  เช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ สถาบันการเงิน ประกอบ แต่เจ้าของสินค้าไม่ได้ตรวจสอบความมีอยู่จริงของใบสั่งซื้อสินค้า เพราะไว้วางใจพนักงานฝ่ายขาย และลูกค้าที่ติดต่อการค้ากันมานาน ผลสุดท้าย ปรากฏว่า เช็คที่ชำระค่าสินค้าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ทุกฉบับ เมื่อตรวจสอบภายหลังจึงพบว่าเป็นคำสั่งซื้อปลอมทั้งสิ้น

ตัวอย่างที่ 2 พนักงานขายสินค้าประเภทยา มียอดขายตกลงทุกวันโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่พนักงานคนอื่นมียอดขายปกติ ตรวจสอบภายหลังพบว่ามีการนำยาของคู่แข่งมาขายให้กับลูกค้าของบริษัทที่ตนเองทำงาน ทำให้ยอดสั่งซื้อลดลง เพราะต้องไปซื้อสินค้าของคู่แข่งแทน

  1. การเพิ่มขึ้นของหนี้สินที่ผิดปกติ

ตัวอย่างที่ 1 เป็นพนักงานติดตามหนี้ของสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค เก็บเงินจากลูกค้าแล้วนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว  ทั้งที่บริษัทให้รายงานความคืบหน้าในการจัดเก็บเงินประจำเดือน แต่รายงานเท็จว่าไปติดตามหนี้แล้วลูกค้าขอเลื่อนการชำระหนี้หรือไม่พบตัวลูกค้าเป็นต้น สืบทราบภายหลังพบว่านำเงินไปเล่นการพนัน เป็นจำนวนถึง 5 ล้านบาท

  1. การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่าย

ตัวอย่างที่ 1 ร้านสะดวกซื้อมีความจำเป็นจะต้องสั่งจ้างช่างมาซ่อมเกี่ยวกับตู้แช่สินค้าและจะต้องดูแลและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ปรากฏว่ามีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการซ่อมแซม เปลี่ยนอะไหล่ การตรวจซ่อมมีความถี่มากกว่าปกติ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่สมเหตุสมผลเป็นจำนวนมาก  ตรวจสอบภายหลังพบว่าผู้มีอำนาจในการสั่งซ่อมและบริษัทที่รับจ้างดูแลซ่อมแซมมีการจ่ายเงินสินบนให้กับผู้สั่งซ่อมเป็นเงินใต้โต๊ะ

  1. ของหายหรือเสียบ่อย
  2. เงินสดขาดเกินบัญชีเป็นประจำ
  3. สินค้าคงคลังขาดบัญชี
  4. การใช้วัตถุดิบในการผลิตผิดปกติ
  5. จัดซื้อจัดจ้างแบบพิเศษ
  6. ระบบบัญชีไม่มีมาตรฐาน
  7. ตัดหนี้สูญโดยไม่มีเหตุอันสมควร
  8. ความผิดปกติของคู่แข่งหรือตลาด

 

ตัวอย่างที่ 1 บริษัทผลิตเกี่ยวกับจานดาวเทียมได้มีการออกแบบและกำลังจะเปิดตัวสินค้าประเภทจานดาวเทียม หลังจากประชุม ปรากฏว่าหลังจากนั้นอีกประมาณไม่เกิน 1 สัปดาห์คู่แข่งได้เปิดตัวสินค้าในลักษณะเดียวกัน  สืบทราบภายหลังว่าผู้บริหารที่นั่งประชุมอยู่ได้นำข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าไปขายให้กับคู่แข่งเพื่อผลิตจานดาวเทียมแข่งกับบริษัทของตนเอง

ตัวอย่างที่ 2  บริษัทผลิตลูกอมมีการประมูลตำแหน่งในการขายสินค้าบริเวณเค้าท์เตอร์ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีโอกาสขายสินค้าได้มากที่สุด แต่ผู้อำนาจการฝ่ายขายได้นำข้อมูลภายในเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะต้องใช้ในการประมูลแข่งกับคู่แข่งไปเปิดเผยให้กับคู่แข่ง ทำให้แพ้การประมูล

  1. ความผิดปกติของตัวแทนจำหน่าย

ตัวอย่างที่ 1 ตัวแทนจำหน่ายนำสินค้าที่หมดอายุของบริษัทไปขายให้กับลูกค้า หรือนำสินค้าที่พนักงานฝ่ายขายของบริษัทรับจากบริษัทไปขายให้กับลูกค้า หรือตัวแทนจำหน่ายขายสินค้าของพนักงานฝ่ายขายของบริษัทซึ่งเป็นสินค้าส่วนตัว พ่วงกับสินค้าของบริษัท

  1. เรื่องร้องเรียนหรือบัตรสนเท่ห์

ตัวอย่างที่ 1 โรงงานเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าไม่ได้ซื้อสินค้าแต่มีคนนำสินค้าไปส่งให้ และบังคับให้ลงชื่อรับสินค้า หรือร้องเรียนว่าส่งสินค้าไม่ตรงตามใบสั่งซื้อ หรือร้องเรียนว่านำสินค้าด้อยคุณภาพหรือสินค้ายี่ห้ออื่นมาส่งให้กับลูกค้า

ปัจจัยที่สนับสนุนให้มีการทุจริตภายในสหกรณ์

  1. การขาดความโปร่งใสและขาดการตรวจสอบ 

ตัวอย่างที่ 1  เจ้าของโรงงานผลิตยาแก้ปวด และตัวแทนจำหน่าย ยาหายไปจาก  สต๊อกสินค้ารวม 1 ล้านบาท หายไปแล้วประมาณ 1 ปี เนื่องจากไม่เคยตรวจสอบ     สต๊อกอย่างสม่ำเสมอ ต่อมา ผู้บริหารขับรถผ่านร้านโชว์ห่วยแถวปากซอย แถวโรงงาน พบเห็นรถส่งยาของบริษัท จอดตรงบริเวณร้านโชว์ห่วย เป็นพนักงานส่งยากำลังยกกล่องบรรจุยาส่งให้กับร้านโชว์ห่วย ซึ่งไม่ใช่ลูกค้าของบริษัท จึงทราบว่ามีการทุจริตยา

ตัวอย่างที่ 2   กรณีผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ใช้โอกาสจากการเข้าถึงข้อมูลของธนาคาร ลักเงินของธนาคารวันละประมาณ 5-10 ล้านต่อเนื่องกัน 1 ปี  5 เดือน ได้เงินไปทั้งสิ้น  499 ล้าน แต่ธนาคารไม่ได้มีการตรวจสอบ เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับระบบซอฟแวร์ที่ไม่รัดกุมเพียงพอ กว่าจะรู้ใช้เวลานาน  ถึงแม้จะดำเนินการคดีกับผู้กระทำความผิดได้ แต่ไม่ได้เงินคืน ทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย

  1. การผูกขาด    จ่ายสินบน / ไม่มีการตรวจสอบ /เนื่องจากมีผู้ให้บริการเพียงรายเดียว ไม่มีการ

เปรียบเทียบ และเมื่อผูกขาดการให้บริการจึงมีการจ่ายสินบนเพื่อให้สามารถเป็นคู่ค้ากับลูกค้าได้ต่อไป

  1. การได้รับค่าตอบแทนการทำงานที่ไม่เหมาะสม จน / อยากรวย / โลภ / ทำให้มีแนวโน้มที่

จะทุจริตคดโกง เพราะรายได้ไม่พอเลี้ยงตัวเอง

ข้อควรปฏิบัติเมื่อพบการทุจริต

  1. ต้องตั้งสติให้ดี
  2. ปรึกษาผู้รู้นอกองค์กร
  3. ต้องรักษาความลับ
  4. สืบหาหลักฐานทันที
  5. ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
  6. ฟ้องเป็นคดีอาญาด้วยตนเอง
  7. ฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีแรงงานต่อศาล
  8. ขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดี

ท่านใดสนใจเชิญ อ.เดชา กิตติวิทยานันท์  เป็นวิทยากรฝึกอบรม สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-9485700 คุณชัชชาลี

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

สวัสดีครับ ผม.เอง ทำงานเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ตำแหน่งช่างซ่อมบำรุง เจอแต่ ปัญหา การทุจริต มาตลอดเวลา แล้ว ก็ ถูก บีบแลั่นแกล้ง จาก กลุ่มคน ที่ทุจริต มาตลอด เปลี่ยน งานหนี มาสามที่แล้ว ก็ เจอตลอด จน ตอนนี้ ผมถูกแกล้งให้ทำงาน จนร่างกาย เจ็บจากการทำงาน เพราะกลุ่มคนทุจริต ที่มีตำแหน่งงานสูง ตอนนี้ ผมเหมือนคนไม่มีสภาพในการทำงานรอเวลา ถูกบีบ ออกจากงาน แล้วครับ ไปฟ้อง กรมแรงงาน ก็ไม่รับเรื่อง ไปศาล ก็ ทำได้แค่ คดีแรงงาน แล้ว เมื่อไม่มี ใคร มารับเรื่อง แบบนี้ ปัญหา พวกทุจริต ไม่มีวัน หมดไป ได้หรอกครับ แล้ว หากมี หน่วยงาน ไหน ที่อ่านแล้ว มีความต้องการช่วยเหลือ ชี้ทางแก้ปัญหา จริงๆ หรือ คิดว่า  เรื่อง ที่ผม บรรยายมานี้ เป็น เรื่องสำคัญ ระดับประเทศที่ต้องแก้ไข จริงๆ ช่วย ติดต่อ กลับมา หาผมด้วยนะครับ ตอนนี้ ผม.บอก ตรงๆ ว่า ท้อแท้ กับปัญหา ทุจริต ที่มันมาทำร้าย ชีวิต ของผม. จน ไม่อยาก อยู่ แล้ว ครับ 

เบอร์ติดต่อหาผม  0882960070

โดยคุณ zero16_ij 28 ก.ย. 2560, 16:23

ความคิดเห็นที่ 1

เหตุมีอยุ่ว่าวันที่14ส.ค 60 เวลา11.30.ตำรวจก้อเข้ามาตรวจค้นบ้านโดยขณะนั้นมีพ่ออยุ่บ้านคนเดียวและตำรวจได้ตั้งข้อหาว่ามียาเสพติดไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย1เม็ด แถมตำรวจยังขโมยปืนบีบีกันของผมไปด้วย อยากทราบว่าบีบีกันผิดกฏหมายด้วยหรือเปล่าคับ แล้วพอผมให้พี่ไปถามตำรวจก้อบอกว่าไม่รุ้เรื่อง อย่างนี้ผมจะปรึกษากับใครได้บ้างคับ ขอความคิดเห็นหน่อยคับ
โดยคุณ ตำรวจขโมยบีบีกัน 15 ส.ค. 2560, 20:11

ตอบความคิดเห็นที่ 1

บีบีกันถือเป็นสิ่งเทียมอาวุธปืนตามพรบ.อาวุธปืน และการมีไว้ในครอบครองเท่านั้นไม่เป็นความผิดตามพรบ.อาวุธปืนแต่อย่างใด

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 3 ก.ย. 2560, 15:47

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก